#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หอฯออกโรงค้าน โปรเจ็กต์1.3แสนล. พัฒนาอ่าวภูเก็ต
23 - 25 ก.พ. 49
   หอการค้าภูเก็ตออกโรงค้านโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต ชี้เป็นโครงการที่ดี แต่ต้องการให้รัฐพิจารณาให้รอบคอบ จี้เปิดช่องให้ทำประชาพิจารณ์อีกรอบ ชี้หากผุดโครงการขึ้นมา จะก่อให้เกิดปัญหาด้านระบบสาธารณูปโภคตามมาเพียบ ทั้งน้ำประปา ไฟฟ้า จนถึงการคมนาคมซึ่งปัจจุบันมีปัญหามากอยู่แล้ว

    ผู้สื่อข่าว"ฐานเศรษฐกิจ"ประจำจังหวัดภูเก็ต รายงานว่า หลังจากที่จังหวัดภูเก็ตได้นำผลการศึกษาทั้งหมดส่งให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ 1.3 แสนล้านบาท ในการพัฒนาอ่าวภูเก็ต ที่จะเนรมิตเกาะสวรรค์กลางอ่าวภูเก็ต เพื่อดึงเงินลงทุนต่างชาติเข้าร่วมโครงการ และให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมด ซึ่งมีภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 5 บริษัท ความคืบหน้าล่าสุดของเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมา จังหวัดภูเก็ตได้มีการเรียกเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆเข้าร่วมประชุม หารือด้านความพร้อมของโครงการโดยมีภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมด้วยหลายองค์กร ซึ่งการประชุมยังยืนยันทิศทางเดิมกล่าว คือ ให้ภาคเอกชนที่สนใจเป็นผู้ลงทุนในโครงการทั้งหมด โดยจะเริ่มโครงการราว ปี 2550 -2554
    นาย
ชวนะ เกียรติชวนะเสวี รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ฝ่ายการค้าการลงทุน เปิดเผยว่า จากการที่ได้ติดตามแนวทางการพัฒนาโครงสร้างของโครงการทั้งหมดนั้น มองว่าการพัฒนาโครงการอ่าวภูเก็ตนั้น รัฐบาลจำเป็นจะต้องมองในภาพรวมและพัฒนาโครงสร้างทั้งระบบเพื่อรองรับ ไม่ใชพัฒนาในส่วนที่เป็นโครงการเท่านั้น และเหนือสิ่งอื่นใด ยังอยากเห็นการทำประชาพิจารณ์และสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนและตอบรับความ ต้องการของประชาชน เพื่อการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามระบบ
    ส่วนที่น่าสนใจน่าติดตาม และรัฐจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ คือการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน เพราะโครงการนี้มีเม็ดเงินลงทุนที่สูงกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งจะเข้าไปอยู่ในส่วนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือ ดำเนินในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ซึ่งยังคงบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ตรงนี้จะต้องมีความชัดเจนในการดำเนินการและมีการตรวจสอบเป็นอย่างดี ไม่อยากจะให้กรณีอย่างการมีวาระซ้อนเร้น หรือผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะทุกพื้นที่และทุกตารางวานั้นเป็นของคนไทยของชาวภูเก็ตทุกคน เรารักษามรดกเหล่านี้ไว้ให้กับลูกหลาน และจะไม่ยอมให้ทุนต่างชาติเข้ามายึดครองแผ่นดิน อยากให้รัฐบาลทบทวนด้วย ซึ่งตามแผนแล้วเอกชนจะต้องเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานก่อน ซึ่งอาจจะเข้าข่ายขัดต่อพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย  "เหนือสิ่งอื่นใดอยากจะให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่อยู่ใกล้กับสถาน ที่ที่จะทำโครงการ และสำรวจถึงผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นการทำประมงน้ำตื้นของวิถีชาวบ้าน หากเกิดการก่อสร้างโครงการขึ้น เส้นทางร่องน้ำก็จะเปลี่ยนแปลงนำไปสู่การกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งเกิดขึ้นอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่จะต้องมีการวางแผนเพื่อรองรับไว้ด้วย อาชีพชาวบ้านก็จะเปลี่ยนแปลงจากตรงนี้ รัฐจะต้องให้ความสนใจกับปัญหาความพร้อมของตัวประชาชนด้วย ทั้งนี้อยากให้ประชาชนให้ความสนใจเรื่องนี้ เพราะจะมีส่วนกระทบกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ ได้ ซึ่งรัฐจะต้องมองปัญหาทุกด้านอย่างละเอียด และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วย"นาย
ชวนะกล่าวและว่า
      นาย
ชวนะกล่าว อีกว่า สิ่งที่น่าวิตกในเวลานี้ คือ การพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน เช่น น้ำประปา ที่จำเป็นต่อการบริโภค โดยจะต้องใช้น้ำแบ่งออกไปตามแผนงานถึง 2 โครงการที่เชื่อมโยงกัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ MICE หรือ MARINA เพราะในส่วน MICE จำเป็นจะต้องใช้น้ำราว 14,300 ลบ.ซม./วัน และ MARINA จะต้องใช้น้ำราว 5,805 ลบ.ซม./วัน ซึ่งเป็นไปตามแผนการที่คาดการณ์ไว้ ด้านไฟฟ้า การขยายโครงสร้างด้านคมนาคมในส่วนการคมนาคมบนเกาะที่จะสร้างใหม่นั้น จะมีส่วนต่อกันบริเวณสะพานหินที่ติดกับแผ่นดินใหญ่ ใช้รูปแบบลักษณะสะพานยกระดับ ดำเนินการรถไฟฟ้าหรือรถไฟรางเบา ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ทั้งไฟฟ้าและพลังอื่นอย่างมาก ด้านความปลอดภัย รวมไปถึงสนามบินที่จะรองรับการพัฒนาในอนาคต ตรงนี้คงจะต้องมองว่า ในอนาคตที่จะมาถึงโครงการที่จะเกิดขึ้น ย่อมจะต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และหากมองการพัฒนาเพียงเพื่อให้นักลงทุนเข้ามาพัฒนาเฉพาะบนเกาะหรือโครงการ เท่านั้น จะเท่าเป็นการสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นและไม่เป็นธรรมกับผู้ที่อยู่นอก พื้นที่พัฒนานอกจากนั้นเรื่องขยะที่จะมีเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้เตาเผายังไม่มีการก่อสร้างหรือจัดหาสถานที่ทำลายเพิ่มเติม หากยังอยู่ในลักษณะนี้ อาจจะเกิดวิกฤติขยะล้นเมืองได้ เพราะจากโครงจะมากถึง 67 ตัน/วัน จะต้องมีการวางแผนและจัดการที่ดีในอนาคตและยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อ เนื่องจากอัตราการขยายของเมืองในปัจจุบัน หลายปัญหาที่ยกตัวอย่างมานั้นอยากจะให้รัฐมองภาพในวงกว้างที่ปัญหาและผลกระ ทบ เพื่อทำให้เกิดความพร้อมและสามารถบริหารจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา จากการผลักดันให้เกิดโครงการใหญ่ในลักษณะนี้     "โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี เพราะจาการการคาดการณ์เศรษฐกิจล่วงหน้า การทำแผนโครงการอ่าวภูเก็ตแล้วนั้น จะทราบว่า อัตรารายได้จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในแต่ละปี ดังนั้นจึงอยากจะให้รัฐพัฒนาทั้งภาพรวม เพราะจังหวัดภูเก็ต เป็นพื้นที่เป็นเกาะอยู่แล้ว และประชาชนบนเกาะ ก็ยังมีความต้องการการพัฒนาเช่นเดียวกัน อย่างเช่นในวันนี้บนเกาะเองยังคงได้รับความกระทบจากปัญหาขาดแคลนน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อย่างรุนแรง"


นาย
ชวนะกล่าว ตอนท้ายว่า ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาและผลิตน้ำอุปโภค ในระบบ RQ หรือการผลิตน้ำเค็มจ่ายเข้าสู่ระบบในเดือนมิถุนายนที่จะมาถึง แต่ ณ วันนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชนเลย ด้านไฟฟ้าหากมีการพัฒนาโครงการขึ้น ในระบบการจ่ายไฟฟ้าจะเกิดปัญหาขึ้นอย่างแน่นอน เพราะกระแสไฟฟ้ามาจากเขื่อนเชี่ยวหลานที่จังหวัดสุราษฎ์ธานี ส่งกระแสไฟฟ้ามายังจังหวัดต่างๆในภาคใต้และภูเก็ต หากมีการพัฒนาโครงสร้างและโครงการในระดับใหญ่ดังกล่าว การจ่ายกระแสไฟฟ้าจะต้องประสบกับปัญหาหลายด้าน ซึ่งตรงนี้ต้องทบทวนและมีมาตรการรองรับเสียแต่เนิ่นๆ รวมไปถึงสนามบินนานาชาติภูเก็ตหากไม่มีการผลักดันให้เกิดการพัฒนาและ ปรับปรุงสนามบิน เพื่อรองรับการพัฒนาเชิงพาณิชย์ทั้งระบบในอนาคต การพัฒนาอ่าวภูเก็ตก็จะไม่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุน และยังไม่พร้อมต่อการรองรับเที่ยวบินใหญ่ระดับโลก

โดย : ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 23/02/2006