#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

แนวความคิด

เขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลชุดทักษิณ 1-2 มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะให้เกิดขึ้นในพื้นที่เกาะภูเก็ต เพราะเล็งเห็นว่าสามารถที่จะพัฒนาและดึงเม็ดเงินลงทุนได้อย่างมหาศาล การที่จะให้ต่างชาติเข้าลงทุนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เพื่อให้ยุ่งยากและรวบรัดโครงการมีความจำเป็นที่จะต้องมีบทเฉพาะกาล และกฎหมายรองรับ จึงเป็นที่มาของ พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษฉบับนี้ ที่ให้อำนาจแก่ผู้บริหารคนหนึ่งที่รัฐฯให้อำนาจปกครองและมีสิทธิขาดอย่างเต็มที่ ความไม่ชอบของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะให้อภิสิทธิ์แก่ กลุ่มทุน นักลงทุน ซึ่งท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ไม่มีสิทธิ์ที่จะโต้แย้ง และเข้าไปมีส่วนร่วม แถมยังเป็นการเลือกปฏิบัติและพัฒนาเฉพาะส่วนเท่านั้น ซึ่งภูเก็ตทั้งเกาะจะไม่สามารถแบ่งแยกได้ หรือเลือกที่จะพัฒนาเฉพาะส่วนได้

การเคลื่อนไหว

ผมไม่ช้าและนิ่งนอนใจ ผมเฝ้าติดตามประเด็นความคืบหน้าเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ผมพยายามหาแนวทางความคิดความเห็นในความไม่ชอบของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ในหลายแง่หลายมุมนำมาตีแผ่สู่สังคม โดยการออกให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นหลายฉบับ รวมทั้งการเข้าร่วมประชุมกับภาครัฐและคณะรัฐมนตรีที่ เดินทางมาติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง เบื้องตนผมรู้สึกคล้อยตาม เพราะเห็นด้วยในหลายส่วนของโครงการ แต่นั้นต้องหมายความว่าต้องพัฒนาภูเก็ตทั้งระบบ ซึ่งตรงนี้ชาวภูเก็ตจะได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ผมพยายามอย่างยิ่งที่จะผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด แต่ด้วยหลักการและเหตุผล พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ต่างอะไรเลยกับการกินรวบของนักลงทุนและการยื่นมีดให้โจรเข้ามาปล้นบ้านเรา ซึ่งผู้ที่จะเสียผลประโยชน์และได้รับผลกระทบจากโครงการเหล่านั้น คือคนในพื้นที่คือชาวภูเก็ตทุกคน ที่จะโดนเลือกปฏิบัติจากภาครัฐ และจะไม่ได้รับการเยียวยาจากการได้รับผลกระทบจากโครงการเหล่านั้นเลย

หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์ข่าวนี้

•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2548 ตั้งภูเก็ตเป็นเขตเศรษฐกิจออกแบบให้เหนือกว่ากทม.
•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2548 เขตเศรษฐกิจพิเศษ หวั่นกระทบอนาคต อิงประชาชนเป็นหลัก
•  น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 6-16 พฤศจิกายน 2548 ในคอลัมภ์รายงานพิเศษ
•  น.ส.พ.อันดามันโพสต์ ฉบับประจำวันที่ 20 ธันวาคม – 4 มกราคม 2549 เขตเศรษฐกิจพิเศษล่ม ดันศูนย์กลางเศรษฐกิจอันดามัน
•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2549สภาอุตฯลั่นไม่ได้เสนอเขตเศรษฐกิจ

บทสรุป

สำหรับโครงการนี้ ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในเบื้องต้น และยังไม่มีความคืบหน้าใด แต่ทั้งนี้รัฐบาลยังไม่ละความพยายามที่จะแฝงเร้นโครงการ ซึ่งล่าสุดยังได้พยายามผลักดันโครงการอ่าวภูเก็ต ขึ้นมาสานต่อโครงการ โดยในหลายโครงการมีความคลายคลึง กับ เขตเศรษฐกิจพิเศษ อยู่ไม่น้อย ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า โครงการนี้จะยังไม่จบลง ซึ่งจะต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่องถึงความเป็นไปได้ ในการกลับมาคืนชีพอีกครั้งของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ในอนาคตอันใกล้

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันกฏหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ
เขตเศรษฐกิจพิเศษภูเก็ตแค่การค้าและลงทุน
จับตามองอนาคตล้นเขตเศรษฐกิจพิเศษภูเก็ต
สาระสำคัญ ร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ
ดันภูเก็ตเป็นมหานครรองหอฯแนะรัฐบาลโชว์ศักยภาพท่องเที่ยว
โอ้ละพ่อ ! สภาอุตฯลั่นไม่ได้เสนอเขตเศรษฐกิจ สภาพัฒฯมึน ! รองหอฯเห็นด้วยดันภูเก็ตเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอันดามัน


จับตามองอนาคตล้นเขตเศรษฐกิจพิเศษภูเก็ต
ติดประกาศ Sunday 16 Oct 05 @ 10:39 โดย siangtai

เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่หลายฝ่ายกำลังจับจ้องถึ
งความสำคัญในหลายประเด็น และความเป็นมาเป็นไป รวมไปถึงผลดีและผลเสียในการใช้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้
นายชวนะ เกียรติชวนะเสวี รองประธารหอการค้า จ.ภูเก็ต กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าในที่ประชุ
มของนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนกลุ่ม 3 จังหวัดอันดามัน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการเตรียมการกับภาคเอกชนทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่มาก่อนแล้ว 2 ครั้งคือเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2548 และ 5 กันยายน 2548 โดยมี สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศ และองค์กรเอกชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งในที่ประชุมในครั้งนั้นได้มีการนำเสนอหลายประเด็น รัฐบาลเตรียมการจัดงานระลึกครบรอบ 1ปี สึนามิ ในวันที่ 26 ธันวาคม 2548 การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงาในส่วนที่ได้รับความเสียหายจากภัย

พิบัติในครั้งนั้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่
งอำนวยความสะดวกในการสนับสนุนภาคบริการ และการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอันดามัน การส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก การขยายการผลิตสัตว์น้ำมูลค่าสูงเพื่อการส่งออกในจังหวัดพังงา การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแบบบูรณการที่จังหวัดภูเก็ต และการส่งเสริมให้กลุ่มจังหวัดอันดามันเป็นเมืองวิจัยเพื่อสร้างคุณค่า ซึ่งหลายประเด็นที่ได้นำเสนอล้วนเป็นประเด็นเก่าที่เคยมีการพูดคุยกันอยู่แล้วในกลุ่ม 3 จังหวัดอันดามัน แต่มีเพียงประเด็นเดียวที่ซึ่งเป็นประเด็นใหม่และมีความน่าสนใจคือการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแบบบูรณการ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต สำหรับการนำเสนอของ กลุ่มเอกชนนั้น มีส่วนที่น่าสนใจคือ ไม่มีเหตุผลรองรับในการนำเสนอว่าจะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด มีเพียงว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะที่จะเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งรองรับการดำเนินการบริการระดับโลก และรวมไปถึงรองรับการเป็น International Trading Company เหมือนประเทศสิงค์โป แต่กลับกันเป็นว่ารัฐบาลให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ และมีมติรับทราบทุกโครงการที่มีการนำเสนอในวันที่ 5 กันยายน 2548 ทันทีในวันถัดมา ในที่ประชุมครม.สัญจรที่ฐานทัพเรือพังงาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 พร้อมทั้งส่งเรื่องนี้ไปยังสศช.รับไปศึกษาความเหมาะสมและพิจารณาเปลี่ยนชื่อใหม่


จากจุดนั้นเป็นต้นเหตุแห่
งการถกเถียงถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะนำมาบังคับใช้ ซึ่งมีอยู่หลายมาตราที่มีส่วนละเมิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะหยิบยกออกมาพูดคุยกันในมาตราที่สำคัญๆ ประกอบด้วย หมวด 2 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนที่ 1 มาตราที่ 16 เขตเศรษฐกิจพิเศษมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติใดๆ ซึ่งมองว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษมีอำนาจล้นพ้น ส่วนที่ 2 การได้มาซึ่งที่ดิน มาตราที่ 23 ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษถ้ามีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งที่ดินอสังหาริมทรัพย์อื่น ให้ดำเนินการโดยวิธีจัดซื้อ เช่าซื้อ เช่าระยะยาว แลกเปลี่ยน ถมทะเลหรือโดยวิธีการเวนคืน มาตราที่ 26 การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือใช้ประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้เช่าเป็นระยะคราวหนึ่งไม่น้อยกว่าห้าสิบปีแต่ไม่เกินเก้าสิบปี โดยไม่นำ มาตรา 540 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้ ซึ่งในส่วนนี้จากเดิม

มาตรา 540 เรื่องการเช่าให้เช่าได้ไม่เกิน สามสิบปีเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเป็นการเอื้
อประโยชน์มากเกิน มาตราที่ 27 การเช่า ให้เช่าช่วงหรือการเช่าช่วงที่ดินเนื้อที่เกินหนึ่งร้อยไร่ให้กระทำโดยไม่ต้องผ่านหรือได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมที่ดิน มาตราที่ 29 ในกรณีจำเป็นและสมควร เมื่อได้มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วว่ามีความเหมาะสม เขตฯสามารถถมทะเลเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินในการดำเนินการของเขตฯและในมาตราที่ 30 ในกรณีที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเข้าไปอยู่ในพื้นที่สงวน เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า เขตอุทยาน หรืออื่นใด ให้อำนาจผู้ว่าการเขตเศรษฐกิจพิเศษกำหนดมีอำนาจเข้าไปครอบครอง ซึ่งในส่วนนี้มองว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่มีหลักเกณฑ์ในการให้อำนาจ และมอบอำนาจไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียว ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญในการปกครอง และให้อภิสิทธิ์แก่กลุ่มคนบางกลุ่มในการดำเนินการใดๆ อันเป็นการขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง รวมไปถึงมาตรา 31 ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสามารถเข้าไปใช้พื้นที่สาธารณสมบัติได้เมื่อได้ชำระที่ดินแก่กระทรวงการคลังตามราคาประเมิน และให้ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินตกเป็นที่ดินของเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการได้ทันที ส่วนที่ 5 อำนาจของเขตเศรษฐกิจพิเศษ มาตราที่ 54 เขตเศรษฐกิจพิเศษสามารถรับแจ้ง อนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ รับจดทะเบียน ได้นอกเหนือจะเป็นคำสั่งอย่างอื่น ซึ่งจากเดิมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้เท่ากับเป็นการลิดรอนอำนาจของท้องถิ่น และขาดการมีส่วนร่วมของพื้นที่


ส่วนที่ 6 สิทธิพิเศษ มาตรา 62 ผู้ได้รับใบอนุญาตให้
ประกอบการหรืออยู่อาศัยในเขตเศรษฐกิจพิเศษอาจได้รับสิทธิพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง คือ สิทธิในการถือสิทธิที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นของคนต่างด้าว สิทธิ ในการนำคนต่างด้าวเข้ามาอยู่อาศัยในราชอาณาจักร และสิทธิในการนำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งในส่วนนี้เท่ากับว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าคนที่อยู่นอกเขต และยังสามารถดำเนินการใดโดยไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง และยังรวมไปถึงการนำเข้ามาจ้างงานของแรงงานต่างด้าว ที่ให้สิทธิพิเศษซึ่งอาจจะเข้ามาแย่งงานคนไทย และคนในพื้นที่อีกด้วย ในมาตราที่ 71 ในกรณีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือนำวัตถุดิบในราชอาณาจักร ในการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการขอหรือมีใบอนุญาตการประทับตราหรืเครื่องหมายใดๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีที่เขตฯกำหนด ซึ่งในส่วนนี้อาจจะมีการนำเข้าพืช GMO ซึ่งจะเป็นช่องว่างในการนำเข้าวัตถุดิบต้องห้ามในหลายจำพวกด้วย และยังมอบอำนาจให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นผู้ควบคุมดูแลซึ่งเท่ากับลดบทบาทหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ราชการที่มีส่วนในการตรวจสอบดูแล สิ่งที่ยังคงต้องวิตกกังวลต่อไปคือการนำร่าง พ.ร.บ.นี้เข้ามาบังคับใช้ในพื้นที่เมื่อใดและใช่เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ในส่วนของประเด็นที่เสนอให้มีการเปลี่ยนชื่อและหาชื่อใหม่ที่เหมาะสมกว่านั้นมองว่า การเปลี่ยนชื่อนั้นไม่ได้หมายความว่าจะไม่ใช้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงมองว่าการเปลี่ยนชื่อหรือไหมนั้นไม่ใช้ส่วนสำคัญแต่ความสำคัญอยู่ร่างพ.ร.บ.ที่จะมาบังคับใช้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษมากกว่า