#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554






"มั่น"ย้ำคลังพร้อมอุ้มราคาน้ำมัน

ย้อนไปเมื่อปี 2551 ขณะนั้นราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทะยานขึ้นไปถึงระดับ 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จนทำให้รัฐบาลในขณะนั้นต้องตัดสินใจใช้มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันมาช่วย ดูแลความเดือดร้อนของประชาชน โดยมีการลดภาษีในกรณีน้ำมันก๊าซโซฮอร์ 91 และ 95 ทั้งอี 10 อี 20 และอี 85 ลง 3.30 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0165 บาทต่อลิตร และลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจาก 2.305 บาทต่อลิตร เหลือ 0.005 บาทต่อลิตร และลดภาษีน้ำมันไบโอดีเซล (บี 5) ลง 2.19 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0048 บาทต่อลิตร

     แต่เมื่อรัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาบริหารประเทศ ก็มีการปรับเพิ่มภาษีน้ำมันเบนซินทุกประเภทรวดเดียวเป็น 5 บาทต่อลิตร และดีเซลจาก 2.305 บาทต่อลิตร เป็น 3.305 บาท
     อย่างไรก็ดี ในภาวะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายฝ่ายเริ่มกังวลกันว่าราคาน้ำมันจะทะลุ  100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต  และการที่รัฐบาลประกาศตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร โดยอนุมัติให้ใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวน 5,000 ล้านบาท เข้ามาอุ้มราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ในเป้าหมาย ซึ่งเริ่มใช้ครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค.2553 กระทั่งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ม.ค.2554 รวม 4 ครั้ง ทำให้ขณะนี้รัฐบาลอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลแล้ว 1.65 บาทต่อลิตร และอุดหนุนไบโอดีเซล (บี 5) เพิ่มเป็น 2.50 บาทต่อลิตรแล้ว คำถามเรื่องการลดภาษีสรรพสามิตจึงดังขึ้นอีกครั้ง ซึ่ง นายมั่น พัธโนทัย รมช.คลัง ในฐานะกำกับนโยบายกรมสรรพสามิต จะมาชี้แจงถึงความเป็นไปได้ดังกล่าว
O ภาวะราคาน้ำมันที่ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะที่กำกับดูแลกรมสรรพสามิต จะใช้ภาษีมาช่วยหรือไม่?     เรื่องราคาน้ำมัน เป็นเรื่องของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งกระทรวงหลักที่ดูแลคือกระทรวงพลังงาน คลังดูภาษีอย่างเดียว ตอนแรกที่ผมไปตรวจเยี่ยมกรมสรรพสามิตก็พบว่าเขาเก็บภาษีได้เกินเป้าหมาย จาก 3 แสนล้านบาท เป็น 4 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่ก็มาจากภาษีน้ำมัน เราก็คิดว่าถ้าจะช่วยลดภาระของประชาชน ก็น่าจะลดได้ลิตรละ 2 บาท โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงช่วยสัก 1 บาท แล้วใช้ภาษีสรรพสามิตน้ำมันช่วยอีก 1 บาท มันก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดภาระความเดือดร้อนของประชาชนได้ 
     อย่างปีที่แล้ว ช่วงต้นปีก็หนักหน่วงอยู่ แต่ทีนี้เมื่อนำเรื่องเข้าที่ประชุม กพช. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ท่านก็พูดว่ารัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนหลายอย่างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟฟ้า ค่ารถ ค่าอะไรต่างๆ เพราะฉะนั้นท่านจึงอยากรอดูสักพัก ว่าถ้าน้ำมันดีเซลซึ่งใช้กันมากที่สุดทั้งภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร หากเกิน 30 บาทต่อลิตร ค่อยคิดแก้ไขก็แล้วกันก็ให้ดูไปก่อน ผมจึงได้ถอยออกมา เพราะเป็นมติของ กพช. 
     ทีนี้พอมาช่วงนี้เป็นช่วงหน้าหนาวของยุโรปกับอเมริกา  ก็เป็นธรรมดา ราคาน้ำมันก็ขึ้นมา  ก็มีคนพูดถึง สื่อก็พูดถึง ว่าผมเคยพูดไว้แล้วทำไมไม่ทำ ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือเป็นมติของ กพช. และความเห็นของท่านนายกรัฐมนตรี เราก็พูดไม่ได้ จึงมีการโยนไปทางกระทรวงพลังงานให้ใช้กองทุนน้ำมันฯ มาช่วย ประกอบกับ รมว.คลัง (กรณ์ จาติกวณิช) ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการเอาภาษีสรรพสามิตไปช่วยก็เลยมีการใช้เงินกองทุนน้ำ มันฯ 5,000 ล้านบาท จากที่มีอยู่ 2.8 หมื่นล้านบาท มาดูแล ถ้าใช้หมดแล้วก็ค่อยว่ากัน โดยตอนนี้ระดับราคาน้ำมันดิบก็ขึ้นมา 93 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลแล้ว ก็เลยไปประมาณ 30-40 สตางค์ และหากถึง 95 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล รมว.พลังงาน (นพ.ชวรัตน์ ชาญนุกูล) บอกว่า ก.พ.นี้ก็จะหมด ซึ่งในช่วงนี้ทางกรมสรรพสามิตก็มีการเตรียมการไว้เหมือนกัน คือถ้ามันขึ้นไปถึง 98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แล้วถ้าทางกองทุนน้ำมันฯ ไม่ยอมควักเงินกองทุนออกมา ก็คงต้องใช้ของกรมสรรพสามิต ซึ่ง รมว.คลังก็พูดเหมือนอยู่กันว่า ถ้ามีความจำเป็นจริงๆ ก็คงต้องใช้ แต่ผมคิดว่าถึงเดือนหน้า (ก.พ.) น่าจะหนาวที่สุดแล้ว พอเดือน มี.ค.-เม.ย. ก็คงคลายแล้ว พ.ค.ก็เป็นฤดูใบไม้ร่วงแล้ว ฉะนั้นภาวะราคาน้ำมันก็คงไม่เป็นที่น่าวิตกเท่าไหร่  มันคงไม่หวือหวา เพราะพวกเฮดจ์ฟันด์ก็ไม่ค่อยมารบกวนเหมือนอดีต  ขณะที่ทางกระทรวงพลังงานเองก็กำลังเตรียมจะขึ้นราคาแก๊สในภาคอุตสาหกรรม ส่วนภาคขนส่งกับครัวเรือนเขาไม่แตะ ซึ่งตรงนี้ก็ดีแล้ว ผมคิดว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่กำลังทำอยู่
O ถ้าราคาน้ำมันยังขึ้นเรื่อยๆ จะต้องทำอย่างไร ภาษีจะเข้ามาช่วยตอนไหน?
     ถ้าเงินกองทุนน้ำมันฯ 5,000 ล้านบาท ยังอยู่ก็ใช้ไป แต่ถ้ามากกว่านั้น ตรงนี้ผมตอบแทน รมว.คลังไม่ได้ คือท่านจะต้องคุยกับ รมว.พลังงาน ว่าจะใช้เงินของกองทุนน้ำมันฯ มากขึ้นไหม  หรือจะเร่งขึ้นราคาแก๊ส ภาคอุตสาหกรรม สำหรับเรื่องภาษีทางกรมสรรพสามิตเขาศึกษาอยู่  แต่ยังไม่ส่งมาถึงผม โดยในแง่ที่ว่าถ้ารัฐบาลสั่งให้ลด เขาก็ทำได้ แต่จะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบว่ามีอย่างไร เช่น ลดภาษีไป 1 บาท จะกระทบรายได้ภาษีประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ฉะนั้นก็ต้องระวังเหมือนกัน เพราะเวลานี้รายได้หลักจริงๆ ก็คือรายได้ของสรรพสามิต ส่วนศุลกากรก็มีแต่ช่วย สรรพากรก็ช่วย มันก็น้อยลง ทีนี้เราตั้งเป้ารายได้สรรพสามิตปีนี้ไว้จะให้ถึง 4.8-5 แสนล้านบาท เราก็ต้องดูว่า ถ้าลดลงไปก็จะไม่ถึงเป้า แล้วในเมื่องบประมาณประเทศก็ต้องเพิ่มขึ้น มันจะทำให้ต้องขาดดุลเพิ่มขึ้นอีกหรือเปล่า ซึ่งกรมสรรพสามิตเขาก็เตรียมส่งมา ว่าถ้าอย่างนี้จะเป็นอย่างไร ถ้าอย่างนั้นจะเป็นอย่างไร
O ได้ยิน รมว.คลังบอกว่ายังพอมีช่องว่างลดภาษีได้?
     ใช่ ก็มีช่อง แต่โอกาสที่จะใช้กองทุนน้ำมันฯ น่าจะยังใช้ได้อยู่ เพราะยังไม่หมด แต่ 5,000 ล้านบาท อาจจะหมดก่อนเดือน ก.พ. ที่เป็นห่วงก็คือ มันอาจจะพีคมากช่วงนี้ คงจะยั้งไม่อยู่
O ถ้าเงิน 5,000 ล้านบาท หมดก่อน ก.พ.จะทำอย่างไร?
     ก็คงงัดแผนของกรมสรรพสามิต หรือเอาเงินกองทุนน้ำมันฯ มาใช้เพิ่มขึ้น เพราะกองทุนน้ำมันฯ เคยติดลบเป็นหลายหมื่นล้านบาทก็เคย เอามาใช้อีกก็ไม่ถึงกับน่าวิตกหรอก แต่ตรงนี้ผมก็ตอบไม่ได้ มันขึ้นกับ รมว.คลัง กับ รมว.พลังงานคุยกัน
O มองกองทุนน้ำมันฯ เป็นเครื่องมือที่ต้องดูแลโดยตรงหรือเปล่า?
     ถูกต้อง ก็น่าจะใช้กองทุนน้ำมันฯ ก่อน แต่ทางกองทุนน้ำมันฯ เขาก็ต้องการให้มีเงินเหลือไว้บริหารก๊าซด้วย ดังนั้นถ้ากระทรวงพลังงานกับคลังเห็นไม่ตรงกัน ถึงตอนนั้นก็ต้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นคนเคาะแล้วว่าจะให้ทำอย่างไร
O มองว่าราคาน้ำมันจะถึง 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลไหม?
     เดือน ก.พ.จะรู้เลย แต่ผมคิดว่ายังไงก็ไม่น่าจะเกิน 98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เว้นเสียแต่ว่าจะมีตัวปั่น ซึ่งในอดีตมันเคยถึง 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลมาแล้ว แต่ว่าสภาพของเศรษฐกิจในขณะนี้ พูดจริงๆ ในระดับสากล หลายภาคส่วนได้รับผลกระทบอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้ามีใครมาปั่น มันจะไม่เหมือนคราวก่อนแล้ว คือตอนนั้นเศรษฐกิจแข็งอยู่ แล้วก็เอาพวกนี้มาปั่นให้เกิดกำไร แต่คราวนี้ถ้าปั่นไปก็จะยิ่งเสียหายใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคของจีนกับอินเดียก็มากขึ้น บราซิล รัสเซียด้วย รัสเซียก็มีน้ำมันเยอะ ก็ไปปั่นกันได้ จีนก็มีชิงไห่ ซึ่งถ้าเอาออกมาเมื่อไหร่ จีนก็อาจมีส่วนในเรื่องการกำหนดราคาได้เหมือนกัน ฉะนั้นโอกาสจะทำแบบก่อนคงลำบาก คล้ายๆ กับว่าคนมันอ่อนแอ ไปทุบเข้าไปอีกจะยิ่งไปใหญ่ แต่ที่ขึ้นคราวนี้ ผมว่าเกิดจากโรงกลั่นอลาสก้ามากกว่าที่มีการปิดซ่อมหรืออะไรนี่แหละ
O ถ้าราคาน้ำมันดิบขึ้นไปถึง 98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาขายปลีกในประเทศจะเป็นเท่าไหร่?
     จะใกล้ 40 บาทต่อลิตรเลย พวกนี้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะรู้ดีที่สุด แล้ว ปตท.เป็นกรรมการใน กพช.ด้วย ดังนั้นเขาจะต้องรายงานให้ กพช.ทราบข้อมูลตลอด ส่วนคลังก็ดูแต่ว่าภาษีจะต้องลดไหม แต่ว่าโครงสร้างภาษีส่วนนี้ ในแง่รายได้มันกระทบแน่ รมว.คลังก็ไม่อยากให้กระทบ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ เพราะน้ำมันเป็นเส้นเลือดเศรษฐกิจ ถ้ากระทบจริงๆ เราก็ต้องยอมลด
O ยิ่งตอนนี้รัฐบาลจะทำงบประมาณกลางปี 2554 ด้วย จะยิ่งทำให้ลดภาษียากไปด้วยหรือเปล่า?     อันนี้ผมยังไม่รู้ แต่ว่ากรมสรรพสามิตตอนนี้ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญด้านรายได้ จึงได้มีการปรับปรุงอะไรต่างๆ ไม่ว่าภาษีสุรายาสูบอะไรต่างๆ ก็เป็นแผนจะนำรายได้เข้ามา แต่ถ้าพูดไปเร็วก็จะมีการกักตุน ถ้าจะทำก็ต้องทำเลย.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก