#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตร.ทางหลวงภูเก็ตเปิดจุดร่วมลดอุบัติเหตุปีใหม่





ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ตำรวจทางหลวงภูเก็ต เปิดจุดปฎิบัติการร่วม ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนช่วงปีใหม่ บริการประชาชนที่เหนื่อยล้า จากการขับรถให้ปลอดภัยจนถึงจุดหมายปลายทาง 
       
       เมื่อเวลา 13.30 น.วันนี้ (29 ธ.ค.) ที่หน่วยบริการทางหลวงภูเก็ต พ.ต.อ.เทอดเกียรติ วิริยสถิตกุล ผู้กำกับการ 7 กองบังคับการตำรวจทางหลวง เป็นประธานเปิดโครงการตั้งจุดปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเทศกาลปีใหม่ 2554 พร้อมปล่อยขบวนรถตรวจการณ์ตำรวจทางหลวง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่เดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ และลดอุบัติเหตุบนถนน
       
       ทั้งนี้ ตำรวจทางหลวงภูเก็ต ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคถลาง ภาคเอกชน เพื่อบริการที่พัก ห้องน้ำ เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ผ้าเย็น ตรวจเช็กสภาพรถ นวดฝ่าเท้า สปา รวมทั้งผ่อนคลายด้วยกีฬากอล์ฟและรถเคนสำหรับสำรวจการจราจรทั้งขาเข้าและขาออกภูเก็ตในช่วง 7 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2553-4 ม.ค.2554 นี้
       
       พ.ต.อ.เทอดเกียรติ วิริยสถิตกุล ผู้กำกับการ 7 กองบังคับการตำรวจทางหลวง กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ กองกำกับการ 7 ตำรวจทางหลวง ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ 11 จังหวัดในภาคใต้ ยกเว้น สุราษฎร์ธานี ระนองและชุมพร เป็นพื้นที่ปลายทางที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งผู้ใช้รถใช้ถนนค่อนข้างที่จะเหนื่อยล้าจากการขับรถเป็นเวลานาน
       
       ตำรวจทางหลวงซึ่งมีจุดตรวจอยู่ทั้งหมด 29 แห่งในพื้นที่รับผิดชอบ ได้เปิดจุดตรวจให้บริการผู้เดินทางเหมือนกับจุดตรวจที่ภูเก็ต โดยมีบริการที่พัก เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ผ้าเย็น และจุดผ่อนคลายต่างๆ ห้องน้ำ เพื่อให้ผู้ขับขี่รถยนต์ได้พักผ่อนก่อนที่จะขับรถต่อไป รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงดูแลความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้เดินทางตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง ก็สามารถที่จะโทรแจ้งไปยังตำรวจทางหลวงได้ที่หมายเลข 1193
       
       อย่างไรก็ตาม จากการที่ทางตำรวจทางหลวงได้เปิดจุดตรวจต่างๆ เพื่อให้ความสะดวกกับผู้เดินทางในช่วงเทศกาลต่างๆ ที่ผ่านมา ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ที่เดินทางในช่วงเทศกาลต่างๆ เพื่อหยุดพักผ่อนในจุดที่ปลอดภัย ก่อนที่จะเดินทางต่อไปจนถึงจุดหมายปลายทาง



ขอขอบคุณข้อมูลจาก ASTV ผู้จัดการออนไลน์

 ผมขอชื่นชม พ.ต.อ.เทอดเกียรติ วิริยสถิตกุล ผู้กำกับการ 7 กองบังคับการตำรวจทางหลวง ด้วยใจจริงครับ



ด้วยความนับถือ
นาย ชวนะ เกียรติชวนะเสวี นบ.
 รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต
 ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีภาคประชาชน ด้านเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต


วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553


พี่หมุยเเละพี่เจี๋ยบที่ผมนับถือเเละเคารพอย่างสูง
คําอวยพรปีใหม่ที่พี่หมุยให้ผมครับ
         ผมเดินทางไปสวัสดีปีใหม่พี่หมุยที่จังหวัดพังงากับน้องๆตํารวจที่เคารพรักพี่หมุยๆกําลังจะลงเตะฟุตบอลกับ
ข้าราชการตํารวจในจังหวัดพังงา พี่หมุยยังเหมือนเดิม เป็นพี่ที่ใจดี ผมนั่งคุยกับพี่หมุยเกือบครึ่งชั่วโมง ผมได้มีโอกาศ



คุยกับสื่อมวลชนเเละนักการเมืองท้องถิ่นที่พังงา ทุกคนจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พี่หมุยคือพี่ที่รักของทุกคนรวมทั้ง
ที่จังหวัดภูเก็ต ทุกคนรักเเละคิดถึงพี่หมุยทุกคนครับ

ผมได้มีโอกาศได้ร่วมทํางานกับพี่หมุย เป็นผู้กํากับโรงพักเมืองภูเก็ตผมได้รับเเต่งตั้งเป็น กตตร
คณะกรรมการความมั่นคงอําเภอเมืองเเละอําเภอกะทู้ เเละ( สจ)ประธานคณะกรรมการปกครองได้เสนอ
เเละดําเนินการ โครงการสร้างป้อมที่สะพานหินผมก็ได้ประสานงานกับพี่หมุยมาตลอด
รวมถึงโครงการ ซื้ออุปกรณ์รักษาความปลอดภัยในจังหวัดภูเก็ต เเละอีกหลายโครงการที่ผ่าน
คณะกรรมการปกครองจะประชุมเเละรวบรวมปัญหาเเละหาข้อสรุปเสนอผ่านสภาไปยังผู้บริหาร
เเละได้ติดตามประสานงานจนโครงการสู่การปฎิบัติอย่างเป็นรูปอธรรมต้องขอบคุณ
ข้าราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ให้ความร่วมมือมาโดยตลอดมา

พี่เจีํ๋ยบผมก็ได้มีโอกาศร่วมงานกันตอนที่ผมเป็น ประธานอนุกรรมการบริหารสระนํ้า50เมตรองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
พี่เจี๋ยบประธานสมาคมสระว่ายนํ้า50เมตรเเละได้ให้เกียรติเป็นรองประธานอนุกรรมการ
เเละได้ร่วมกันคิด โครงการ Summer Camp ฝึกอบรมว่ายนํ้าภาคฤดูร้อนแก่เด็ก
และเยาวชน จัดเป็นประจําทุกปี เเละ พัฒนาปรับปรุงสระว่ายนํ้า สร้าง เเท๋งนํ้าไว้รองรับ
ช่วงหน้าเเล้ง ปรับพื้น ป้าย  ห้องพยาบาล  ห้องประชุมของสมาคมคณะกรรมการสระว่ายนํ้า50เมตร  

 ผมขอขอบคุณพี่ทั้งสองเเละคณกรรมการบริหารสระว่ายนํ้า50เมตร,คณะอนุกรรมการบริหารสระนํ้า50เมตรองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต 
คณะกรรมการสมาคมสระว่ายนํ้า50เมตร ,ผู้บริหาร,สภาอบจ, ข้าราชการอบจ  ที่ให้ความกรุณาผมาโดยตลอด


ด้วยความเคารพอย่างสูง

 ชวนะ เกียรติชวนะเสวี
รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต,
ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีภาคประชาชน
ด้านเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต
      
                              

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เทศบาลตำบลราไวย์ ประกาศพื้นที่แหลมพรหมเทพ เป็นเขตปลอดเหล้าบุหรี่ พบฝ่าฝืนดำเนินการตามกฎหมาย


นาย อรุณ โสฬส นายกเทศมนตรีตำบลราไวย์ เปิดเผยว่า เทศบาลตำบลราไวย์ได้ประกาศให้พื้นที่บริเวณแหลมพรมเทพ เป็นพื้นที่คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ โดย ได้ออกประกาศให้สวนสาธารณะแหลมพรหมเทพ ตั้งแต่บันไดขึ้นไปถึงบริเวณด้านบนของแหลมพรหมเทพทั้งหมด รวมทั้งสวนสาธารณะหนองน้ำในหาน เป็นพื้นที่คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันนี้พื้นที่บริเวณแหลมพรหมเทพ มีนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวน มาก และบางครั้งผู้ที่เดินทางเข้าไปท่องเที่ยวมักจะสูบบุหรี่ในขณะที่เดินชม ธรรมชาติทำให้ควันบุหรี่ลอยไปโดนบุคคลอื่นที่ไม่ได้สูบด้วยซึ่งควันบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในกรณีผู้ที่สูดควันบุหรี่เข้าไปยังเป็นเด็ก เพราะฉะนั้นนักท่องเที่ยวควรที่จะได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการสูบบุหรี่ใน ที่สาธารณะของบุคคลอื่น ทางเทศบาลจึงได้ประกาศเขตห้ามสูบบุหรี่ขึ้นที่บริเวณแหลมพรหมเทพ และสวนสาธารณะหนองน้ำในหาน โดยกำหนดให้มีเขตสูบบุหรี่โดยเฉพาะขึ้น หลังจากนี้จะให้เจ้าหน้าที่ของเทศบาลมาดูแลหากพบผู้ฝ่าฝืนจะดำเนินการปรับ ตามกฎของเทศบาลที่ได้กำหนดไว้
ขอขอบพระคุณ เสงี่ยม เอียดตน ส.ปชส.ภูเก็ต 
      ผมทราบข่าวจากประชาชนมาบ้าง ยังพูดกันเลยว่าท่านนายกอรุณ  มีความตั้งใจที่จะพัฒนาพี้นที่เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนเเละปัจจุบันการท่องเที่ยวทั่วโลกก็หันมาท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพกันมากขึ้นขึ้นครับ


  ชวนะ เกียรติชวนะเสวี
รองประธานหอการค้าจังหวัด
 ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีภาคประชาชน
 ด้านเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต      

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

“เรือขนทุ่นวัดคลื่นสึนามิ” ถึงภูเก็ตแล้ว เตรียมติดตั้งในทะเลอันดามัน



ผมดีใจเมื่อทราบข่าวครับขอขอบคุณครับ
มื่อเวลา 13.00 น. วันเสาร์ ที่ 11 ธันวาคม 2553 ที่ท่าเทียบเรือแหลมพันวา เรือซีฟเดค (SEAFDEC) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิออกเดินทางจาก ท่าเรืออ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา ได้เดินมาถึงท่าเทียบเรือจังหวัดภูเก็ตแล้วและมีการพักเรือเพื่อเตรียมพร้อมเดินทางต่อติดตั้งทุ่นในฝั่งทะเลอันดามัน ในเวลา 22.00 น. ซึ่งในส่วนของทุ่นที่นำไปติดตั้งนั้นทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ไดระมาณจากส่วนกลางจำนวน 150 ล้านบาท ในการดำเนินการติดตั้ง 2 ทุ่นลอยน้ำลึกตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน ซึ่งถือว่าเป็นทุ่นแรกของประเทศไทย
นายธยสาร โธนานนท์ ประธานกรรมการตรวจรับทุ่นลอยน้ำลึกในฝั่งอันดามัน กล่าวว่า สำหรับโครงการติดตั้งทุ่นลอยน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามัน ในคืนนี้มีการนำทุ่นวางไว้ในทะเลอันดามันโดยจุดที่ต้องการวางมีด้วยกันสองจุด ซึ่งจุดแรกวางห่างจากเกาะภูเก็ตไป 250 กิโลเมตร และจุดที่สองวางห่างจากเกาะสุรินทร์ 230 กิโลเมตร ซึ่งทีมงานที่ไปติดตั้งประกอบด้วย วิศวกร, ผู้รักษาการคอมพิวเตอร์, และเจ้าหน้าที่สำนักบริหาร
อย่างไรก็ตามทุ่นดังกล่าวเมื่อติดตั้งแล้วเสร็จสามารถส่งสัญญาณเตือนภัยไป ยังดาตาร์เซนเตอร์ศูนย์ปฏิบัติงานแห่งชาติเพื่อแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบ โดยใช้ระยะเวลาในการแจ้ง 5 นาที ในการส่งสัญญาณแผ่นดินไหวหรือแรงดันใต้น้ำที่มีความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้ สามารถสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว  ทั้งนี้งบประมาณติดตั้งทุ่นลอยน้ำลึกทั้งหมด 162 ล้านบาท

ขอขอบคูณข้อมูลจาก  phuket index.com

เราเรียกร้องจากรัฐบาลมานานหลังจากเกิดคลื่นสึนามิ เมื่อปีพศ2547 เพี่อความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนเเละสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยว ที่สําคัญมีความเเน่นอนว่าจะเกิดเมื่อไหร่ประชาชนไม่ต้องคอยระวังบนความไม่เเน่นอนต้องขอบคุณรัฐบาลครับ

วันนี้จังหวัดภูเก็ตได้มีการเสริมความมั่นใจให้กับประชาชนเเละนักท่องเที่ยว เรามีเทคโนโลยีที่มีมาตราฐานที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก เราจะทราบล่วงหน้าว่าเมื่อไหร่ที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติจากภัยธรรมชาติ รวมถึง การประชาสัมพันธ์ว่าวันนี้เรามีเครื่องมือที่มีมาตราฐานในการเตือนภัยที่จะเกิดขึ้น เรามีความมั่นใจเเละเชื่อถืิอต่อมาตราฐานเเละการให้ความรู้กับประชาชนเเละนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดภูเก็ตเสมอครับ การมีลูกศรชี้เมื่อเกิดภัยธรรมชาติเเละประชาสัมพันธ์เป็นครั้งคราว



ภาพของทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ เเละการติดตั้งรวมถึงการสาธิต การทํางานใน www ของสื่อ ทุกเล่มเเละสื่อต่างชาติ จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นได้ดีที่สุดในยุคโลกไรัพรหมเเดน


น่าลองไปดูงานที่ญี่ปุ่นครับ


                                   ด้วยจิตสํานึกรักบ้านเกิด
                                   นาย ชวนะ เกียรติชวนะเสวี น.บ.
                                   รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต
                                    23 ธันวาคม 2010


ระวังเเต่ไม่ระเเวงครับ





วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา 08.15 น. พล.ต.ต.พิกัด ตันติพงศ์ ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต
เป็นประธาน กิจกรรม "สภากาแฟ " ครั้งที่ 1/2553 เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ ผบ.ตร.
และเพื่อเป็นเวทีพบปะหารือพูดคุยปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่างๆ 
หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างผู้ับังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงาน อีกทั้งสร้างความสัมพันธ์อันดีในหน่วยงาน

ผมขอชื่นชมท่าน พล.ต.ต.พิกัด ตันติพงศ์ ผบก.ภ.จวภูเก็ต ที่มี กิจกรรม สภากาเเฟ
เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทุกระดับ ผมขอเสนอให้เชิญนายก อปท เเละประธาน
องค์กรเอกชน เช่น หอการค้า สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว สภาอุตสาหกรรม เป็นต้น
มาร่วมด้วย ด้พูดคุยเเละเเลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ร่วมกันพัฒนาจังหวัดภูเก็ตครับ




ด้วยความเคารพเเละนับถือ

ชวนะ เกียรติชวนะเสวี
รองประธานหอการค้าจังหวัด
ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีภาคประชาชน
ด้านเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต
     เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา 08.15 น. พล.ต.ต.พิกัด ตันติพงศ์ ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต
 เป็นประธาน กิจกรรม "สภากาแฟ " ครั้งที่ 1/2553 เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ ผบ.ตร. 
และเพื่อเป็นเวทีพบปะหารือ พูดคุยปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่าง ๆ หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 
ระหว่างผู้ับังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงาน อีกทั้งสร้างความสัมพันธ์อันดีในหน่วยงาน
    ผมขอชื่นชมท่าน พล.ต.ต.พิกัด ตันติพงศ์ ผบก.ภ.จวภูเก็ต ที่มี กิจกรรม สภากาเเฟ 
เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทุกระดับ ผมขอเสนอให้เชิญ อปท เเละ องค์กรเอกชน เช่น หอการค้า
 สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว สภาอุตสาหกรรม เป็นต้น มาร่วมด้วย 
 ได้พูดคุยเเละเเลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ร่วมกันพัฒนาจังหวัดภูเก็ตตรับ





    ด้วยความเคาราเเละนับถือ

ชวนะ เกียรติชวนะเสวี
รองประธานหอการค้าจังหวัด
 ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีภาคประชาชน
 ด้านเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เมืองภูเก็ตร่วม สสจ.อำเภอซ้อมแผนรับมือไข้หวัดนก

10 ธันวาคม  2553
ศูนย์ข่าวภูเก็ต - อำเภอเมืองภูเก็ต ร่วม สสจ.อำเภอซ้อมแผนป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในเมืองท่องเที่ยว

     
       นายศุภชัย โพชนุกูล นายอำเภอเมืองภูเก็ต กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการแพร่ระบาดของฌรคไข้หวัดนกที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีว่า ขณะนี้ในส่วนของอำเภอเมืองภูเก็ตได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองภูเก็ตจัดให้มีการซ้อมแผนป้องกันไข้หวัดนก บนโต๊ะขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกที่แพร่ระบาดในช่วงฤดูหนาว
       นายศุภชัยกล่าวต่อไปว่า ซ้อมแผนไข้หวัดนกก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวซึ่งในส่วนของจังหวัดภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ถ้าหากมีโรคระบาดเกิดขึ้นก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดได้ แต่อย่างไรก็ตามจากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่าการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในพื้นที่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จังหวัดภูเก็ตยังไม่เคยมีปัญหาเรื่องของการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก       นายศุภชัยกล่าวต่อไปว่า ภูเก็ตมีความพร้อมมาตรการดูแลสุขภาพของประชาชนและนักท่องเที่ยวทุกคนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งในช่วงนี้ถือเป็นช่วงไฮซีซัน ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก การที่มีมาตรการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะด้านความปลอดภัยด้านสุขภาพจะเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 
 
ASTVผู้จัดการออนไลน์

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

17 สิงหาคม 2553 เวลา 08.00 – 15.00 น. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้จัดประชุมประชาพิจารณ์ร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยฉบับที่ 8 (พ.ศ 2555 – 2559) ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม ฮอลล์ 9 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยมีรองประธานหอการค้าฯ (นายชวนะ เกียรติชวนะเสวี)เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ในการประชุมครั้งนี้เป็นการระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ จากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อนำมาปรับปรุงร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยฉบับที่ 8 เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


ที่มา หอการค้าจังหวัดภูเก็ต

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553


ระนอง-ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ให้ระมัดระวังการเล่นดอกไม้ไฟ พลุ ประทัดในช่วงเทศกาลลอยกระทง หากทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินผู้อื่น มีความผิดทั้งอาญาและทางแพ่ง 
  
       นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า มีหลายพื้นที่ในจังหวัดระนองจัดงานประเพณีวันลอยกระทง เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงามของไทยและส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งทุกปีที่ผ่านมาจะมีการจุดพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ปล่อยโคมลอยเพื่อเฉลิมฉลองในเทศกาลดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติภัยได้ง่าย เช่น เกิดระเบิด หรืออัคคีภัยอันเกิดจากการประมาทเลินเล่อในการเล่นพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ
  
       ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น และเพื่อความปลอดในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงขอให้ผู้ประสงค์จำหน่ายดอกไม้ไฟจะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ร้านค้าที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายดอกไม้ไฟ ให้จำหน่ายได้เฉพาะภายในสถานที่ ซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น และจะต้องค้าหรือจำหน่ายดอกไม้ไฟได้ภายในเวลา 06.00-18.00 น. เท่านั้น
  
       ไม่จำหน่ายดอกไม้ไฟให้แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และประชาชนทั่วไปที่จะเล่นดอกไม้ไฟ พลุ ประทัด จะต้องอยู่ในขอบเขตสมควรและเหมาะสมสอดคล้องกับประเพณีอันดีงามของไทย ควรงดเว้นการเล่นในย่านชุมชน การโยนใส่กัน ทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน รำคาญ และหากเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน นอกจากมีความผิดทางอาญาแล้วอาจถูกฟ้องร้องให้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www. manager.co.th

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สภาวะการเปลี่ยนผ่านภูมิปัญญาในมหาวิทยาลัย




ผู้เขียน ดร.บวร ประพฤติดี และ รศ.ดร.ทิพาพร พิมพิสุทธิ์ ท่านทั้งสองเป็นอาจารย์ที่สอนปริญญาเอกผมที่มหาวิทยาลัยรามคําเเหงที่ผมเคารพเเละนับถืออย่างสูง
บทนํา
      มหาวิทยาลัยเป็นที่รวมของนักวิชาการและนักวิจัย ซึ่งสั่งสมความรู้ ประสบการณ์จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ เผยแพร่และจัดการความรู้เพื่อพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นผู้นำทางความคิดและจริยธรรม นำสังคมสู่การแก้ไขปัญหา เป็นตัวแบบของสังคมแห่งการปฏิบัติ และเป็นที่สนับสนุนพัฒนานักวิชาการและนักวิจัย มหาวิทยาลัยจึงเป็นสถาบันนำการเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยนักวิชาการที่มีความรู้และคุณธรรม เพื่อสร้างคนดีและสร้างสังคมชุมชนที่ดี ในกรอบของบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยคือ การเรียนการสอน การวิจัย การให้บริการชุมชน และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

      มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้เกิดการศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงและผลที่เกิดขึ้นเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่จะนำมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหา ทำให้เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เกิดองค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาวิจัย เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตของวิถีนักวิชาการในมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถนำศักยภาพและสติปัญญาสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้มหาวิทยาลัย สังคมชุมชน และนักวิชาการได้ตลอดเวลา บทบาทของมหาวิทยาลัยจึงไม่มีขอบเขตจำกัด เพราะองค์ความรู้ที่สั่งสมมากคณานับ และเป็นฐานรากที่สำคัญในทุกกิจกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าและมูลค่าให้แก่มหาวิทยาลัยและสังคม

    คำถามที่ตามมาคือ มหาวิทยาลัยควรมีบทบาทและหน้าที่อย่างไรในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อสภาวะการเปลี่ยนผ่านภูมิปัญญาในมหาวิทยาลัยอย่างไรทั้งในปัจจุบันและอนาคต การเปลี่ยนแปลงบทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน

      ในระยะเวลา 40 ปี ที่ผ่านมาบทบาทของมหาวิทยาลัยได้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยภายในประเทศและการเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัยภายนอกประเทศในระยะต่อมา บทบาทของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษามีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่พัฒนาการมาจากประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงบริบทของสังคมการเมืองในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน บทบาทมหาวิทยาลัยจึงมาจากการรังสรรค์ของผู้นำสังคมและนักวิชาการในขณะนั้น  เป็นการระเบิดออกมาจากภายในของผู้บริหาร และนักวิชาการของแต่ละสถาบันเพื่อสร้างคนดี และสังคมดี กระบวนทัศน์การพัฒนาการศึกษาแม้ว่ายังเป็นไปตามแนวคิดตะวันตก แต่ฐานคิดแบบตะวันออก บริบทของสังคม ประวัติศาสตร์และหลักจริยธรรม ยังคงเป็นรากแก้วที่ทำให้ผู้ศึกษาได้รู้รากเหง้าของสังคมไทยและสังคมตะวันออก ครู อาจารย์ผู้สอนเป็นแบบอย่างที่ดี ที่คิดดี ทำดี และสอนดีทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากครู อาจารย์อย่างประจักษ์ชัดตลอดเวลาที่ศึกษาถึงการเป็นคนดีของสังคม ครู อาจารย์จึงเป็นต้นแบบของคนดีแก่ผู้ศึกษา เป็นต้นแบบทางจริยธรรมที่ต้องใช้เวลาหล่อหลอมเพราะเป็นกระบวนการเรียนรู้ทั้งทางความคิด ปัญญา และจิตวิญญาณ ในระยะเริ่มแรกของการตั้งสถาบันการศึกษาจึงอยู่บนฐานของวัฒนธรรมตะวันออกที่ปรับใช้กับภูมิปัญญาตะวันตก

      ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ผู้นำประเทศไทยได้นำพาสังคมไทยสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม การสร้างความทันสมัย การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยสำคัญในการหล่อหลอมกระบวนทัศน์การพัฒนาของนักวิชาการไทย บทบาทนักวิชาการจึงเป็นไปตามวาทกรรมการพัฒนาแบบตะวันตกไร้ภูมิปัญญาไทยและตะวันออก นักสังคมศาสตร์จึงเป็นผลผลิตจากการศึกษาในกรอบตะวันตก ซึ่งให้ความสำคัญต่อแนวคิดทฤษฎี การค้นคว้าหาข้อมูลตัวเลข แปลงคุณค่าและชีวิตเป็นมูลค่าและไม่มีชีวิต พิสูจน์ ทดลอง ศึกษาแบบแยกส่วน เน้นการผลิตวัตถุและการบริโภค เงินสำคัญกว่าชีวิตผู้คน การพัฒนาประเทศเป็นไปตามกรอบวิชาการทฤษฎีตะวันตก ทิ้งภูมิปัญญาตะวันออกที่ให้ความสำคัญต่อมนุษย์และธรรมชาติ ทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ไม่แยกส่วน มีภูมิปัญญาแบบบูรณาการ เห็นคุณค่าธรรมชาติ มุ่งสังคมสงบ และสันติสุข

      ในสังคมตะวันตกปัญญาชนเห็นผลกระทบจากการปฏิวัติระบบทุนโลกทำให้เกิดวิกฤติทางสังคม และสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา อารยธรรมอุตสาหกรรมโลกทุนนิยมเป็นรากของวิกฤติที่เกิดขึ้นตามมา และนำไปสู่การแก้ปัญหาของกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบเดิมคือ การพัฒนาแบบยั่งยืนโดยปัญญาชนในประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนเป็นการปฏิวัติทางสังคมและชุมชนแบบใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ทำให้เกิดขบวนการรากหญ้า การเมืองสีเขียว และชุมชนยั่งยืน และทำให้เกิดชุมชนและองค์กรชุมชนมากมายทั่วโลก เช่น องค์กรชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านภูมิปัญญา ด้านการศึกษานอกระบบ เป็นต้น

      วิกฤติที่รวมศูนย์หลายด้าน เป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาใหม่ตามมา เช่น การศึกษานอกระบบ และตามอัธยาศัย วิทยาลัยชุมชน มหาวิทยาลัยชุมชน แหล่งเรียนรู้หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชน มีโรงเรียนแบบบูรณาการ ภูมิปัญญาแบบบูรณาการ และหลักสูตรบูรณาการเป็นสหวิทยาการ ที่สำคัญพลังชุมชนมีบทบาทและความสำคัญในการพัฒนา ขณะที่องค์กรภาครัฐมีบทบาทและอำนาจลดลง จะเห็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและชุมชนมีเพิ่มขึ้นในมิติของการพัฒนา เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษามีแนวโน้มลงสู่ชุมชนมากขึ้น ดังจะเห็นจากบทบาทของมหาวิทยาลัยเริ่มเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาสังคมชุมชนมากขึ้น เมื่อรัฐบาลไทยกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนำไปสู่การสร้างความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมระหว่างเมืองและชนบท ปัญหาจากการพัฒนาเศรษฐกิจมิติเดียวทำให้ขาดสมดุลในการพัฒนาสังคมไทย และเพิ่มความสลับซับซ้อนของปัญหา หลายมหาวิทยาลัยจึงต้องการศึกษาวิจัยและแสวงหาต้นแบบของการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนและสมดุลมากกว่าการพัฒนาที่เน้นมิติใด มิติหนึ่งเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากโครงการความร่วมมือของสามมหาวิทยาลัยคือ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับชุมชนลุ่มน้ำแม่กลอง ในการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการหาต้นแบบการพัฒนาชุมชน โดยอาจารย์ป๋วย  อึ้งภากรณ์ เป็นผู้อำนวยการโครงการร่วมกับนักวิชาการของสามมหาวิทยาลัยลงไปศึกษาวิจัยร่วมกัน เมื่อปี พ.ศ. 2516 ที่อำเภอแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม

      แนวคิดของนักวิชาการดังกล่าวอยู่บนฐานคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน คำนึงถึงวิถีชีวิตชุมชน ทุนทางสังคม สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา และวิธีการบริหารจัดการจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน โดยกระบวนการมีส่วนร่วม แม้จะพบปัญหาอุปสรรค และบางกิจกรรมไม่ประสบผลสำเร็จแต่เป็นบทเรียนสำหรับการเรียนรู้ของนักวิชาการในการพัฒนาชุมชนต่อไป แนวคิดดังกล่าวนำไปสู่การสร้างชุมชนที่พึ่งตนเองได้ สามารถผลิตและบริโภคสินค้าที่เป็นของท้องถิ่นที่มีคุณภาพและเป็นธรรมชาติ หลายชุมชนที่เป็นชุมชนแห่งการปฏิบัติ บนฐานคิดเดียวกันนี้จะเห็นว่า เงินตราลดความสำคัญลง ระบบเงินตราชุมชนมีอำนาจเหนือเงินตราของรัฐและของนายทุน เช่นกรณีชาวตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ได้รวมตัวจัดตั้งกลุ่มเบี้ยกุดชุมและผลิตเงินตราชุมชนในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการภายในชุมชน แต่ใช้ได้ไม่นานก็ถูกทางภาครัฐเข้ามาตรวจสอบและอ้างว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติ เพราะผลิตเงินตราขึ้นใช้เอง ผิด พ.ร.บ. เงินตรา 2501 และห้ามใช้คำว่าเบี้ยกุดชุมต่อไป การกระทำของแบงก์ชาตินั้นได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการทำลายความเข้มแข็งของชุมชน นวัตกรรมของชุมชนดังกล่าวเป็นแนวคิดที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายของชาวบ้านจากการเปลี่ยนเป็นสังคมแห่งการบริโภค และต้องการให้สมาชิกชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เป็นการปฏิวัติด้านภูมิปัญญาของชุมชนตำบลนาโส่ บทเรียนจากกรณีการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลองของสามสถาบันเป็นเช่นเดียวกันกับตำบลนาโส่คือ ภาครัฐไม่สนับสนุนแนวคิดการพัฒนาที่มาจากภาคประชาชน ช่องว่างทางความคิดของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยกับข้าราชการท้องถิ่นเป็นปัญหาในการทำงานในพื้นที่และการพัฒนาที่ทำให้ประชาชนคิดเป็นทำเป็น พึ่งพาตนเองได้ เป็นการท้าทายความคิดของข้าราชการที่เป็นแนวดิ่ง จึงทำให้โครงการหยุดการดำเนินการศึกษาวิจัยและปฏิบัติการในพื้นที่ เมื่อปี พ.ศ. 2519

      ดังนั้นแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาของไทยในมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นมานานกว่า 36 ปีโดยนักวิชาการในมหาวิทยาลัย และผู้นำทางความคิดในการนำมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน เช่นอาจารย์ป๋วย  อึ้งภากรณ์ และอาจารย์เสน่  จามริก เป็นต้น เป็นกระบวนทัศน์การพัฒนาที่เริ่มจากปัญหาของชุมชนในพื้นที่เป็นตัวตั้ง โครงการวิจัยจะรองรับปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยนักวิชาการได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา เป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการมีส่วนร่วมดังกล่าว ทำให้เกิดกิจกรรมในทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์และแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างแท้จริง การทำงานของนักวิชาการทั้งสามมหาวิทยาลัย เป็นการบูรณาการทางความคิดและปัญญาในการแก้ปัญหาทั้งด้านสุขภาวะโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ด้านสังคมโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และด้านการเกษตรโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้นแบบที่นำมหาวิทยาลัยสู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  แต่ข้อจำกัดคือ ข้าราชการและนักพัฒนาในภาครัฐไม่สามารถบูรณาการทางความคิด และการทำงานร่วมกันกับนักวิชาการ ไม่สามารถเปลี่ยนกระบวนทัศน์เดิม โดยเอาปัญหาเป็นตัวตั้ง เน้นที่กระบวนการพัฒนาคนและเชื่อมโยงกิจกรรมหลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน อาศัยการเรียนรู้ของชุมชนเป็นเครื่องนำทาง เป็นกระบวนการวิจัยแบบเน้นการเชื่อมโยง ถักทอ ระหว่างงานวิจัย งานพัฒนา และการจัดการความรู้และภูมิปัญญาของท้องถิ่นไปพร้อมกันแบบบูรณาการ เป็นกระบวนทัศน์เชิงบูรณาการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ถึงแม้ว่ามีปัญหาและอุปสรรคในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลองดังกล่าว แต่เป็นองค์ความรู้ที่นักวิชาการได้เรียนรู้และเป็นต้นแบบของการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยลงสู่ชุมชน เมื่อ 36 ปีที่ผ่านมา

      บทเรียนดังกล่าวทำให้เกิดการเรียนรู้ถึงงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมรากฐานเดิมของชุมชนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น เป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เป็นการสืบทอดวัฒนธรรม และความเชื่อของท้องถิ่นให้เกื้อกูลและยั่งยืน ช่วยเสริมการจัดการฐานทรัพยากรของชุมชนให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของเครือข่ายชุมชนที่มีอยู่แล้วให้สามารถจัดการกับปัญหาของตนเองได้ดีขึ้น เป็นการสะท้อนภาพคุณค่าแห่งการพัฒนาท้องถิ่นที่แท้จริง เป็นการเปลี่ยนผ่านบทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2516 – 2519 เป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของมหาวิทยาลัยที่มองเห็นการณ์ไกล รองรับการเปลี่ยนแลงของโครงสร้างระบบโลกที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้นอีก 10 ปี หากโครงการประสบความสำเร็จจะเป็นต้นแบบสำหรับการสร้างชุมชนเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ให้เต็มพื้นที่สังคมไทย เป็นการสร้างความเข้มแข็งของฐานราก เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีต่อวิกฤติซ้อนวิกฤติที่เกิดขึ้น

สภาวะการเปลี่ยนผ่านภูมิปัญญาและวิถีวัฒนธรรมชุมชนโลก

      การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เห็นความสำคัญของกลุ่มพลังประชาชนจากหลากหลายประเทศทั่วโลกกว่า 50,000 คน มีทั้งกลุ่มกรรมกร ชาวนา NGO กลุ่มศาสนา และชาวบ้านเข้าร่วมต่อต้าน WTO ที่เมือง Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2542 จนทำให้การประชุมต้องยุติลง และองค์กรชาวบ้านได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วระหว่างปี พ.ศ. 2534 – 2543 แพร่กระจายไปทั่วโลกนับเป็นล้านๆ องค์กร ทุกปีจะมีการประชุมเวทีระดับโลก เรียกว่า World Social Forum เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา เป็นเวทีสากลเชื่อมประสานพลังประชาชนทั่วโลกเรียกร้องให้มีการปกป้องสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาหนี้ในโลกที่สาม ประณาม World Bank และIMF ต่อต้านกระแสครอบโลกแบบโลกาภิวัตน์ และการก่อสงครามรุกรานของสหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นการปฏิวัติทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ และที่สำคัญคือ การปฏิวัติด้านภูมิปัญญา เปลี่ยนวิถีคิด การเรียนรู้จากวิกฤติระบบโลก นำไปสู่การเกิดของระบบโครงสร้างที่กระจายตัวไปทั่วโลก เป็นการเกิดใหม่ของชุมชนเล็กๆ องค์กรนอกระบบในประเทศพัฒนาแล้วหันกลับไปศึกษาวิถีวัฒนธรรมชุมชน และความรู้สมัยโบราณ เรียนรู้วิถีชุมชน สร้างชุมชนอย่างยั่งยืนบนวิถีธรรมชาติ เป็นความไร้พรมแดนทางวัฒนธรรมที่อยู่บนฐานคิดสำคัญคือ เมตตาธรรม และธรรมชาตินิยม (ยุค  ศรีอาริยะ, 2548: 74) และพลังประชาชนเหล่านี้เป็นพลังที่จะเผชิญกับวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้น จะสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ขึ้นกับความรู้ ปัญญาที่เป็นรากฐานสำคัญจึงต้องสร้างฐานความรู้ให้เข้มแข็ง เป็นชุมชนแห่งความรู้และปัญญา (Knowledge Based Community) เป็นชุมชนที่รู้ปัญหา มีความรู้แก้ปัญหา มีภูมิปัญญาแบบบูรณาการเข้าใจสภาวธรรมพื้นฐานได้ ซึ่งเป็นคุณค่าแนวคิดตะวันออกและพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่ง

      เมื่อการเปลี่ยนแปลงของระบบโครงสร้างดังกล่าวเกิดขึ้น มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาดังได้กล่าวข้างต้นที่ให้ความสำคัญต่อชุมชนมากขึ้น เกิดการปฏิรูปการศึกษาใหม่ ทั้งการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์เรียนรู้ชุมชน วิทยาลัยชุมชน และมหาวิทยาลัยชุมชน เป็นต้น ประกอบกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาอีเล็คทรอนิค ทำให้สามารถขยายการศึกษาสู่ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยที่เห็นการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างดังกล่าวจะปรับยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ให้ทันการเปลี่ยนแปลง นอกจากจะแสวงหาผู้เรียนกลุ่มใหม่ในชุมชนท้องถิ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของกลยุทธ์น่านน้ำสีครามแล้ว ยังสามารถพัฒนาให้เป็นกลยุทธ์น่านน้ำสีขาวที่มุ่งพัฒนาสู่ความยั่งยืนของสังคมเป็นสำคัญ อันจะนำไปสู่การสร้างฐานความรู้ของชุมชนให้เข้มแข็งเป็นชุมชนที่รู้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาและพึ่งตนเองได้ มีปัญญาแบบบูรณาการ สร้างสังคมที่สงบสันติสุขและยั่งยืนได้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นการท้าทายบทบาทมหาวิทยาลัยที่จะช่วยชุมชน สังคม และประเทศชาติให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืนได้อย่างไร

      แนวคิดที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งให้ความสนใจคือ การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยมุ่งไปที่วัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูปเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชุมชนของระบบโลกในปัจจุบัน เพื่อนำวัฒนธรรมมาบูรณาการกับความรู้เพื่อสร้างสรรค์ผลผลิตที่เพิ่มคุณค่าและมูลค่าเชิงวัฒนธรรมเรียกว่า Culture Industry นักวิชาการจะช่วยต่อยอดเป็นสังคมแห่งวัฒนธรรม สังคมชนบทไทยมีมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ามาก นักวิชาการสามารถต่อยอดความรู้ ความคิด ปัญญากับวัฒนธรรมให้เข้ากับตลาดท่องเที่ยว จะทำให้เกิดกิจกรรมและธุรกิจบนความคิดสร้างสรรค์ ดังจะเห็นจากกรณีเมืองเชียงรายได้ต่อยอดเชิงวัฒนธรรมเป็นเมืองแห่งแกลลอรี่ (ณรงค์ชัย  อัครเศรณี, 2552) หลายสิ่งหลายอย่างจะแปรเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาและสร้างรายได้ให้ประเทศในอนาคต

      แหล่งวัฒนธรรมที่น่าสนใจเพื่อเป็นกลยุทธ์น่านน้ำสีขาวคือ ปรัชญาและวัฒนธรรมเชิงพุทธ ที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดนครพนม สกลนคร อุดรธานี ชัยภูมิ หนองบัวลำภู เป็นพุทธภูมิที่มีพระอาริยะสงฆ์ผู้สืบสานและมีมรรคปฏิบัติที่เป็นรากฐานของความรู้ และปัญญาทางพุทธธรรมที่สำคัญยิ่งในปัจจุบัน ประกอบกับศิลปวัฒนธรรมเชิงศาสนาที่เป็นทุนทางสังคมที่มีอยู่มากมายในจังหวัดนครราชสีมา ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ และสุรินทร์ จะนำมาบูรณาการความรู้ที่มีอยู่ให้พัฒนาเป็นการศึกษาแบบสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าและตามมาด้วยการต่อยอดทางกิจกรรมอื่นๆ ที่เกิดคุณค่าและมูลค่า เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ต่อไป นอกจากนี้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี ปราจีนบุรี ลพบุรี สุโขทัย และนครศรีธรรมราช ล้วนแต่เป็นอู่อารยธรรมของประเทศ มหาวิทยาลัยจะบูรณาการทุนทางสังคมที่มีคุณค่ามหาศาลนี้กับความรู้และภูมิปัญญาของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ได้อย่างสร้างสรรค์อย่างไร เป็นความท้าทายที่สถาบันการศึกษาในจังหวัดและภูมิภาคเหล่านั้นสามารถนำมาใช้ต่อยอดกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย ความสำเร็จในการบูรณาการความรู้ ปัญญากับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นเหล่านี้ เป็นยุทธ์ศาสตร์น่านน้ำสีขาวที่จะช่วยอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ คุณธรรม และจริยธรรมของสังคมไทยให้ยั่งยืนสืบไป

      การบูรณาการความรู้ในเชิงสร้างสรรค์ ในบางกิจกรรมต้องใช้ความรู้และปัญญามาเป็นทุนทำการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มากขึ้น เพราะฐานที่สำคัญคือ เศรษฐกิจชุมชนที่สามารถทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ ทำให้เกิดเศรษฐกิจผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Economy) และการขยายเครือข่ายความรู้ของชุมชนท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำให้เกิดการกระจายองค์กรชุมชนที่มีความรู้มากมายในสังคม เป็นการสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันที่มหาวิทยาลัยจะช่วยพัฒนาสังคมชุมชนร่วมกันได้ การเปลี่ยนผ่านเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของระบบโลกท้าทายต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยที่จะปรับบทบาทและสร้างสภาวะการเปลี่ยนผ่านภูมิปัญญาในมหาวิทยาลัยให้ทันกับการท้าทายดังกล่าว

สรุป

      นักวิชาการที่มีความรู้ และปัญญาในมหาวิทยาลัยเป็นทุนทางสังคมที่ควรค่าแก่การสนับสนุนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นความกล้าหาญทางความคิด ซึ่งจะเกิดขึ้นในสังคมที่ช่วยกันเพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ให้กับสมาชิกในองค์กรมากกว่าการสร้างความกลัวด้วยการใช้อำนาจ ความกลัวเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่เหนี่ยวรั้งไม่ให้กล้าที่จะคิด ข้อผิดพลาดหรือปัญหาขององค์การอาจจะนำไปสู่ความคิดใหม่ที่ดีได้เช่นกัน หรือทำให้เกิดการเรียนรู้จากความล้มเหลวได้เสมอ การทำลายการสร้างสรรค์ของสมาชิกในองค์การทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่สร้างบุคคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ต้องใช้เวลาตลอดชีวิต ดังนั้นมหาวิทยาลัยจะเป็นศูนย์กลางสร้างสรรค์ ต้องสร้างสรรค์บุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความกล้าในการคิดสร้างสรรค์ จึงจะสามารถพัฒนาสังคมชุมชนสร้างสรรค์ (Creative Community) ที่นำไปสู่การพัฒนาและการสร้างความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) อย่างยั่งยืน

      การเปลี่ยนแปลงในองค์การจะเกิดขึ้นได้ขึ้นกับวัฒนธรรมองค์การที่เป็นระบบเปิด ทำให้มีการสื่อสารสองทาง เกิดวัฒนธรรมคิดสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมเกิดขึ้น ถ้าเป็นองค์การที่มีวัฒนธรรมระบบปิดองค์การจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก โครงสร้างองค์การไม่เปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีโอกาสสื่อสารปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร ดังนั้นพันธกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยคือการสร้างการเปลี่ยนแปลง และมีการสื่อสารการเปลี่ยนแปลงให้กับกลุ่มที่เกี่ยวข้องในองค์การได้รับรู้ และผู้นำให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง สื่อสารปัญหาที่เกิดขึ้นและลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงลงให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด ดังนั้นผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงต้องขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงจากภายในองค์การเริ่มต้นที่ตัวตนของผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ พันธกิจ วิสัยทัศน์ การจัดสรรงบประมาณเพื่อรองรับกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต(Blanchard, 2008)

          มหาวิทยาลัยเป็นองค์การทางปัญญาที่สภาวะการเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยากโดยใช้ความรู้ กระบวนการวิจัยและภูมิปัญญาจากบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย  บทบาทการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยจะมีความสำคัญยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในการเป็นองค์การนำการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม ใช้ภูมิปัญญาและความรู้ที่สั่งสม การสร้างกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การสร้างความรู้ใหม่จากการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติเพื่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงของสังคมและการพัฒนาแบบบูรณาการทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จิตใจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม การศึกษาและประชาธิปไตยเพื่อสร้างสังคมแห่งสันติสุข บนความร่วมมือที่เกิดขึ้นจากภาคส่วนต่างๆในสังคมโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ร่วมทำงานโดยการรวมตัวกันเชิงประเด็นในการพัฒนาที่สำคัญๆ เช่นการสร้างจิตสำนึกใหม่ การสร้างความเข้มแข็งในชุมชนท้องถิ่น การสร้างระบบการศึกษาที่นำพาชาติพ้นวิกฤติ การสร้างระบบสวัสดิการทางสังคมที่ก้าวหน้า การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลในระบบการเมืองการปกครอง การขับเคลื่อนระบบความยุติธรรมและสันติธรรม การปฏิรูประบบสุขภาพ การสร้างความสมดุลในการพัฒนา มีระบบการสื่อสารที่ทำให้เกิดการพัฒนาร่วมกันทั้งหมดเป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นสภาวะการเปลี่ยนผ่านภูมิปัญญาในมหาวิทยาลัยที่จะนำพาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้พ้นวิกฤติที่เกิดขึ้นได้

บรรณานุกรม

ภาษาไทย         

      ณรงค์ชัย  อัครเศรณี (2552). “มรดกทางวัฒนธรรมเชียงราย เมืองแห่งแกลลอรี่”.กรุงเทพธุรกิจ   17 กรกฎาคม  2552.

      ยุค  ศรีอาริยะ (2548). คลื่นปฏิวัติโลกใหม่สู่อารยธรรมไร้พรมแดน. กรุงเทพ.บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

      สินธุ์  สโรบล (2548). “กระบวนทัศน์วิจัยเพื่อท้องถิ่น”. เอกสารการสัมมนา กองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ภาษาอังกฤษ   

           Blanchard, Ken and et.al. (2008). Who Killed Change ?  Solving the Mystery of Leading People through Change. Harper Collins Publishers. U.S.A.


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://policyandethics.com/blog2/?p=32

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สวัสดีครับ



    ผมได้มีโอกาศสนทนากับท่านสวนางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดภูเก็ต และประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา มีหลายเรื่องที่ผมได้รับฟังทั้งเรื่อง เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ท่านมีวัตถุประสงค์เรื่องงบประมาณที่จังหวัดภูเก็ตควรได้รับไม่ใช้นับจากจํานวนประชากรเป็นหลักทําให้ภูเก็ตเสียโอกาสในการนํางบประมาณมาพัฒนาเกาะภูเก็ต ซึ้งต่างจาก เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่เคยมีการพูดถึงในสมัยหนึ่งจะเน้นในเรื่องการสร้างโรงงานซึ้งสวนทางกับการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตเเละเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันเเละยกเลิกไป เเละในสมัยนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. (Office of the National Economics and Social Development Board)ก็ยกเลิกเรื่องนี้ไป เละ ผมยังได้รับฟังอีกหลายเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อชาวจังหวัดภูเก็ตผมจะนํามาเล่าในโอกาศต่อไปครับ โอกาศหน้าผมจะนําเรื่องการร้องเรียนผ่านประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภาครับ ถ้าได้ฟังการทํางานของท่านเเล้วจะสังเกตุได้ว่าพูดเเบบไม่ต้องมีกระดาษย่อเลยครับเพราะท่านทําจริงครับ


                                                              ด้วยความเคารพเเละนับถือ
                                                              ชวนะ เกียรติชวนะเสวี  น.บ.
                                                              รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต