#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553



 วันศุกร์ ที่ 16 กรกฎาคม 2553
เงื่อนปม: คดียุบพรรค ปชป."
    แม้ว่า "นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"และ" รัฐบาลประชาธิปัตย์" จะผ่านพ้นวิกฤตจากการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงและเหตุการณ์ความไม่สงบไปได้  
  แต่ก็ยังมี "ด่านสำคัญ"ที่ต้องฝ่าไปให้ได้ นั่นก็คือ "คดียุบพรรคประชาธิปัตย์" นั่นเอง
      เพราะว่า "คดียุบพรรค" สามารถชี้ชะตาถึงอนาคตของรัฐบาล รวมทั้ง "นายกฯอภิสิทธิ์" และ "คีย์แมนหลายๆคน" ของพรรคประชาธิปัตย์  เลยทีเดียว
     ซึ่ง "คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ " ขณะนี้มีอยู่ 2 คดี
     คดีแรก คือ คดีการใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์
โดยคดีนี้ กกต.ได้ยื่นคำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ต่อศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว และศาลนัดตรวจพยานหลักฐานวันที่ 28 ก.ค.และจะเริ่มต้นไต่สวนพยานปากแรกในวันที่ 9 ส.ค นี้
    คดีที่สอง คือ คดีที่ถูกกล่าวหาว่ารับเงินบริจาคจำนวน 258 ล้านบาทจากบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน )  ซึ่งคดีนี้อัยการเพิ่งยื่นคำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ต่อศาลรัฐธรรมนูญไปหมาดๆเมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา
สำหรับคดีการใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาท  เป็นการฟ้องร้องต่อกรรมการบริหารพรรคชุดปี 48 ที่มี "อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ "เป็นหัวหน้าพรรค และนายอภิสิทธิ์ ได้เซ็นรับรองบัญชีการใช้จ่ายเงินดังกล่าว หลังจากที่มารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อจากนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ที่ได้แสดงสปิริตลาออก หลังจากที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้พ่ายแพ้ให้กับพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งเมื่อปี 48     
ส่วนคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทจาก "ทีพีไอ" นั้น เป็นการฟ้องต่อกรรมการบริหารพรรคชุดที่มีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค และนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรคและนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรองหัวหน้าพรรค  
   ซึ่งในแง่ของ "รูปคดี" นั้น  หนึ่งใน "ทีมกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ในคดียุบพรรค " มองว่า คดีเงินกองทุนพัฒนาเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาท ง่ายกว่าคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทจากทีพีไอฯ
  และที่เหตุคดีเงินกองทุนฯ 29 ล้านบาท ไม่น่ากลัวสักเท่าไหร่ เนื่องจากเขามองว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำป้ายหาเสียงก่อนได้รับอนุญาตจาก กกต.เป็นเรื่องของขนาดป้าย และเป็นเรื่องของการยื่นบัญชีค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถชี้แจงได้
   อย่างเช่น การเปลี่ยนจากทำป้ายใหญ่เป็นป้ายเล็กก่อน กกต. อนุมัตินั้น  พรรคประชาธิปัตย์ก็สามารถชี้แจงได้ว่า  ได้มีการโทรศัพท์พูดคุยกับ กกต.เป็นการภายในก่อนแล้ว ซึ่ง กกต.บอกว่าทำได้ และต่อมา กกต. ก็ได้อนุมัติป้ายเล็กตามมาภายหลัง
   ส่วนเรื่อง "ขนาดป้าย"ที่ทำเล็กลงกว่าที่ กกต.กำหนด ประมาณ 10 ซม. นั้น  ก็สามารถชี้แจงได้ว่า ป้ายแต่ละล็อตมีขนาดไม่เท่ากัน และจำนวนป้ายที่ทำก็เท่าเดิม และจำนวนเงินของ กกต.ที่ใช้ก็เท่าเดิมคือ 29 ล้านบาท
    รวมถึงเรื่อง " อายุความ" ก็จะนำมาสู้ว่า คดีเงินกองทุน ฯ 29 ล้านบาท เกิดขึ้นเมื่อปี 2548 ซึ่งตามกฎหมายเมื่อเลือกตั้งเสร็จ  ถ้าปรากฏว่าการเลือกตั้งไม่ชอบ ใช้เงินไม่ชอบต้องร้องภายใน 180 วัน  แต่คดีนี้ได้เกินระยะเวลาดังกล่าวมานานมากแล้ว
แต่คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทจากทีพีไอนั้น มีความยากในรูปคดีกว่า ก็เพราะว่ามี "ตัวละคร " และมีการ "รับเงิน"  
กล่าวคือ มีตัวบุคคลบางคนได้รับเงิน ซึ่งถ้ามีการสืบและสาวไปถึงกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะทำให้พรรคตกที่นั่งลำบากแน่นอน
     แต่ในคดีนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์  ก็สามารถต่อสู้ได้ว่า คนที่รับเงินบริจาค 258 ล้านบาท ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพรรค ไม่ใช่กรรมการบริหารพรรค
แต่อาจมีความใกล้ชิดกับกรรมการบริหารพรรคบางคนและพรรคไม่รู้ว่าใครรับเงินบ้าง เพราะไม่ได้มีการแจ้งให้กรรมการบริหารพรรคทราบถึงการรับเงิน และไม่มีหลักฐานทางบัญชีว่ามีการนำเงินบริจาค 258 ล้านบาทเข้าพรรค และไม่มีการนำเงินดังกล่าวมาใช้ในการเลือกตั้ง
และอีกประเด็นหนึ่งที่จะนำมาต่อสู้คดีได้ ก็คือ  ที่กล่าวหาว่า ปชป. รับเงินทีพีไอนั้น แต่เมื่อดีเอสไอ เข้าไปสอบก็ไม่เห็นมีการสรุปออกมาว่าทีพีไอผิด อีกทั้งอัยการก็ได้สั่งไม่ฟ้องนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตผู้บริหารบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)
    ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่น่าผิดไปด้วยเนื่องจากเป็นคดีเกี่ยวเนื่องกัน เพราะเมื่อไปกล่าวหาว่านายประชัย เอาเงินออกมา แล้วเอาเงินไปใช้ในทางมิชอบ แต่การสั่งไม่ฟ้องนายประชัย ก็เท่ากับว่าไม่มีการนำเงินออกมา  แล้วพรรคประชาธิปัตย์จะไปรับเงินมาจากที่ไหน
   กล่าวคือ เมื่อยังไม่มีผู้ลักทรัพย์ แล้วจะมีผู้รับของโจรได้อย่างไร เพราะต้องปรากฏว่าทีพีไอผิดก่อน ไซฟ่อนเงินออกมา แล้วพรรคประชาธิปัตย์ไปรับเงินที่ไซฟ่อนจึงจะผิด ซึ่งประเด็นนี้จะนำมาใช้ในการซักค้านดีเอสไอในชั้นศาลด้วย
   อีกทั้งจะมีการต่อสู้ในประเด็นข้อกฎหมายว่า กระบวนการสอบสวนไม่ชอบ เนื่องจากทางพรรคประชาธิปัตย์มีเอกสารที่เป็นความเห็นของฝ่ายกฎหมายของ กกต. ระบุว่า นายทะเบียนพรรคการเมือง คือนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ต้องทำความเห็นก่อน
ซึ่งถ้านายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่าไม่ผิด ก็ยกคำร้องเรื่องก็จบ แต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่ายุบ ซึ่งการยุบพรรคการเมืองเป็นเรื่องใหญ่ นายทะเบียนฯจะยุบโดยลำพังไม่ได้ จึงต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุม กกต.
   ซึ่งคดีรับเงินบริจาคทีพีไอ 258 ล้านบาทนี้  นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ผิด  เรื่องก็ต้องจบแล้วโดยยกคำร้องไป
   แต่เนื่องจากมีแรงกดดันต่อนายอภิชาต อย่างมาก นายอภิชาต ไม่อยากรับผิดชอบคนเดียว จึงนำเรื่องเข้าที่ประชุม กกต.
   ซึ่งนายอภิชาต เพียงต้องการขอความเห็นชอบจาก กกต. ที่ตนเองยกคำร้องเท่านั้น ไม่ใช่ให้ที่ประชุม กกต.ลงมติแต่อย่างใด แต่ที่ประชุม กกต.กลับลงมติให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์และในที่ประชุม กกต. นายอภิชาต ก็ยังลงความเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ผิด
   อย่างไรก็ตาม นั่นก็เป็นเพียง "ยุทธวิธี" ในการต่อสู้คดีของพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญว่า จะเชื่อตามที่พรรคประชาธิปัตย์อ้างหรือไม่
   เพราะต้องบอกว่า คราวนี้ที่พรรคประชาธิปัตย์ถูกฟ้องยุบพรรคถึง 2 คดี หนักหนาสาหัสกว่าคดีแรกที่โดนฟ้องว่าใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ว่าได้ว่าจ้างผู้สมัครพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้ยกคำร้องไป  เนื่องจากทั้งสองคดีหลังนี้มีความยากในรูปคดีมากกว่า
  มิหนำซ้ำ..คราวนี้ยังต้องเผชิญกับการที่ทางพรรคไม่มีงบในการทำคดีนี้ จึงไม่มีเงินจ้างทนายความข้างนอกซึ่งมีฝีมือดีสักเท่าไหร่
    อย่างในคดีแรกทั้งที่คดีง่ายกว่า กับมีทนายความฝีมือดีมาทำคดีให้พรรคประชาธิปัตย์ชนิดเต็มทีม ทั้งทีมของสำนักงานทนายความเสนีย์ ปราโมช และของคนึง ฤาไชย แต่คราวนี้มีแค่นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ จากสำนักงานเสนีย์ ปราโมช มาช่วยคดีเพียงคนเดียวเท่านั้น
"ชะตากรรมของพรรคประชาธิปัตย์และรัฐบาลจะเป็นอย่างไร ?..คงทราบผลได้ในราวๆปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า"
ข้อมูล Oknation Blog Darknews   
ข้อกล่าวหา
1  ถ้าปรากฏว่าการเลือกตั้งไม่ชอบ ใช้เงินไม่ชอบต้องร้องภายใน 180    วัน  แต่คดีนี้ได้เกินระยะเวลาดังกล่าวมานานมากแล้ว
กกต.ภายใน 180 วันจากวันเลือกตั้งเมื่อปี 2548 ซึ่งอาจถือว่าขัด พ.ร.บ.พรรคการเมืองทั้งปี 2541 และปี 2550 เพราะเป็นการยื่นมาให้ กกต.สอบที่เกินเวลาการสอบสวนแล้วมิเช่นนั้นก็จะมีการย้อนหลังไปสอบสวนการเลือกตั้งเมื่อ 20 ปีก่อนหรือ ให้ยุบพรรคการเมืองในสมัยนั้น
2   เมื่อยังไม่มีผู้ลักทรัพย์ แล้วจะมีผู้รับของโจรได้อย่างไร
ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดรอง เป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดต่างๆ เช่น ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ เป็นต้น ฉะนั้นการจะดำเนินคดีกับผู้ต้องหาในความผิดฐาน รับของโจร ตาม ม.357 ของ ป.อาญา จำเป็นต้องมีความผิดหลักก่อน จึงสามารถดำเนินคดีในความผิดรอง
ผมยังมองไม่เห็นประเด็นที่จะยุบพรรคเลยครับ
จึงมีคําถามว่า     ทําไมกกตถึงต้องใช้เวลาในการให้การรับรองหลังจาก 180วัน นับจากวันเลือกตั้ง เเละเงิน29ล้านทําไมกกตถึงเป็นผู้อนุมัคิเเละตรวจสอบรับรองตั้งเเต่ปี2548
เเล้วถ้าข้าพเจ้าจะร้องกกตหลังจาก180วันนับจากวันเลือกต้้งกกคจะรับไม๊
การใช้เงินถ้ากกตไม่อนุมัติเเละไม่ตรวจสอบกกตจะรับรองไม็ผมว่ากลับมุมคิดในฐานะประชาชนคนหนึ่งในระบบประชาธิปไตย ผู้ให้ไม่มีเเล้วคนรับจะไปรับกับใคร