#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ภูเก็ตชูยุทธศาตร์ เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก - ข่าว สกู๊ป เรื่องราว จังหวัดภูเก็ต

ภูเก็ตชูยุทธศาตร์ เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก - ข่าว สกู๊ป เรื่องราว จังหวัดภูเก็ต

Posted using ShareThis

ธ.ค.นี้ ถนนถลางจะเป็นถนนสายแรกในภูเก็ตที่ปลอดสายไฟฟ้า - ข่าว สกู๊ป เรื่องราว จังหวัดภูเก็ต

ธ.ค.นี้ ถนนถลางจะเป็นถนนสายแรกในภูเก็ตที่ปลอดสายไฟฟ้า - ข่าว สกู๊ป เรื่องราว จังหวัดภูเก็ต

Posted using ShareThis

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

ภาวะโลกร้อนจังหวัดภูเก็ต

แนวความคิด

เท่าที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า การเข้ามาของห้างต่างๆ นั้น ได้ก่อเกิดปัญหาหลายอย่าง เช่นการเอาเปรียบทางการค้า การกำหนดราคาต่ำกว่าท้องตลาด การใช้มาตรการทางการค้ากดดันการค้าของท้องถิ่น รวมไปถึงการทำประชาสัมพันธ์เชิงรุก ซึ่งห้างมีศักยภาพและมีเงินทุนอย่างมาก ตรงนี้สงผลต่อการทำธุรกิจพื้นฐานในชุมชน การผูกขาดการค้า ทำให้ร้านโซห่วยทยอยปิดตัวลง วัฒนธรรมบริโภคของของคนพื้นที่ของคนในชุมชนถูกทำลาย รวมไปถึงมลพิษ มลภาวะ และขยะฟุ่มเฟือยจากการบริโภคนิยม ของวัฒนธรรมต่างชาติ ยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนจากการจับจ่าย ในห้างแต่ละครั้งก่อเกิดขยะฟุ่มเฟือย 3 ชิ้น/คน ขยะฟุ่มเฟือยในที่นี้หมายถึง พลาสติก โฟม
วัสดุเป็นพิษเช่นวัสดุเคมีภัณฑ์ต่างๆ เราต้องตระหนักก่อนเลยว่าเราเป็นเมืองท่องเที่ยว เรามีนักท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวเป็นทุน เรามีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเรามีมรดกประเพณีวัฒนธรรมเป็นจุดแข็ง วันนี้สิ่งต่างเหล่านี้ กำลังได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างไม่รู้ตัวเรามีเตาเผาขยะ 1 แห่งที่ไม่มีกำลังพอที่จะจัดการกับขยะที่มีมากมายมหาศาลกว่า 700 ตัน/วันได้ เทศบาลนครฯภูเก็ตกำลังเร่งก่อสร้างอีกแห่งเพื่อรองรับกับปัญหานี้เช่นกัน นี้ก็เป้นความพยายามของท้องถิ่น อีกเช่นเคยกับการจัดการกับขยะฟุ่มเฟือยเราไม่มีที่ดินเพียงพอต่อการฝังกลบขยะเป็นพิษเหล่านี้ เราต้องใช้งบประมาณอีกเท่าไหร่ ในการจัดการกับขยะฟุ่มเฟือยเหล่านี้ หากอนาคตข้างหน้าไม่ว่าจะหันไปทางเห็นแต่กองขยะคงไม่มีนักท่องเที่ยวชาติไหนเดินทางเข้ามาภูเก็ตแน่นอน ฉะนั้นการท่องเที่ยวย่อมได้รับผลกระทบทันที

ผมเชื่อว่าในอนาคตเศรษฐกิจในทุกระดับ ก็จะได้รับผลกระทบตามๆ กัน วันนี้ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องร่วมมือกันสรรค์สร้างภูเก็ตให้กลับมาสวยงามมากยิ่งขึ้น มาร่วมมือกันปกป้องภูเก็ต ทำภูเก็ตให้สะอาดสดใส ด้วยสำนึกรักบ้านเกิดร่วมมือกันคนละไม้ละมือ ร่วมมือ เหมือนการจุดเทียนกันคนละเล่มจุดเป็นแสงสว่างให้ภูเก็ตการเคลื่อนไหว

วันนี้ผมเป็นเหมือนแสงเทียนดวงแรก คงยังไม่มีแสงสว่างพอที่จะทำให้ภูเก็ตกลับมาสวยงามเหมือนเดิมได้
หากแต่เพียงว่าวันข้างหน้าจะได้แห่งพลังของคนภูเก็ต ที่จะลุกขึ้นมาปกป้องภูเก็ต ลุกขึ้นมาทำความดีเพื่อภูเก็ต เอาใจใส่สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ปกป้องมรดกของเรา ไว้ให้กับลูกหลานเราต่อไป

การที่ผมออกมาแจกจ่ายถุงผ้าในครั้งนี้ จะไม่มีประโยชน์ใดเลยหากเราไม่ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา ปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหาวิกฤติโลกร้อนปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น นี้กำลังเป็นภัยคุกคามโลกของเรา และภัยที่เราชาวภูเก็ตกำลังเผชิญผมคิดว่าวันนี้ไม่มีแม้แต่เวลาที่คิดว่าจะเริ่มทำเมื่อไหร่แต่ ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังเสียที

นี่เป็นการส่งสัญญาณอีกครั้งไปยังนักลงทุน ห้างสรรพสินค้าต่างรวมถึงทุนข้ามชาติ ที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หากวันนี้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ เข้าใจว่าเราชาวภูเก็ตต้องการอย่างไร
ควรที่จะหันหน้าเข้ามาและแสดงจุดยืนร่วมกัน แสดงพลังร่วมกับเราชาวภูเก็ต รับผิดชอบภูเก็ต รับผิดปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วร่วมกันหาทางออกแนวทางแก้ไข เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกัน เพราะเราอยู่ร่วมกันได้
เราร่วมกันหันกลับมาใส่ใจภูเก็ต   วันนี้ผมแค่เริ่มต้นและสร้างจิตสำนึก ให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ห้างค้าปลีก ทุนข้ามชาติ นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ตของเราหันกลับมาตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมกันรับผิดชอบหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งเราสามารถอยู่ร่วมกันได้ ทำการค้าร่วมกันได้ไม่เอาเปรียบกัน หันกลับมาใส่ใจภูเก็ต ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลทรัพยากรที่เราใช้ร่วมกันและมีอยู่อย่างน้อยนิดให้ได้เกิดประโยชน์มากที่สุด รวมถึงการคงไว้สู่ลูกหลานของเราชาวภูเก็ตต่อไป

หนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวนี้

น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันที่ 31 สิงหาคม 2550
“ชวนะเดินหน้า ชวนชาวภูเก็ต แก้ปัญหาขยะล้นเมือง”

www.manageronline.com ลงบทความประจำวันที่ 29 สิงหาคม 2550 ส่วนภูมิภาค“รองปธ.หอฯภูเก็ตแจกถุงผ้ารณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติกกระตุ้นห้างยักษ์ใส่ใจปัญหาขยะ”

www.singtai.com ลงบทความประจำวันที่ 30 สิงหาคม 2550
“ชวนะเดินหน้าชวนชาวภูเก็ต แก้ปัญหาขยะล้นเมือง”

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผมมีความคิดว่าถึงแม้วันนี้ยังมองไม่ชัดเจนว่าโครงการนี้จะได้รับการยอมรับเพียงไร แต่ผมมีความพยายามเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ชาวภูเก็ตและทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน นักลงทุน รวมถึงห้างต่างๆ จะหันมาใส่ใจและตระหนักถึงปัญหาที่กำลังรุกลาม และส่อเคล้าว่าจะวิกฤติในอนาคตอันใกล้ ร่วมกันหาแนวทางป้องกัน
รวมถึงลดการเกิดขยะฟุ่มเฟือย ขยะเป็นพิษต่างๆให้ลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยต้นๆที่ทำให้โลกเผชิญกับสภาวะอากาศแปรปรวน โลกร้อน ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตผมจะเริ่มทำเดี่ยวนี้ เพราะไม่มีแม้แต่เวลาที่ผมจะคิดว่าจะเริ่มทำเมื่อไหร่ และผมเชื่อว่าโครงการนี้จะต้นแบบที่ดี ของหน่วยงานอื่นๆหรือประชาชนชาวภูเก็ต ที่จะหันกลับมาใส่ใจกับปัญหา ทั้งจะร่วมมือกันรณรงค์ให้เกิดการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังต่อไป ผมไม่เคยคาดหวังว่าจะได้รับอะไรจาการกระทำครั้งนี้ แต่สิ่งที่ผมหวังเป้นอย่างยิ่งว่า คงจะได้เห็นชาวภูเก็ตทุกคนร่วมมือกันปกป้องภูเก็ต ปกป้องมรดกของภูเก็ต ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต นั้นคือความปรารถนาเดียวของผมจากโครงการนี้
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผมจะได้เห็นและได้ร่วมเป็นส่วนของความสำนึกรักบ้านเกิดในครั้งนี้ด้วย

ประมวลภาพเหตุรณรงค์เเก้ปัญหาภาวะโลกร้อนจังหวัดภูเก็ต

ปรึกษา นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

ธุรกิจค้าปลีก

ธุรกิจค้าปลีก

แนวความคิด

ธุรกิจค้าปลีก เป็นการลงทุนอีกแขนงหนึ่งที่ผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการออก โปรโมชั่นต่างๆ รวมไปดึงกลยุทธในดึงดูดลูกค้า และยังได้รับผลกระทบจากการกำหนดราคาขายสินค้าที่ต่ำกว่าราคาท้องตลาด ซึ่งธุรกิจค้าปลีกเหล่านี้ยังมีอิทธิพลสูงต่อการจับจ่ายของคนในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการบริโภคสูง จะเห็นได้ว่า ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะเล็กๆ แต่กลับมีห้างสรรพสินค้ารายใหญ่เปิดให้บริการอยู่ทั่วไปในหลายพื้นที่ ยังไม่รวมร้านสะดวกซื้อ หรือ เอ็กเพรสมาร์ท และโมเดิร์นเรด อีกที่กำลังขยายสาขาให้บริการในหลายรูปแบบ ตรงนี้ยังส่งผลกระทบกับผู้ประกอบค้าปลีกชุมชน ซึ่งไม่สามารถที่จะแข่งขันกับกับห้างสรรพสินค้าได้ ทั้งยังต้องถูกรวมไปอยู่ในกลุ่มการตลาดของห้างนั้นๆด้วย และยังเป็นผู้บริโภคสินค้าของห้างอีกขั้นหนึ่ง ตรงนี้ทำให้ระบบการค้าและการแข่งขันถูกทำลาย ร้านค้ารายย่อยในชุมชนต่างปิดตัวลง จากผลกระทบเหล่านั้น ซึ่งนับวันการขยายสาขา และการใช้กลยุทธทางการตลาดจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น มีการเสนอขายสินค้าแบบผ่อนชำระ และเสนอขายสินค้าตรงถึงบ้าน ซึ่งเชื่อว่าอนาคตอันใกล้ ร้านค้าปลีกชุมชนหากไม่มีความเข้มแข็ง วิถีชีวิตของคนในชุมชนแบบเดิมจะถูกทำลาย และจะการเป็นชุมชนเมืองที่มีความนิยมบริโภคค่อนข้างสูง ซึ่งจะถูกห้างเหล่านี้ผูกขาดการขายสินค้า และกำหนดราคา โดยผู้บริโภคสินค้าพื้นฐานไม่สามารถเลือกสินค้าได้ ทั้งยังมีปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหาราจรติดขัด ปัญหามลภาวะเป็นพิษจากฝุ่นละอองฝุ่นควัน ในบริเวณห้างนั้นๆ

การเคลื่อนไหว

หลังจากได้ติดตามและเฝ้าดูสถานการณ์อยู่ในระยะหนึ่ง หอการค้าได้รับทราบถึงปัญหา โดยประธานหอการค้าได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามปัญหานี้โดยเฉพาะ ซึ่งในที่นั้นได้มอบให้ผมเป็นประธานคณะกรรมการค้าปลีก ซึ่งหลังจากนั้นผมได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯจ.ภูเก็ต โดยได้เรียกร้อง 4 ข้อหลัก คือให้ห้างจ่ายภาษีแก่ท้องถิ่น ให้ห้างสรรพสินค้าชะลอการขยายสาขาออกไปก่อน ให้รัฐสนับสนุนธุรกิจโซห่วยให้ให้ศักยภาพสามารถแข่งขันทางการตลาดได้ และให้รัฐจัดหาแหล่งเงินทุนให้กับธุรกิจค้าปลีกชุมชนเพื่อพัฒนาธุรกิจและร้านค้า หลังจากนั้นสื่อมวลทุกแขนงได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งในท้องถิ่นเองและในส่วนกลางออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งในขั้นต้อนก้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกฝ่าย

หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์ข่าวนี้

น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2550 ชวนะ หนุนโซห่วย ดันค้าปลีก
www.posttoday.com ลงบทความข่าวเด่น วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2550 ภูเก็ตจ้องรีดห้างค้าปลีก เก็บภาษีพัฒนาท้องถิ่น
www.thainews.prd.go.th สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ ลงบทความประวันที่ 4 พฤษภาคม 2550 หอการค้าภูเก็ต ค้านค้าปลีกข้ามชาติ ขยายสาขาเพิ่มที่ภูเก็ต
www.manager.co.th ผู้จัดการ ลงบทความประจำวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2550 หอฯ ภูเก็ตเพิ่งตื่นค้าปลีกข้ามชาติดันเสียภาษีท้องถิ่น-งดขยายสาขาเพิ่ม
www.komchadluek.net คมชัดลึก ภูมิภาค ลงบทความประจำวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2550 หอการค้าภูเก็ตค้านการขยายตัวห้างต่างชาติ จี้ให้เสียภาษีกับท้องถิ่น
www.thaiechamber.com หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ลงบทความประจำวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2550 หอฯภูเก็ตร้องผวจ.เก็บภาษีห้างรายใหญ่
www.bangkokbiznews.com กรุงเทพธุรกิจ ลงบทความประจำวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 หอการค้าภูเก็ต ร้องยักษ์ค้าปลีก จ่ายภาษีท้องถิ่น
น.ส.พ.ปักษืใต้ทูเดย์ ฉบับประจำวันที่ 1-16 มิถุนายน พ.ศ.2550 รองหอฯภูเก็ตต้านห้างฯ ขยะหนุนโซห่วย
น.ส.พ.อันดามันโพสต์ ฉบับประจำวันที่ 10-24 พฤษภาคม พ.ส.2550 เบรคค้าปลีกข้ามชาติ ห้ามขยายสาขาเพิ่ม ดันจ่ายภาษีท้องถิ่น
น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 25 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550 หอยื่นคำขาด คุมกำเนิดห้างใหญ่
น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 5-14 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ชวนะจี้ห้าง จ่ายภาษีคืนท้องถิ่น
น.ส.พ.ข่าวเศรษฐกิจธุรกิจ ฉบับประจำวันที่ 14-20 พฤษภาคมพ.ศ. 2550 ลูกเล่นหอภูเก็ต ขอห้างใหญ่เสียภาษีท้องถิ่น
น.ส.พ.ข่าวเศรษฐกิจธุรกิจ ฉบับประจำวันที่ 4-10 มิถุนายน พ.ศ. 2550
บทสรุป

สำหรับเรื่องนี้ ได้ข้อสรุปในเบื้องต้น ซึ่งห้างค้าปลีกต่างๆในพื้นที่ จะชะลอการขยายสาขาออกไปก่อน ในส่วนของการจ่ายภาษีให้กับท้องถิ่นนั้น ในส่วนนี้ห้างฯไม่ได้แสดงออกโดยชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องนี้ ซึ่งจำต้องติดตามต่อไปว่าจะดำเนินการได้อย่างต่อไป ในส่วนของความช่วยเหลือทางภาครัฐฯ กับโซห่วยทางผู้ว่าฯราชการจังหวัด จะเข้ามาช่วยดูแลในเบื้องต้น ซึ่งต้องร่วมมือกันหาทางช่วยเหลือ โดยเฉพาะหอการค้าคงจำเป็นที่จะต้องมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องนี้ต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

รองหอฯหนุนโซห่วย พัฒนาศักยภาพ
หอการค้าภูเก็ตเดินหน้า เรียกร้องให้ค้าปลีกรายใหญ่
หอการค้าภูเก็ตพึ่งตื่น
หอฯภูเก็ตเพิ่งตื่นต้านค้าปลีกข้ามชาติ จี้ ” เสียภาษีท้องถิ่น-งดขยายสาขาเพิ่ม ”
หอฯภูเก็ตร้องผวจ.เก็บภาษีห้างรายใหญ่
ประมวลภาพเหตุธุรกิจค้าปลีก








แนวความคิด โครงการอ่าวภูเก็ต

โครงการอ่าวภูเก็ต

แนวความคิด

โครงการอ่าวภูเก็ตเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ว่ากันว่า เป็นโครงการลูกหม้อของ เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพราะหลังจาก รัฐฯชุดทักษิณ 1-2 ไม่สามารถที่จะนำ พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ เข้ามาใช้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตได้ นักลงทุนต่างชาติยังรับลูกขุดโครงการอ่าวภูเก็ตที่เคยมีการสำรวจโครงการราวปี 2534 ซึ่งในขณะนั้นมีความพยายามที่จะเชื่อมโยงการค้ากันของฝั่งทะเลอ่าวไทยกับอันดามัน หรือโครงการ เซ้าร์เทิร์นซีบอร์ด กลับมาปัดฝุ่นใหม่ ในชื่อใหม่ว่าโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต แต่นัยยะสำคัญของโครงการต่างๆเหล่านั้นก็ยังเป็นเหมือนเหล้าเก่าในขวดใหม่เท่านั้นเอง มิหน่ำซ้ำกลับมีการนำเสนอโครงการบ่อนเสรี ให้คืนชีพอีกครั้ง โดยยังคงให้ความสำคัญกับ เอนเตอร์เทนเม้นคอมเพล็กซ์ อยู่เหมือนเดิม นี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความเคลือบแคลง สงสัยในความไม่ชอบมาพากลของโครงการนี้

การเคลื่อนไหว

เรื่องนี้ก็เป็นเหมือนเรื่องของ พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพราะการเดินหน้าโครงการไปในทิศทางเดียวกัน ว่ากันแล้วก็อาจจะเป็นโครงการเดียวกันก็เป็นได้ เพราะมีความพยายามอย่างสูงของนักลงทุนหลายกลุ่ม พยายามนำเสนอแนวทางการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีความสนใจเรื่องนี้อย่างยิ่งเพราะหากเกิดขึ้นจริง ผลประโยชน์ในโครงการนี้ ใครจะได้รับและใครคือผู้เสียผลประโยชน์ ความเคลือบแคลงสงสัยในตัวของโครงการ ทำให้ผมในฐานะรองประธานหอการค้า ได้พยายามที่จะชี้ให้รัฐบาลเห็นถึงจุดปกพร่องของโครงการในหลายส่วน ทั้งยังให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในหลายแขนงทั้งในส่วนกลางละท้องถิ่น ซึ่งโครงการนี้ถึงแม้หลายฝ่ายอาจมองว่าเป็นโครงการที่ดี แต่การลงทุนจะต้องมีฝั่งที่ได้รับผลประโยชน์และฝั่งที่เสียผลประโยชน์เสมอไป การลงทุนของนักลงทุนต้องหวังกำไรและหวังผลประโยชน์อย่างแน่นอน แต่โครงการนี้มาแปลกเพราะมีหลายส่วนผ่านมติ ครม.เรียบร้อย และล่าสุดเรื่องตกอยู่ที่ ( สคช.) ที่กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการออกกฎหมายรองรับ พ.ร.บ.ร่วมทุนของของนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุน และเจ้าภาพ ผมไม่ละความพยายามผมยังพยายามผลักดันให้เกิดการถ่วงดุลโดยเสนอให้รัฐทำประชาพิจารณ์ให้เป็นที่ยอมรับ ทำความเข้าใจกับประชาชนและให้ข้อมูลและข้อเท็จจริง ถึงโครงการและลักษณะโครงการ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา และโครงการจะเป็นในลักษณะใด ซึ่งก็ยังไม่มีความกระจ่างใดเกิดขึ้นหลังจากเกิดวิกฤติทางการเมืองจนมาถึงวันนี้

หนังสือพิมพ์ที่ลงตีพิมพ์ข่าวนี้

•  น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 6-16 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 แสนล้านภูเก็ตโผล่ ตามรอยสุวรรณภูมิ
•  น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 17-27 พฤศจิกายน พ.ศ.2548
•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ลุ้นพัฒนาภูเก็ต โครงการระดับบิ๊ก
•  น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 21-28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 คนภูเก็ตเฮเมกกะโปรเจ็กต์ผุด ชวนะมั่นใจโครงการดี ติงรัฐเตรียมพร้อมด้วย
•  น.ส.พ.ปักษ์ใต้ทูเดย์ ฉบับประจำวันที่ 2-16 มีนาคม พ.ศ.2549 หอออกโรงค้าน โปรเจ็กต์ 1.3 แสนล้าน
•  น.ส.พ.ปักษ์ใต้ ฉบับประจำวันที่ 5-20 มีนาคม พ.ศ.2549 หอฯออกโรงค้าน โปรเจ็กต์ 1.3แสนล้าน พัฒนาอ่าวภูเก็ต
•  น.ส.พ.ภูเก็ตนิวส์ ฉบับมติใต้ ประจำวันที่ 16-31 พฤษภาคม พ.ศ.2549 ค้านโปรเจ็กต์ 1.3 แสนล้าน พัฒนาอ่าวภูเก็ต แฝงบ่อน กาสิโน
•  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2065 ดันภูเก็ตเป็นมหานครรองหอฯแนะรัฐบาลโชว์ศักยภาพท่องเที่ยว
•  www.thannews.th.com ลงบทความประจำวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ดันภูเก็ตเป็นมหานครรองหอฯแนะรัฐบาลโชว์ศักยภาพท่องเที่ยว

บทสรุป

ปัจจุบันเรื่องตกอยู่ที่ สภาพัฒน์ และยังไม่มีความคืบหน้าใดของโครงการ ซึ่งยังไม่ทราบได้ว่าโครงการนี้จะยังสานต่อหรือไม่ ในรัฐบาลชุดหน้า ซึ่งอาจจะมีการทบทวนโครงการใหม่ทั้งหมด หรืออาจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป จึงต้องติดตามความคืบหน้าโครงการนี้ต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต
ดันภูเก็ตเป็นมหานคร
ผู้ว่าฯเร่งโครงการพัฒนา
พัฒนาอ่าวภูเก็ต
รองหอฯหวั่นโปรแจ็คอ่าวพัฒนาเฉพาะจุด
ประมวลภาพโครงการอ่าวภูเก็ต


http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=8276     โดย : ฐานเศรษฐกิจ        วันที่ 23/02/2006

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

แนวความคิด

เขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลชุดทักษิณ 1-2 มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะให้เกิดขึ้นในพื้นที่เกาะภูเก็ต เพราะเล็งเห็นว่าสามารถที่จะพัฒนาและดึงเม็ดเงินลงทุนได้อย่างมหาศาล การที่จะให้ต่างชาติเข้าลงทุนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เพื่อให้ยุ่งยากและรวบรัดโครงการมีความจำเป็นที่จะต้องมีบทเฉพาะกาล และกฎหมายรองรับ จึงเป็นที่มาของ พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษฉบับนี้ ที่ให้อำนาจแก่ผู้บริหารคนหนึ่งที่รัฐฯให้อำนาจปกครองและมีสิทธิขาดอย่างเต็มที่ ความไม่ชอบของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะให้อภิสิทธิ์แก่ กลุ่มทุน นักลงทุน ซึ่งท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ไม่มีสิทธิ์ที่จะโต้แย้ง และเข้าไปมีส่วนร่วม แถมยังเป็นการเลือกปฏิบัติและพัฒนาเฉพาะส่วนเท่านั้น ซึ่งภูเก็ตทั้งเกาะจะไม่สามารถแบ่งแยกได้ หรือเลือกที่จะพัฒนาเฉพาะส่วนได้

การเคลื่อนไหว

ผมไม่ช้าและนิ่งนอนใจ ผมเฝ้าติดตามประเด็นความคืบหน้าเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ผมพยายามหาแนวทางความคิดความเห็นในความไม่ชอบของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ในหลายแง่หลายมุมนำมาตีแผ่สู่สังคม โดยการออกให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นหลายฉบับ รวมทั้งการเข้าร่วมประชุมกับภาครัฐและคณะรัฐมนตรีที่ เดินทางมาติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง เบื้องตนผมรู้สึกคล้อยตาม เพราะเห็นด้วยในหลายส่วนของโครงการ แต่นั้นต้องหมายความว่าต้องพัฒนาภูเก็ตทั้งระบบ ซึ่งตรงนี้ชาวภูเก็ตจะได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ผมพยายามอย่างยิ่งที่จะผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด แต่ด้วยหลักการและเหตุผล พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ต่างอะไรเลยกับการกินรวบของนักลงทุนและการยื่นมีดให้โจรเข้ามาปล้นบ้านเรา ซึ่งผู้ที่จะเสียผลประโยชน์และได้รับผลกระทบจากโครงการเหล่านั้น คือคนในพื้นที่คือชาวภูเก็ตทุกคน ที่จะโดนเลือกปฏิบัติจากภาครัฐ และจะไม่ได้รับการเยียวยาจากการได้รับผลกระทบจากโครงการเหล่านั้นเลย

หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์ข่าวนี้

•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2548 ตั้งภูเก็ตเป็นเขตเศรษฐกิจออกแบบให้เหนือกว่ากทม.
•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2548 เขตเศรษฐกิจพิเศษ หวั่นกระทบอนาคต อิงประชาชนเป็นหลัก
•  น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 6-16 พฤศจิกายน 2548 ในคอลัมภ์รายงานพิเศษ
•  น.ส.พ.อันดามันโพสต์ ฉบับประจำวันที่ 20 ธันวาคม – 4 มกราคม 2549 เขตเศรษฐกิจพิเศษล่ม ดันศูนย์กลางเศรษฐกิจอันดามัน
•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2549สภาอุตฯลั่นไม่ได้เสนอเขตเศรษฐกิจ

บทสรุป

สำหรับโครงการนี้ ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในเบื้องต้น และยังไม่มีความคืบหน้าใด แต่ทั้งนี้รัฐบาลยังไม่ละความพยายามที่จะแฝงเร้นโครงการ ซึ่งล่าสุดยังได้พยายามผลักดันโครงการอ่าวภูเก็ต ขึ้นมาสานต่อโครงการ โดยในหลายโครงการมีความคลายคลึง กับ เขตเศรษฐกิจพิเศษ อยู่ไม่น้อย ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า โครงการนี้จะยังไม่จบลง ซึ่งจะต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่องถึงความเป็นไปได้ ในการกลับมาคืนชีพอีกครั้งของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ในอนาคตอันใกล้

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันกฏหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ
เขตเศรษฐกิจพิเศษภูเก็ตแค่การค้าและลงทุน
จับตามองอนาคตล้นเขตเศรษฐกิจพิเศษภูเก็ต
สาระสำคัญ ร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ
ดันภูเก็ตเป็นมหานครรองหอฯแนะรัฐบาลโชว์ศักยภาพท่องเที่ยว
โอ้ละพ่อ ! สภาอุตฯลั่นไม่ได้เสนอเขตเศรษฐกิจ สภาพัฒฯมึน ! รองหอฯเห็นด้วยดันภูเก็ตเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอันดามัน


จับตามองอนาคตล้นเขตเศรษฐกิจพิเศษภูเก็ต
ติดประกาศ Sunday 16 Oct 05 @ 10:39 โดย siangtai

เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่หลายฝ่ายกำลังจับจ้องถึ
งความสำคัญในหลายประเด็น และความเป็นมาเป็นไป รวมไปถึงผลดีและผลเสียในการใช้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้
นายชวนะ เกียรติชวนะเสวี รองประธารหอการค้า จ.ภูเก็ต กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าในที่ประชุ
มของนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนกลุ่ม 3 จังหวัดอันดามัน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการเตรียมการกับภาคเอกชนทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่มาก่อนแล้ว 2 ครั้งคือเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2548 และ 5 กันยายน 2548 โดยมี สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศ และองค์กรเอกชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งในที่ประชุมในครั้งนั้นได้มีการนำเสนอหลายประเด็น รัฐบาลเตรียมการจัดงานระลึกครบรอบ 1ปี สึนามิ ในวันที่ 26 ธันวาคม 2548 การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงาในส่วนที่ได้รับความเสียหายจากภัย

พิบัติในครั้งนั้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่
งอำนวยความสะดวกในการสนับสนุนภาคบริการ และการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอันดามัน การส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก การขยายการผลิตสัตว์น้ำมูลค่าสูงเพื่อการส่งออกในจังหวัดพังงา การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแบบบูรณการที่จังหวัดภูเก็ต และการส่งเสริมให้กลุ่มจังหวัดอันดามันเป็นเมืองวิจัยเพื่อสร้างคุณค่า ซึ่งหลายประเด็นที่ได้นำเสนอล้วนเป็นประเด็นเก่าที่เคยมีการพูดคุยกันอยู่แล้วในกลุ่ม 3 จังหวัดอันดามัน แต่มีเพียงประเด็นเดียวที่ซึ่งเป็นประเด็นใหม่และมีความน่าสนใจคือการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแบบบูรณการ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต สำหรับการนำเสนอของ กลุ่มเอกชนนั้น มีส่วนที่น่าสนใจคือ ไม่มีเหตุผลรองรับในการนำเสนอว่าจะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด มีเพียงว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะที่จะเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งรองรับการดำเนินการบริการระดับโลก และรวมไปถึงรองรับการเป็น International Trading Company เหมือนประเทศสิงค์โป แต่กลับกันเป็นว่ารัฐบาลให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ และมีมติรับทราบทุกโครงการที่มีการนำเสนอในวันที่ 5 กันยายน 2548 ทันทีในวันถัดมา ในที่ประชุมครม.สัญจรที่ฐานทัพเรือพังงาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 พร้อมทั้งส่งเรื่องนี้ไปยังสศช.รับไปศึกษาความเหมาะสมและพิจารณาเปลี่ยนชื่อใหม่


จากจุดนั้นเป็นต้นเหตุแห่
งการถกเถียงถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะนำมาบังคับใช้ ซึ่งมีอยู่หลายมาตราที่มีส่วนละเมิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะหยิบยกออกมาพูดคุยกันในมาตราที่สำคัญๆ ประกอบด้วย หมวด 2 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนที่ 1 มาตราที่ 16 เขตเศรษฐกิจพิเศษมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติใดๆ ซึ่งมองว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษมีอำนาจล้นพ้น ส่วนที่ 2 การได้มาซึ่งที่ดิน มาตราที่ 23 ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษถ้ามีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งที่ดินอสังหาริมทรัพย์อื่น ให้ดำเนินการโดยวิธีจัดซื้อ เช่าซื้อ เช่าระยะยาว แลกเปลี่ยน ถมทะเลหรือโดยวิธีการเวนคืน มาตราที่ 26 การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือใช้ประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้เช่าเป็นระยะคราวหนึ่งไม่น้อยกว่าห้าสิบปีแต่ไม่เกินเก้าสิบปี โดยไม่นำ มาตรา 540 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้ ซึ่งในส่วนนี้จากเดิม

มาตรา 540 เรื่องการเช่าให้เช่าได้ไม่เกิน สามสิบปีเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเป็นการเอื้
อประโยชน์มากเกิน มาตราที่ 27 การเช่า ให้เช่าช่วงหรือการเช่าช่วงที่ดินเนื้อที่เกินหนึ่งร้อยไร่ให้กระทำโดยไม่ต้องผ่านหรือได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมที่ดิน มาตราที่ 29 ในกรณีจำเป็นและสมควร เมื่อได้มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วว่ามีความเหมาะสม เขตฯสามารถถมทะเลเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินในการดำเนินการของเขตฯและในมาตราที่ 30 ในกรณีที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเข้าไปอยู่ในพื้นที่สงวน เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า เขตอุทยาน หรืออื่นใด ให้อำนาจผู้ว่าการเขตเศรษฐกิจพิเศษกำหนดมีอำนาจเข้าไปครอบครอง ซึ่งในส่วนนี้มองว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่มีหลักเกณฑ์ในการให้อำนาจ และมอบอำนาจไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียว ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญในการปกครอง และให้อภิสิทธิ์แก่กลุ่มคนบางกลุ่มในการดำเนินการใดๆ อันเป็นการขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง รวมไปถึงมาตรา 31 ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสามารถเข้าไปใช้พื้นที่สาธารณสมบัติได้เมื่อได้ชำระที่ดินแก่กระทรวงการคลังตามราคาประเมิน และให้ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินตกเป็นที่ดินของเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการได้ทันที ส่วนที่ 5 อำนาจของเขตเศรษฐกิจพิเศษ มาตราที่ 54 เขตเศรษฐกิจพิเศษสามารถรับแจ้ง อนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ รับจดทะเบียน ได้นอกเหนือจะเป็นคำสั่งอย่างอื่น ซึ่งจากเดิมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้เท่ากับเป็นการลิดรอนอำนาจของท้องถิ่น และขาดการมีส่วนร่วมของพื้นที่


ส่วนที่ 6 สิทธิพิเศษ มาตรา 62 ผู้ได้รับใบอนุญาตให้
ประกอบการหรืออยู่อาศัยในเขตเศรษฐกิจพิเศษอาจได้รับสิทธิพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง คือ สิทธิในการถือสิทธิที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นของคนต่างด้าว สิทธิ ในการนำคนต่างด้าวเข้ามาอยู่อาศัยในราชอาณาจักร และสิทธิในการนำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งในส่วนนี้เท่ากับว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าคนที่อยู่นอกเขต และยังสามารถดำเนินการใดโดยไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง และยังรวมไปถึงการนำเข้ามาจ้างงานของแรงงานต่างด้าว ที่ให้สิทธิพิเศษซึ่งอาจจะเข้ามาแย่งงานคนไทย และคนในพื้นที่อีกด้วย ในมาตราที่ 71 ในกรณีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือนำวัตถุดิบในราชอาณาจักร ในการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการขอหรือมีใบอนุญาตการประทับตราหรืเครื่องหมายใดๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีที่เขตฯกำหนด ซึ่งในส่วนนี้อาจจะมีการนำเข้าพืช GMO ซึ่งจะเป็นช่องว่างในการนำเข้าวัตถุดิบต้องห้ามในหลายจำพวกด้วย และยังมอบอำนาจให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นผู้ควบคุมดูแลซึ่งเท่ากับลดบทบาทหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ราชการที่มีส่วนในการตรวจสอบดูแล สิ่งที่ยังคงต้องวิตกกังวลต่อไปคือการนำร่าง พ.ร.บ.นี้เข้ามาบังคับใช้ในพื้นที่เมื่อใดและใช่เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ในส่วนของประเด็นที่เสนอให้มีการเปลี่ยนชื่อและหาชื่อใหม่ที่เหมาะสมกว่านั้นมองว่า การเปลี่ยนชื่อนั้นไม่ได้หมายความว่าจะไม่ใช้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงมองว่าการเปลี่ยนชื่อหรือไหมนั้นไม่ใช้ส่วนสำคัญแต่ความสำคัญอยู่ร่างพ.ร.บ.ที่จะมาบังคับใช้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษมากกว่า 

ทําไมผมคัดค้าน กาสิโน

กาสิโน

แนวความคิด

ครั้งแรกผมรู้สึกตกใจหลังได้อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ที่มีการลงตีพิมพ์ ตอนหนึ่งว่า มีนักลงทุนต่างชาติเข้าพบผู้ว่าราชการฯจ.ภูเก็ต โดยเสนอแนะให้มีการจัดตั้งเอนเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์หรือกาสิโน ยังรวมไปถึงศุนย์ประชุมนานาชาติ ท่าเทียบเรือสำราญ ร้านค้าปลอดภาษีและบริการต่างๆอย่างครบครัน เพียงไม่นานจากนั้นผมยังได้เฝ้าติดตามความคืบหน้าต่างๆของประเด็นนี้ และยังทราบว่า ม.วิทยาลัยมีชื่อแห่งหนึ่งในพื้นที่ จ.ภูเก็ตได้นำร่องเปิดสอนหลักสูตรกาสิโนด้วย เพื่อรองรับและตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้โดยเฉพาะ

การเคลื่อนไหว

ผมจึงบอกกับตัวเองว่า ผมต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งแล้ว ! ผม ในฐานะปรานคณะกรรมการปกครอง ผมไม่รอช้า นำเรื่องนี้เข้าสู่สภา อบจ.ภูเก็ต ทันที เพียงไม่นานจากวันนั้น ประธานสภาฯได้มีคำสั่งแต่ตั้งคณะทำงาน เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวในเรื่อง กาสิโนนี้โดยเฉพาะ ผมมีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย แห่งนั้นถึงแนวความคิด และวิธีการสอนว่ามีความเหมาะสมเพียงได และยังได้สะท้อนความรู้สึกต่างๆที่ผมมีออกผ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหลายฉบับ ระยะเวลาแค่ 1 สัปดาห์เรื่องนี้ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนานาถึงความเหมาะ มีทั้งฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ส่วนตัวผมแล้ว ไม่อยากจะเห็นการทำลายวัฒนธรรมไม่อยากเห็นความชั่วร้ายของอบายมุขทำลายประชาชนคนภูเก็ต และยังทำลายภูเก็ต ผมลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของคนภูเก็ตที่จะโดนรัฐฯเอาเปรียบ โดยไม่ฟังเสียงจากคนในพื้นที่ไม่ได้ ผมไม่อยากเห็นการจุดไฟเผาบ้านตนเอง อย่างที่ว่าไฟไหม้ 10 ครั้งยังไม่เท่าเล่นการพนัน

หนังสือพิมพ์ที่ลงตีพิมพ์เกี่ยวกับข่าวนี้

•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2548 “ชวนะ” หวั่นอนาคตยช.หลักสูตร “คาสิโน”
•  น.ส.พ.ข่าวเศรษฐกิจธุรกิจ ฉบับที่ 868 ประจำวันที่ 23-29 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 ในคอลัมภ์ เรื่องของคน ชวนะสุดเซ็ง ! กาสิโน
•  น.ส.พ.ก้องฟ้า ฉบับที่ 12 วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2548
•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2548 ผุดกาสิโน ดาบสองคม ชี้รัฐฟังเสียงประชาชน

บทสรุป

หลังจากที่มีการเคลื่อนไหวอย่างกว้างขวาง รวมทั้งไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดและจุดดีของหลักสูตรนี้ได้ และยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการอย่างกว้างขวาง จึงได้มีการถอดถอนหลักสูตรนี้ออกจากมหาลัย และไม่มีการเปิดสอนหลักสูตรนี้อีก สำหรับโครงการนี้ ก็ได้ยุติไปด้วย เพราะการสำรวจความคิดเห็นเบื้องต้นของประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเปิดบ่อนเสรีในประเทศยังขัดแย้งต่อข้อกฎหมาย และศีลธรรมอันดี นับเป็นชัยชนะหนึ่งของชาวภูเก็ตทุกคนครั้งหนึ่งเลยทีเดียว

บทความที่เกี่ยข้อง

บทนำ
สจ ชวนะ ห่วงรากฐานความคิดเด็ก ต่อ หลักสูตร คาสิโนเเละเกมส์ การเล่น
หลักสูตร " กาสิโน " มอ . ภูเก็ต - ปูทางบ่อนถูกกฎหมายในไทย !?

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ชวนะ โอด! พ.ร.บ.ค้าปลีกไม่คืบ

ชวนะ เกียรติชวนะเสวี: ข่าวหน้า1 นสพ เสียงใต้ท้องถิ่นภูเก็ต

ชวนะ’เดินหน้าชวนชาวภูเก็ตแก้ปัญหา!ขยะล้นเมือง





นายชวนะ เกียรติชวนะเสรี รองประธานหอการค้า จ.ภูเก็ต และประชาชนออกเดินรณรงค์แจกจ่ายถุงผ้าเพื่อแก้ปัญหาขยะล้นเมืองให้กับประชาชนที่เดินจ่ายตลาด


       บริเวณตลาดสดเทศบาลนครภูเก็ต‘ชวนะ’ รองประธานหอฯ ชวนประชาชนใช้ถุงผ้า แก้ปัญหาขยะล้นเมือง เมื่อเวลา 07.00 น.วันที่ 29 ส.ค. นี้ นายชวนะ เกียรติชวนะเสวี รองประธานหอการค้า จังหวัดภูเก็ต ฝ่ายการค้า การลงทุน และธนาคาร ร่วมกับประชาชน ออกเดินรณรงค์ แจกจ่ายถุงผ้า ให้กับประชาชนที่เดินจ่ายตลาด บริเวณตลาดสดเทศบาลนครภูเก็ต (ตลาดเกษตร) เชิญชวนประชาชนให้หันกลับมาสนใจสิ่งแวดล้อมและปัญหาขยะล้นเมือง โดยออก รณรงค์แจกจ่ายถุงผ้า ณ ตลาดเกษตร เป็นแห่งแรก จำนวน 1,200 ใบ
นายชวนะ ได้ให้สัมภาษณ์หลังเสร็จสิ้นการออกเดินรณรงค์ว่า เท่าที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า การเข้ามาของห้างต่างๆ นั้น ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น การเอาเปรียบทางการค้า การกำหนดราคาต่ำกว่าท้องตลาด การใช้มาตร การทางการค้ากดดันการค้าของท้องถิ่น รวมไปถึงการทำประชาสัมพันธ์เชิงรุก ซึ่งห้างมีศักยภาพ และมีเงินทุนอย่างมาก ตรงนี้ส่งผลต่อการทำธุรกิจพื้นฐานในชุมชน การผูกขาดการค้า ทำให้ร้านโชห่วยทยอยปิดตัวลง วัฒนธรรมบริโภคของคนพื้นที่ของคนในชุมชนถูกทำลาย รวมไปถึงมลพิษ มลภาวะ และขยะฟุ่มเฟือยจากการบริโภคนิยม ของวัฒนธรรมต่างชาติ ยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนจากการจับจ่าย ในห้างแต่ละครั้งก่อเกิดขยะฟุ่มเฟือย 3 ชิ้น/คน ขยะฟุ่มเฟือยในที่นี้หมายถึง พลาสติก โฟม วัสดุเป็นพิษเช่นวัสดุเคมีภัณฑ์ต่างๆ เราต้องตระหนักก่อนเลยว่าเราเป็นเมืองท่องเที่ยว เรามีนักท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวเป็นทุน เรามีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเรามีมรดกประเพณีวัฒน ธรรมเป็นจุดแข็ง วันนี้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ กำลังได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างไม่รู้ตัว เรามีเตาเผาขยะ 1 หัว ที่ไม่มีกำลังพอที่จะจัดการกับขยะที่มีมากมายมหาศาลกว่า 700 ตัน/วันได้ เทศบาลนครฯ ภูเก็ตกำลังเร่งหาแนวทางแก้ไข เพื่อรองรับกับปัญหานี้เช่นกัน นี้ก็เป็นความพยายามของท้องถิ่น อีกเช่นเคยกับการจัดการกับขยะฟุ่มเฟือย เราไม่มีที่ดินเพียงพอต่อการฝังกลบขยะเป็นพิษเหล่านี้ เราต้องใช้งบประมาณอีกเท่าไหร่ ในการจัดการกับขยะฟุ่มเฟือยเหล่านี้ หากอนาคตข้างหน้าไม่ว่าจะหันไปทางไหนเห็นแต่กองขยะ คงไม่มีนักท่องเที่ยวชาติไหนเดินทางเข้ามาภูเก็ตแน่นอน ฉะนั้นการท่องเที่ยวย่อมได้รับผลกระทบทันที ผมเชื่อว่าในอนาคตเศรษฐกิจในทุกระดับก็จะได้รับผลกระทบตามๆ กัน วันนี้ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราทุกคน ต้องร่วมมือกันสรรค์สร้างภูเก็ตให้กลับมาสวยงามมากยิ่งขึ้น มาร่วมมือกันปกป้องภูเก็ต ทำภูเก็ตให้สะอาดสดใส ด้วยสำนึกรักบ้านเกิด ร่วมมือกันคนละไม้ละมือ ร่วมมือ เหมือนการจุดเทียนกันคนละเล่ม เพื่อเป็นแสงสว่างให้ภูเก็ต
วันนี้ผมเป็นเสมือนแสงเทียนดวงแรก คงยังไม่มีแสงสว่างพอที่จะทำให้ภูเก็ตกลับมาสวยงามเหมือนเดิมได้ หากแต่เพียงว่าวันข้างหน้าจะได้แสงแห่งพลังของคนภูเก็ต ที่จะลุกขึ้นมาปกป้องภูเก็ต ลุกขึ้นมาทำความดีเพื่อภูเก็ต เอาใจใส่สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ปกป้องมรดกของเรา ไว้ให้กับลูกหลานเราต่อไป การที่ผมออกมาแจกจ่ายถุงผ้าในครั้งนี้ จะไม่มีประโยชน์ใดเลยหากเรา ไม่ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา ปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหาวิกฤติโลกร้อน ปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น นี้กำลังเป็นภัยคุกคามโลกของเรา และภัยที่เราชาวภูเก็ตกำลัง เผชิญ ผมคิดว่าวันนี้ไม่มีแม้แต่เวลาที่คิดว่าจะเริ่มทำเมื่อไหร่ แต่ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังเสียที
วันนี้ผมแค่เริ่มต้น และสร้างจิตสำนึก ให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ห้างค้าปลีก ทุนข้ามชาติ นักลงทุน ที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ตของเรา หันกลับมาตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมกันรับผิดชอบ หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งเราสามารถอยู่ร่วมกันได้ ทำการค้าร่วมกันได้ไม่เอาเปรียบกัน หันกลับมาใส่ใจภูเก็ต ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลทรัพยากรที่เราใช้ร่วมกัน และมีอยู่อย่างน้อยนิดให้ได้เกิดประโยชน์มากที่สุด รวมถึงการคงไว้สู่ลูกหลานของเราชาวภูเก็ตต่อไป นายชวนะกล่าว

จาก นสพ เสียงใต้          ที่ : 30 ส.ค. 2550





     

เครือข่ายที่ปรึกษาผู้ตรวจภาคประชาชน

http://www.opm.go.th/inspweb/network/

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ออกกติกาค้าปลีกค้าส่งขอทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้

วันที่ พุธ สิงหาคม 2550
พิมพ์หน้านี้ | ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation


 สมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย ร่วมกับคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดเวทีสาธารณะ ผ่าโครงสร้าร่างกฎหมายค้าปลีกค่าส่ง: สู่ประโยชน์ผู้บริโภค โดยเชิญนักวิชาการจากส่วนกลางและท้องถิ่นมาสะท้อนความคิดเห็น โดยมี      ประชาชนชาวภูเก็ตในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ผู้นำชุมชนท้องถิ่น สมาชิกเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบกาค้าปลีกค้าสื่อมวลชน เข้าร่วมจำนวนประมาณ 200 คน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต

นายชาตวิทย์ มงคลแสง นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย กล่าวว่า การเปิดเวทีสาธารณะดังกล่าว ถือเป็นครั้งที่ 4 เพื่อส่งเสริมผู้บริโภคให้เข้าใจสิทธิของตนโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพระราช บัญญัติฉบับนี้ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในภาคปฏิบัติ รณรงค์ให้รัฐบาลเห็นความสำคัญ ของการออกกฎหมายที่เกี่ยวของกับผลประโยชน์ของผู้บริโภค เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องของกระบวนการทางนิติบัญญัติ แก่ประชาชน รวม ถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐ ประกอบการและร้านโชวห่วยในต่างจังหวัดหรือทั่วประเทศ รวมทั้งเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้เข้าร่วมสัมมนา แล้วนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
ด้วย ตระหนักดีว่า ประชาชนผู้บริโภคทุกภาคส่วน ต้องมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ต่อร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ อย่างน้อยสุด เพื่อกำหนดสาระสำคัญให้การบัญญัติกฎหมายการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ได้เกิดประโยชน์สูงสุด กับประชาชนผู้บริโภคคนไทยโดยตรง และเป็นการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่มีคุณค่า คุณภาพ โดยยึดถือประชาชนผู้บริโภคมีส่วนร่วมกระบวนการตรากฎหมายเป็นหลักสำคัญ จนเสร็จสิ้นกระบวนการ

ดร.วิญญู วีรยางกูร ประธานโปรแกรมบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับการควบคุมตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวนั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ไม้แข็ง เพียงแต่ให้เกิดการเคลื่อนย้ายที่ช้าลง ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปตามธรรมชาติ เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ทั้งค้าปลีกค้าส่งและโชว์ห่วย ไม่ใช่ เมื่อค้าปลีกค้าส่งเข้ามาแล้วเป็นยักษ์ใหญ่หรือกำแพงกั้น แต่ควรจะเป็นหัวเรือใหญ่ที่เอื้อต่อรายย่อยในลักษณะพึ่งพาซึ่งกันและกัน ก็จะเป็นผลดีและทั้งสองฝ่ายทำให้อยู่ร่วมกันได้ ส่วนพ.ร.บ.จะออกในปีนี้เลยหรือไม่นั้น คิดว่า หากจะออกใช้ในปีหน้าก็คงไม่มีปัญหาอะไร
ดร.อธิวัฒน์ สินรัชตานนท์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า การเข้ามาของค้าปลีกค้าส่งนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดีที่เห็นชัด คือ การดึงเทคโนโลยีและความรู้สมัยใหม่เข้ามาใช้ ส่ง ผลให้โชว์ห่วยเองก็จะต้องพัฒนาตามไปด้วย จุดเริ่มต้นของการค้าขาย ณ วันนี้ เมื่อมีการรุกเข้ามาของทุนใหญ่ ก็ต้องหาวิธีการตั้งรับ โดยใช้จุดแข็งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ เพราะการกีดกันทางการค้านั้นจะทำให้ผู้บริโภคเสียหาย และการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลการอนุญาตนั้นก็เหมือนกับเป็นการผูกขาด ก่อให้เกิดการคอรัปชั่นได้ ควรจะพิจารณาจากผู้บริโภคให้ถ่องแท้ และน่าจะมีหลังจากที่มีการเลือกตั้งแล้ว เพราะจะทำให้มีความละเอียดรอบคอบมากขึ้น
นายมีพาศน์ โปตระนันท์ อดีตกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า ประเทศไทยนั้นต้องการอาชีพหลากหลาย ไม่เฉพาะค้าขายเท่านั้น แต่ยังมีอาชีพอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ากฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และเป็นผลเสียกับธุรกิจ เพราะฉะนั้นส่วนไหนที่ไม่มีก็อย่าให้มี หรือหากจะมีก็ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์อย่างแท้จริง และที่สำคัญในการตรากฎหมายรัฐบาลก็จะต้องคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นหลัก

ในขณะที่นายชวนะ เกียรติชวนะเสวี รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต กล่าวโดยส่วนตัวนั้นก็ไม่ได้ขัดขวางการเข้ามาของค้าปลีกค้าส่ง แต่เมื่อมาแล้วก็จะต้องดูแลคนท้องถิ่นด้วย อุปมาเช่นเดียวกับการไปกินข้าวหรือพักอาศัยบ้านใครก็ต้องแทนคุณด้วย ดังนั้นก็ต้องยืนยันว่า ไม่เคยกีดขวางการลงทุน แต่ต้องอยู่ในกฎและกติกา เช่น การเสียภาษีให้ท้องถิ่นแทนการเสียภาษีรวมที่ส่วนกลาง เป็นต้น
ส่วนนายสุเมธี ทองเสมอ จากชุมชนสมากองสามัคคี ซึ่งเคยเปิดร้านโชว์ห่วยแต่อยู่ไม่ได้ โดยเลิกก่อนการเข้ามาของค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ กล่าวว่า อย่ามองเฉพาะด้านดีของโมเทรดเทรด แม้ว่าจะมีสินค้าราคาถูก แต่หากพิจาณณาให้ดีจะพบว่าไม่ถูกจริง เช่น เนื้อหมู ไก่ ปลา เป็นต้น ก็ไม่ทราบว่ามีการตรวจสอบคุณภาพหรือไม่ และบ่อยครั้งที่เจอว่ามีการนำของที่ใกล้หมดอายุมาจำหน่ายโดยการนำมาแปรรูป ซึ่งหากจะให้มีการลงทุนของค้าส่งค้าปลีกขนาดใหญ่นั้นก็น่าจะให้ออกไปไกลๆ เพื่อโชว์ห่วยที่มีสามารถอยู่ได้ แต่หากยังคงเป็นเช่นนี้ก็เชื่อว่าโชว์ห่วยตายหมดแน่ และเมื่อนั้นเชื่อว่าราคาสินค้าของค้าส่งค้าปลีกก็จะแพงขึ้นไปอีก
อย่างไร ก็ตามสิ่งที่อยากฝากกับรัฐบาลคือ ให้เข้ามาดูแลโชว์ห่วยบ้าง ไม่ใช่ปล่อยให้เขาต้องล้มหายตายจากไป ไม่ว่าจะเรื่องของเงินทุน หรือการให้ความรู้เพื่อเขาจะได้พัฒนาตัวเองให้อยู่รอดได้ นายสุเมธีกล่าว
โดย phuket
หอฯออกโรงค้าน โปรเจ็กต์1.3แสนล. พัฒนาอ่าวภูเก็ต
23 - 25 ก.พ. 49
   หอการค้าภูเก็ตออกโรงค้านโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต ชี้เป็นโครงการที่ดี แต่ต้องการให้รัฐพิจารณาให้รอบคอบ จี้เปิดช่องให้ทำประชาพิจารณ์อีกรอบ ชี้หากผุดโครงการขึ้นมา จะก่อให้เกิดปัญหาด้านระบบสาธารณูปโภคตามมาเพียบ ทั้งน้ำประปา ไฟฟ้า จนถึงการคมนาคมซึ่งปัจจุบันมีปัญหามากอยู่แล้ว

    ผู้สื่อข่าว"ฐานเศรษฐกิจ"ประจำจังหวัดภูเก็ต รายงานว่า หลังจากที่จังหวัดภูเก็ตได้นำผลการศึกษาทั้งหมดส่งให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ 1.3 แสนล้านบาท ในการพัฒนาอ่าวภูเก็ต ที่จะเนรมิตเกาะสวรรค์กลางอ่าวภูเก็ต เพื่อดึงเงินลงทุนต่างชาติเข้าร่วมโครงการ และให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมด ซึ่งมีภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 5 บริษัท ความคืบหน้าล่าสุดของเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมา จังหวัดภูเก็ตได้มีการเรียกเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆเข้าร่วมประชุม หารือด้านความพร้อมของโครงการโดยมีภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมด้วยหลายองค์กร ซึ่งการประชุมยังยืนยันทิศทางเดิมกล่าว คือ ให้ภาคเอกชนที่สนใจเป็นผู้ลงทุนในโครงการทั้งหมด โดยจะเริ่มโครงการราว ปี 2550 -2554
    นาย
ชวนะ เกียรติชวนะเสวี รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ฝ่ายการค้าการลงทุน เปิดเผยว่า จากการที่ได้ติดตามแนวทางการพัฒนาโครงสร้างของโครงการทั้งหมดนั้น มองว่าการพัฒนาโครงการอ่าวภูเก็ตนั้น รัฐบาลจำเป็นจะต้องมองในภาพรวมและพัฒนาโครงสร้างทั้งระบบเพื่อรองรับ ไม่ใชพัฒนาในส่วนที่เป็นโครงการเท่านั้น และเหนือสิ่งอื่นใด ยังอยากเห็นการทำประชาพิจารณ์และสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนและตอบรับความ ต้องการของประชาชน เพื่อการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามระบบ
    ส่วนที่น่าสนใจน่าติดตาม และรัฐจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ คือการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน เพราะโครงการนี้มีเม็ดเงินลงทุนที่สูงกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งจะเข้าไปอยู่ในส่วนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือ ดำเนินในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ซึ่งยังคงบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ตรงนี้จะต้องมีความชัดเจนในการดำเนินการและมีการตรวจสอบเป็นอย่างดี ไม่อยากจะให้กรณีอย่างการมีวาระซ้อนเร้น หรือผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะทุกพื้นที่และทุกตารางวานั้นเป็นของคนไทยของชาวภูเก็ตทุกคน เรารักษามรดกเหล่านี้ไว้ให้กับลูกหลาน และจะไม่ยอมให้ทุนต่างชาติเข้ามายึดครองแผ่นดิน อยากให้รัฐบาลทบทวนด้วย ซึ่งตามแผนแล้วเอกชนจะต้องเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานก่อน ซึ่งอาจจะเข้าข่ายขัดต่อพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย  "เหนือสิ่งอื่นใดอยากจะให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่อยู่ใกล้กับสถาน ที่ที่จะทำโครงการ และสำรวจถึงผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นการทำประมงน้ำตื้นของวิถีชาวบ้าน หากเกิดการก่อสร้างโครงการขึ้น เส้นทางร่องน้ำก็จะเปลี่ยนแปลงนำไปสู่การกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งเกิดขึ้นอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่จะต้องมีการวางแผนเพื่อรองรับไว้ด้วย อาชีพชาวบ้านก็จะเปลี่ยนแปลงจากตรงนี้ รัฐจะต้องให้ความสนใจกับปัญหาความพร้อมของตัวประชาชนด้วย ทั้งนี้อยากให้ประชาชนให้ความสนใจเรื่องนี้ เพราะจะมีส่วนกระทบกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ ได้ ซึ่งรัฐจะต้องมองปัญหาทุกด้านอย่างละเอียด และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วย"นาย
ชวนะกล่าวและว่า
      นาย
ชวนะกล่าว อีกว่า สิ่งที่น่าวิตกในเวลานี้ คือ การพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน เช่น น้ำประปา ที่จำเป็นต่อการบริโภค โดยจะต้องใช้น้ำแบ่งออกไปตามแผนงานถึง 2 โครงการที่เชื่อมโยงกัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ MICE หรือ MARINA เพราะในส่วน MICE จำเป็นจะต้องใช้น้ำราว 14,300 ลบ.ซม./วัน และ MARINA จะต้องใช้น้ำราว 5,805 ลบ.ซม./วัน ซึ่งเป็นไปตามแผนการที่คาดการณ์ไว้ ด้านไฟฟ้า การขยายโครงสร้างด้านคมนาคมในส่วนการคมนาคมบนเกาะที่จะสร้างใหม่นั้น จะมีส่วนต่อกันบริเวณสะพานหินที่ติดกับแผ่นดินใหญ่ ใช้รูปแบบลักษณะสะพานยกระดับ ดำเนินการรถไฟฟ้าหรือรถไฟรางเบา ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ทั้งไฟฟ้าและพลังอื่นอย่างมาก ด้านความปลอดภัย รวมไปถึงสนามบินที่จะรองรับการพัฒนาในอนาคต ตรงนี้คงจะต้องมองว่า ในอนาคตที่จะมาถึงโครงการที่จะเกิดขึ้น ย่อมจะต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และหากมองการพัฒนาเพียงเพื่อให้นักลงทุนเข้ามาพัฒนาเฉพาะบนเกาะหรือโครงการ เท่านั้น จะเท่าเป็นการสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นและไม่เป็นธรรมกับผู้ที่อยู่นอก พื้นที่พัฒนานอกจากนั้นเรื่องขยะที่จะมีเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้เตาเผายังไม่มีการก่อสร้างหรือจัดหาสถานที่ทำลายเพิ่มเติม หากยังอยู่ในลักษณะนี้ อาจจะเกิดวิกฤติขยะล้นเมืองได้ เพราะจากโครงจะมากถึง 67 ตัน/วัน จะต้องมีการวางแผนและจัดการที่ดีในอนาคตและยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อ เนื่องจากอัตราการขยายของเมืองในปัจจุบัน หลายปัญหาที่ยกตัวอย่างมานั้นอยากจะให้รัฐมองภาพในวงกว้างที่ปัญหาและผลกระ ทบ เพื่อทำให้เกิดความพร้อมและสามารถบริหารจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา จากการผลักดันให้เกิดโครงการใหญ่ในลักษณะนี้     "โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี เพราะจาการการคาดการณ์เศรษฐกิจล่วงหน้า การทำแผนโครงการอ่าวภูเก็ตแล้วนั้น จะทราบว่า อัตรารายได้จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในแต่ละปี ดังนั้นจึงอยากจะให้รัฐพัฒนาทั้งภาพรวม เพราะจังหวัดภูเก็ต เป็นพื้นที่เป็นเกาะอยู่แล้ว และประชาชนบนเกาะ ก็ยังมีความต้องการการพัฒนาเช่นเดียวกัน อย่างเช่นในวันนี้บนเกาะเองยังคงได้รับความกระทบจากปัญหาขาดแคลนน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อย่างรุนแรง"


นาย
ชวนะกล่าว ตอนท้ายว่า ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาและผลิตน้ำอุปโภค ในระบบ RQ หรือการผลิตน้ำเค็มจ่ายเข้าสู่ระบบในเดือนมิถุนายนที่จะมาถึง แต่ ณ วันนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชนเลย ด้านไฟฟ้าหากมีการพัฒนาโครงการขึ้น ในระบบการจ่ายไฟฟ้าจะเกิดปัญหาขึ้นอย่างแน่นอน เพราะกระแสไฟฟ้ามาจากเขื่อนเชี่ยวหลานที่จังหวัดสุราษฎ์ธานี ส่งกระแสไฟฟ้ามายังจังหวัดต่างๆในภาคใต้และภูเก็ต หากมีการพัฒนาโครงสร้างและโครงการในระดับใหญ่ดังกล่าว การจ่ายกระแสไฟฟ้าจะต้องประสบกับปัญหาหลายด้าน ซึ่งตรงนี้ต้องทบทวนและมีมาตรการรองรับเสียแต่เนิ่นๆ รวมไปถึงสนามบินนานาชาติภูเก็ตหากไม่มีการผลักดันให้เกิดการพัฒนาและ ปรับปรุงสนามบิน เพื่อรองรับการพัฒนาเชิงพาณิชย์ทั้งระบบในอนาคต การพัฒนาอ่าวภูเก็ตก็จะไม่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุน และยังไม่พร้อมต่อการรองรับเที่ยวบินใหญ่ระดับโลก

โดย : ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 23/02/2006