#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

ภาวะโลกร้อนจังหวัดภูเก็ต

แนวความคิด

เท่าที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า การเข้ามาของห้างต่างๆ นั้น ได้ก่อเกิดปัญหาหลายอย่าง เช่นการเอาเปรียบทางการค้า การกำหนดราคาต่ำกว่าท้องตลาด การใช้มาตรการทางการค้ากดดันการค้าของท้องถิ่น รวมไปถึงการทำประชาสัมพันธ์เชิงรุก ซึ่งห้างมีศักยภาพและมีเงินทุนอย่างมาก ตรงนี้สงผลต่อการทำธุรกิจพื้นฐานในชุมชน การผูกขาดการค้า ทำให้ร้านโซห่วยทยอยปิดตัวลง วัฒนธรรมบริโภคของของคนพื้นที่ของคนในชุมชนถูกทำลาย รวมไปถึงมลพิษ มลภาวะ และขยะฟุ่มเฟือยจากการบริโภคนิยม ของวัฒนธรรมต่างชาติ ยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนจากการจับจ่าย ในห้างแต่ละครั้งก่อเกิดขยะฟุ่มเฟือย 3 ชิ้น/คน ขยะฟุ่มเฟือยในที่นี้หมายถึง พลาสติก โฟม
วัสดุเป็นพิษเช่นวัสดุเคมีภัณฑ์ต่างๆ เราต้องตระหนักก่อนเลยว่าเราเป็นเมืองท่องเที่ยว เรามีนักท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวเป็นทุน เรามีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเรามีมรดกประเพณีวัฒนธรรมเป็นจุดแข็ง วันนี้สิ่งต่างเหล่านี้ กำลังได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างไม่รู้ตัวเรามีเตาเผาขยะ 1 แห่งที่ไม่มีกำลังพอที่จะจัดการกับขยะที่มีมากมายมหาศาลกว่า 700 ตัน/วันได้ เทศบาลนครฯภูเก็ตกำลังเร่งก่อสร้างอีกแห่งเพื่อรองรับกับปัญหานี้เช่นกัน นี้ก็เป้นความพยายามของท้องถิ่น อีกเช่นเคยกับการจัดการกับขยะฟุ่มเฟือยเราไม่มีที่ดินเพียงพอต่อการฝังกลบขยะเป็นพิษเหล่านี้ เราต้องใช้งบประมาณอีกเท่าไหร่ ในการจัดการกับขยะฟุ่มเฟือยเหล่านี้ หากอนาคตข้างหน้าไม่ว่าจะหันไปทางเห็นแต่กองขยะคงไม่มีนักท่องเที่ยวชาติไหนเดินทางเข้ามาภูเก็ตแน่นอน ฉะนั้นการท่องเที่ยวย่อมได้รับผลกระทบทันที

ผมเชื่อว่าในอนาคตเศรษฐกิจในทุกระดับ ก็จะได้รับผลกระทบตามๆ กัน วันนี้ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องร่วมมือกันสรรค์สร้างภูเก็ตให้กลับมาสวยงามมากยิ่งขึ้น มาร่วมมือกันปกป้องภูเก็ต ทำภูเก็ตให้สะอาดสดใส ด้วยสำนึกรักบ้านเกิดร่วมมือกันคนละไม้ละมือ ร่วมมือ เหมือนการจุดเทียนกันคนละเล่มจุดเป็นแสงสว่างให้ภูเก็ตการเคลื่อนไหว

วันนี้ผมเป็นเหมือนแสงเทียนดวงแรก คงยังไม่มีแสงสว่างพอที่จะทำให้ภูเก็ตกลับมาสวยงามเหมือนเดิมได้
หากแต่เพียงว่าวันข้างหน้าจะได้แห่งพลังของคนภูเก็ต ที่จะลุกขึ้นมาปกป้องภูเก็ต ลุกขึ้นมาทำความดีเพื่อภูเก็ต เอาใจใส่สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ปกป้องมรดกของเรา ไว้ให้กับลูกหลานเราต่อไป

การที่ผมออกมาแจกจ่ายถุงผ้าในครั้งนี้ จะไม่มีประโยชน์ใดเลยหากเราไม่ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา ปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหาวิกฤติโลกร้อนปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น นี้กำลังเป็นภัยคุกคามโลกของเรา และภัยที่เราชาวภูเก็ตกำลังเผชิญผมคิดว่าวันนี้ไม่มีแม้แต่เวลาที่คิดว่าจะเริ่มทำเมื่อไหร่แต่ ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังเสียที

นี่เป็นการส่งสัญญาณอีกครั้งไปยังนักลงทุน ห้างสรรพสินค้าต่างรวมถึงทุนข้ามชาติ ที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หากวันนี้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ เข้าใจว่าเราชาวภูเก็ตต้องการอย่างไร
ควรที่จะหันหน้าเข้ามาและแสดงจุดยืนร่วมกัน แสดงพลังร่วมกับเราชาวภูเก็ต รับผิดชอบภูเก็ต รับผิดปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วร่วมกันหาทางออกแนวทางแก้ไข เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกัน เพราะเราอยู่ร่วมกันได้
เราร่วมกันหันกลับมาใส่ใจภูเก็ต   วันนี้ผมแค่เริ่มต้นและสร้างจิตสำนึก ให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ห้างค้าปลีก ทุนข้ามชาติ นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ตของเราหันกลับมาตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมกันรับผิดชอบหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งเราสามารถอยู่ร่วมกันได้ ทำการค้าร่วมกันได้ไม่เอาเปรียบกัน หันกลับมาใส่ใจภูเก็ต ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลทรัพยากรที่เราใช้ร่วมกันและมีอยู่อย่างน้อยนิดให้ได้เกิดประโยชน์มากที่สุด รวมถึงการคงไว้สู่ลูกหลานของเราชาวภูเก็ตต่อไป

หนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวนี้

น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันที่ 31 สิงหาคม 2550
“ชวนะเดินหน้า ชวนชาวภูเก็ต แก้ปัญหาขยะล้นเมือง”

www.manageronline.com ลงบทความประจำวันที่ 29 สิงหาคม 2550 ส่วนภูมิภาค“รองปธ.หอฯภูเก็ตแจกถุงผ้ารณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติกกระตุ้นห้างยักษ์ใส่ใจปัญหาขยะ”

www.singtai.com ลงบทความประจำวันที่ 30 สิงหาคม 2550
“ชวนะเดินหน้าชวนชาวภูเก็ต แก้ปัญหาขยะล้นเมือง”

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผมมีความคิดว่าถึงแม้วันนี้ยังมองไม่ชัดเจนว่าโครงการนี้จะได้รับการยอมรับเพียงไร แต่ผมมีความพยายามเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ชาวภูเก็ตและทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน นักลงทุน รวมถึงห้างต่างๆ จะหันมาใส่ใจและตระหนักถึงปัญหาที่กำลังรุกลาม และส่อเคล้าว่าจะวิกฤติในอนาคตอันใกล้ ร่วมกันหาแนวทางป้องกัน
รวมถึงลดการเกิดขยะฟุ่มเฟือย ขยะเป็นพิษต่างๆให้ลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยต้นๆที่ทำให้โลกเผชิญกับสภาวะอากาศแปรปรวน โลกร้อน ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตผมจะเริ่มทำเดี่ยวนี้ เพราะไม่มีแม้แต่เวลาที่ผมจะคิดว่าจะเริ่มทำเมื่อไหร่ และผมเชื่อว่าโครงการนี้จะต้นแบบที่ดี ของหน่วยงานอื่นๆหรือประชาชนชาวภูเก็ต ที่จะหันกลับมาใส่ใจกับปัญหา ทั้งจะร่วมมือกันรณรงค์ให้เกิดการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังต่อไป ผมไม่เคยคาดหวังว่าจะได้รับอะไรจาการกระทำครั้งนี้ แต่สิ่งที่ผมหวังเป้นอย่างยิ่งว่า คงจะได้เห็นชาวภูเก็ตทุกคนร่วมมือกันปกป้องภูเก็ต ปกป้องมรดกของภูเก็ต ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต นั้นคือความปรารถนาเดียวของผมจากโครงการนี้
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผมจะได้เห็นและได้ร่วมเป็นส่วนของความสำนึกรักบ้านเกิดในครั้งนี้ด้วย

ประมวลภาพเหตุรณรงค์เเก้ปัญหาภาวะโลกร้อนจังหวัดภูเก็ต

ปรึกษา นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

ธุรกิจค้าปลีก

ธุรกิจค้าปลีก

แนวความคิด

ธุรกิจค้าปลีก เป็นการลงทุนอีกแขนงหนึ่งที่ผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการออก โปรโมชั่นต่างๆ รวมไปดึงกลยุทธในดึงดูดลูกค้า และยังได้รับผลกระทบจากการกำหนดราคาขายสินค้าที่ต่ำกว่าราคาท้องตลาด ซึ่งธุรกิจค้าปลีกเหล่านี้ยังมีอิทธิพลสูงต่อการจับจ่ายของคนในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการบริโภคสูง จะเห็นได้ว่า ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะเล็กๆ แต่กลับมีห้างสรรพสินค้ารายใหญ่เปิดให้บริการอยู่ทั่วไปในหลายพื้นที่ ยังไม่รวมร้านสะดวกซื้อ หรือ เอ็กเพรสมาร์ท และโมเดิร์นเรด อีกที่กำลังขยายสาขาให้บริการในหลายรูปแบบ ตรงนี้ยังส่งผลกระทบกับผู้ประกอบค้าปลีกชุมชน ซึ่งไม่สามารถที่จะแข่งขันกับกับห้างสรรพสินค้าได้ ทั้งยังต้องถูกรวมไปอยู่ในกลุ่มการตลาดของห้างนั้นๆด้วย และยังเป็นผู้บริโภคสินค้าของห้างอีกขั้นหนึ่ง ตรงนี้ทำให้ระบบการค้าและการแข่งขันถูกทำลาย ร้านค้ารายย่อยในชุมชนต่างปิดตัวลง จากผลกระทบเหล่านั้น ซึ่งนับวันการขยายสาขา และการใช้กลยุทธทางการตลาดจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น มีการเสนอขายสินค้าแบบผ่อนชำระ และเสนอขายสินค้าตรงถึงบ้าน ซึ่งเชื่อว่าอนาคตอันใกล้ ร้านค้าปลีกชุมชนหากไม่มีความเข้มแข็ง วิถีชีวิตของคนในชุมชนแบบเดิมจะถูกทำลาย และจะการเป็นชุมชนเมืองที่มีความนิยมบริโภคค่อนข้างสูง ซึ่งจะถูกห้างเหล่านี้ผูกขาดการขายสินค้า และกำหนดราคา โดยผู้บริโภคสินค้าพื้นฐานไม่สามารถเลือกสินค้าได้ ทั้งยังมีปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหาราจรติดขัด ปัญหามลภาวะเป็นพิษจากฝุ่นละอองฝุ่นควัน ในบริเวณห้างนั้นๆ

การเคลื่อนไหว

หลังจากได้ติดตามและเฝ้าดูสถานการณ์อยู่ในระยะหนึ่ง หอการค้าได้รับทราบถึงปัญหา โดยประธานหอการค้าได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามปัญหานี้โดยเฉพาะ ซึ่งในที่นั้นได้มอบให้ผมเป็นประธานคณะกรรมการค้าปลีก ซึ่งหลังจากนั้นผมได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯจ.ภูเก็ต โดยได้เรียกร้อง 4 ข้อหลัก คือให้ห้างจ่ายภาษีแก่ท้องถิ่น ให้ห้างสรรพสินค้าชะลอการขยายสาขาออกไปก่อน ให้รัฐสนับสนุนธุรกิจโซห่วยให้ให้ศักยภาพสามารถแข่งขันทางการตลาดได้ และให้รัฐจัดหาแหล่งเงินทุนให้กับธุรกิจค้าปลีกชุมชนเพื่อพัฒนาธุรกิจและร้านค้า หลังจากนั้นสื่อมวลทุกแขนงได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งในท้องถิ่นเองและในส่วนกลางออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งในขั้นต้อนก้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกฝ่าย

หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์ข่าวนี้

น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2550 ชวนะ หนุนโซห่วย ดันค้าปลีก
www.posttoday.com ลงบทความข่าวเด่น วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2550 ภูเก็ตจ้องรีดห้างค้าปลีก เก็บภาษีพัฒนาท้องถิ่น
www.thainews.prd.go.th สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ ลงบทความประวันที่ 4 พฤษภาคม 2550 หอการค้าภูเก็ต ค้านค้าปลีกข้ามชาติ ขยายสาขาเพิ่มที่ภูเก็ต
www.manager.co.th ผู้จัดการ ลงบทความประจำวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2550 หอฯ ภูเก็ตเพิ่งตื่นค้าปลีกข้ามชาติดันเสียภาษีท้องถิ่น-งดขยายสาขาเพิ่ม
www.komchadluek.net คมชัดลึก ภูมิภาค ลงบทความประจำวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2550 หอการค้าภูเก็ตค้านการขยายตัวห้างต่างชาติ จี้ให้เสียภาษีกับท้องถิ่น
www.thaiechamber.com หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ลงบทความประจำวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2550 หอฯภูเก็ตร้องผวจ.เก็บภาษีห้างรายใหญ่
www.bangkokbiznews.com กรุงเทพธุรกิจ ลงบทความประจำวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 หอการค้าภูเก็ต ร้องยักษ์ค้าปลีก จ่ายภาษีท้องถิ่น
น.ส.พ.ปักษืใต้ทูเดย์ ฉบับประจำวันที่ 1-16 มิถุนายน พ.ศ.2550 รองหอฯภูเก็ตต้านห้างฯ ขยะหนุนโซห่วย
น.ส.พ.อันดามันโพสต์ ฉบับประจำวันที่ 10-24 พฤษภาคม พ.ส.2550 เบรคค้าปลีกข้ามชาติ ห้ามขยายสาขาเพิ่ม ดันจ่ายภาษีท้องถิ่น
น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 25 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550 หอยื่นคำขาด คุมกำเนิดห้างใหญ่
น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 5-14 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ชวนะจี้ห้าง จ่ายภาษีคืนท้องถิ่น
น.ส.พ.ข่าวเศรษฐกิจธุรกิจ ฉบับประจำวันที่ 14-20 พฤษภาคมพ.ศ. 2550 ลูกเล่นหอภูเก็ต ขอห้างใหญ่เสียภาษีท้องถิ่น
น.ส.พ.ข่าวเศรษฐกิจธุรกิจ ฉบับประจำวันที่ 4-10 มิถุนายน พ.ศ. 2550
บทสรุป

สำหรับเรื่องนี้ ได้ข้อสรุปในเบื้องต้น ซึ่งห้างค้าปลีกต่างๆในพื้นที่ จะชะลอการขยายสาขาออกไปก่อน ในส่วนของการจ่ายภาษีให้กับท้องถิ่นนั้น ในส่วนนี้ห้างฯไม่ได้แสดงออกโดยชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องนี้ ซึ่งจำต้องติดตามต่อไปว่าจะดำเนินการได้อย่างต่อไป ในส่วนของความช่วยเหลือทางภาครัฐฯ กับโซห่วยทางผู้ว่าฯราชการจังหวัด จะเข้ามาช่วยดูแลในเบื้องต้น ซึ่งต้องร่วมมือกันหาทางช่วยเหลือ โดยเฉพาะหอการค้าคงจำเป็นที่จะต้องมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องนี้ต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

รองหอฯหนุนโซห่วย พัฒนาศักยภาพ
หอการค้าภูเก็ตเดินหน้า เรียกร้องให้ค้าปลีกรายใหญ่
หอการค้าภูเก็ตพึ่งตื่น
หอฯภูเก็ตเพิ่งตื่นต้านค้าปลีกข้ามชาติ จี้ ” เสียภาษีท้องถิ่น-งดขยายสาขาเพิ่ม ”
หอฯภูเก็ตร้องผวจ.เก็บภาษีห้างรายใหญ่
ประมวลภาพเหตุธุรกิจค้าปลีก








แนวความคิด โครงการอ่าวภูเก็ต

โครงการอ่าวภูเก็ต

แนวความคิด

โครงการอ่าวภูเก็ตเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ว่ากันว่า เป็นโครงการลูกหม้อของ เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพราะหลังจาก รัฐฯชุดทักษิณ 1-2 ไม่สามารถที่จะนำ พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ เข้ามาใช้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตได้ นักลงทุนต่างชาติยังรับลูกขุดโครงการอ่าวภูเก็ตที่เคยมีการสำรวจโครงการราวปี 2534 ซึ่งในขณะนั้นมีความพยายามที่จะเชื่อมโยงการค้ากันของฝั่งทะเลอ่าวไทยกับอันดามัน หรือโครงการ เซ้าร์เทิร์นซีบอร์ด กลับมาปัดฝุ่นใหม่ ในชื่อใหม่ว่าโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต แต่นัยยะสำคัญของโครงการต่างๆเหล่านั้นก็ยังเป็นเหมือนเหล้าเก่าในขวดใหม่เท่านั้นเอง มิหน่ำซ้ำกลับมีการนำเสนอโครงการบ่อนเสรี ให้คืนชีพอีกครั้ง โดยยังคงให้ความสำคัญกับ เอนเตอร์เทนเม้นคอมเพล็กซ์ อยู่เหมือนเดิม นี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความเคลือบแคลง สงสัยในความไม่ชอบมาพากลของโครงการนี้

การเคลื่อนไหว

เรื่องนี้ก็เป็นเหมือนเรื่องของ พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพราะการเดินหน้าโครงการไปในทิศทางเดียวกัน ว่ากันแล้วก็อาจจะเป็นโครงการเดียวกันก็เป็นได้ เพราะมีความพยายามอย่างสูงของนักลงทุนหลายกลุ่ม พยายามนำเสนอแนวทางการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีความสนใจเรื่องนี้อย่างยิ่งเพราะหากเกิดขึ้นจริง ผลประโยชน์ในโครงการนี้ ใครจะได้รับและใครคือผู้เสียผลประโยชน์ ความเคลือบแคลงสงสัยในตัวของโครงการ ทำให้ผมในฐานะรองประธานหอการค้า ได้พยายามที่จะชี้ให้รัฐบาลเห็นถึงจุดปกพร่องของโครงการในหลายส่วน ทั้งยังให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในหลายแขนงทั้งในส่วนกลางละท้องถิ่น ซึ่งโครงการนี้ถึงแม้หลายฝ่ายอาจมองว่าเป็นโครงการที่ดี แต่การลงทุนจะต้องมีฝั่งที่ได้รับผลประโยชน์และฝั่งที่เสียผลประโยชน์เสมอไป การลงทุนของนักลงทุนต้องหวังกำไรและหวังผลประโยชน์อย่างแน่นอน แต่โครงการนี้มาแปลกเพราะมีหลายส่วนผ่านมติ ครม.เรียบร้อย และล่าสุดเรื่องตกอยู่ที่ ( สคช.) ที่กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการออกกฎหมายรองรับ พ.ร.บ.ร่วมทุนของของนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุน และเจ้าภาพ ผมไม่ละความพยายามผมยังพยายามผลักดันให้เกิดการถ่วงดุลโดยเสนอให้รัฐทำประชาพิจารณ์ให้เป็นที่ยอมรับ ทำความเข้าใจกับประชาชนและให้ข้อมูลและข้อเท็จจริง ถึงโครงการและลักษณะโครงการ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา และโครงการจะเป็นในลักษณะใด ซึ่งก็ยังไม่มีความกระจ่างใดเกิดขึ้นหลังจากเกิดวิกฤติทางการเมืองจนมาถึงวันนี้

หนังสือพิมพ์ที่ลงตีพิมพ์ข่าวนี้

•  น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 6-16 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 แสนล้านภูเก็ตโผล่ ตามรอยสุวรรณภูมิ
•  น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 17-27 พฤศจิกายน พ.ศ.2548
•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ลุ้นพัฒนาภูเก็ต โครงการระดับบิ๊ก
•  น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 21-28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 คนภูเก็ตเฮเมกกะโปรเจ็กต์ผุด ชวนะมั่นใจโครงการดี ติงรัฐเตรียมพร้อมด้วย
•  น.ส.พ.ปักษ์ใต้ทูเดย์ ฉบับประจำวันที่ 2-16 มีนาคม พ.ศ.2549 หอออกโรงค้าน โปรเจ็กต์ 1.3 แสนล้าน
•  น.ส.พ.ปักษ์ใต้ ฉบับประจำวันที่ 5-20 มีนาคม พ.ศ.2549 หอฯออกโรงค้าน โปรเจ็กต์ 1.3แสนล้าน พัฒนาอ่าวภูเก็ต
•  น.ส.พ.ภูเก็ตนิวส์ ฉบับมติใต้ ประจำวันที่ 16-31 พฤษภาคม พ.ศ.2549 ค้านโปรเจ็กต์ 1.3 แสนล้าน พัฒนาอ่าวภูเก็ต แฝงบ่อน กาสิโน
•  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2065 ดันภูเก็ตเป็นมหานครรองหอฯแนะรัฐบาลโชว์ศักยภาพท่องเที่ยว
•  www.thannews.th.com ลงบทความประจำวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ดันภูเก็ตเป็นมหานครรองหอฯแนะรัฐบาลโชว์ศักยภาพท่องเที่ยว

บทสรุป

ปัจจุบันเรื่องตกอยู่ที่ สภาพัฒน์ และยังไม่มีความคืบหน้าใดของโครงการ ซึ่งยังไม่ทราบได้ว่าโครงการนี้จะยังสานต่อหรือไม่ ในรัฐบาลชุดหน้า ซึ่งอาจจะมีการทบทวนโครงการใหม่ทั้งหมด หรืออาจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป จึงต้องติดตามความคืบหน้าโครงการนี้ต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต
ดันภูเก็ตเป็นมหานคร
ผู้ว่าฯเร่งโครงการพัฒนา
พัฒนาอ่าวภูเก็ต
รองหอฯหวั่นโปรแจ็คอ่าวพัฒนาเฉพาะจุด
ประมวลภาพโครงการอ่าวภูเก็ต


http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=8276     โดย : ฐานเศรษฐกิจ        วันที่ 23/02/2006

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

แนวความคิด

เขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลชุดทักษิณ 1-2 มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะให้เกิดขึ้นในพื้นที่เกาะภูเก็ต เพราะเล็งเห็นว่าสามารถที่จะพัฒนาและดึงเม็ดเงินลงทุนได้อย่างมหาศาล การที่จะให้ต่างชาติเข้าลงทุนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เพื่อให้ยุ่งยากและรวบรัดโครงการมีความจำเป็นที่จะต้องมีบทเฉพาะกาล และกฎหมายรองรับ จึงเป็นที่มาของ พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษฉบับนี้ ที่ให้อำนาจแก่ผู้บริหารคนหนึ่งที่รัฐฯให้อำนาจปกครองและมีสิทธิขาดอย่างเต็มที่ ความไม่ชอบของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะให้อภิสิทธิ์แก่ กลุ่มทุน นักลงทุน ซึ่งท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ไม่มีสิทธิ์ที่จะโต้แย้ง และเข้าไปมีส่วนร่วม แถมยังเป็นการเลือกปฏิบัติและพัฒนาเฉพาะส่วนเท่านั้น ซึ่งภูเก็ตทั้งเกาะจะไม่สามารถแบ่งแยกได้ หรือเลือกที่จะพัฒนาเฉพาะส่วนได้

การเคลื่อนไหว

ผมไม่ช้าและนิ่งนอนใจ ผมเฝ้าติดตามประเด็นความคืบหน้าเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ผมพยายามหาแนวทางความคิดความเห็นในความไม่ชอบของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ในหลายแง่หลายมุมนำมาตีแผ่สู่สังคม โดยการออกให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นหลายฉบับ รวมทั้งการเข้าร่วมประชุมกับภาครัฐและคณะรัฐมนตรีที่ เดินทางมาติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง เบื้องตนผมรู้สึกคล้อยตาม เพราะเห็นด้วยในหลายส่วนของโครงการ แต่นั้นต้องหมายความว่าต้องพัฒนาภูเก็ตทั้งระบบ ซึ่งตรงนี้ชาวภูเก็ตจะได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ผมพยายามอย่างยิ่งที่จะผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด แต่ด้วยหลักการและเหตุผล พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ต่างอะไรเลยกับการกินรวบของนักลงทุนและการยื่นมีดให้โจรเข้ามาปล้นบ้านเรา ซึ่งผู้ที่จะเสียผลประโยชน์และได้รับผลกระทบจากโครงการเหล่านั้น คือคนในพื้นที่คือชาวภูเก็ตทุกคน ที่จะโดนเลือกปฏิบัติจากภาครัฐ และจะไม่ได้รับการเยียวยาจากการได้รับผลกระทบจากโครงการเหล่านั้นเลย

หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์ข่าวนี้

•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2548 ตั้งภูเก็ตเป็นเขตเศรษฐกิจออกแบบให้เหนือกว่ากทม.
•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2548 เขตเศรษฐกิจพิเศษ หวั่นกระทบอนาคต อิงประชาชนเป็นหลัก
•  น.ส.พ.เสียงทักษิณ ฉบับประจำวันที่ 6-16 พฤศจิกายน 2548 ในคอลัมภ์รายงานพิเศษ
•  น.ส.พ.อันดามันโพสต์ ฉบับประจำวันที่ 20 ธันวาคม – 4 มกราคม 2549 เขตเศรษฐกิจพิเศษล่ม ดันศูนย์กลางเศรษฐกิจอันดามัน
•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2549สภาอุตฯลั่นไม่ได้เสนอเขตเศรษฐกิจ

บทสรุป

สำหรับโครงการนี้ ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในเบื้องต้น และยังไม่มีความคืบหน้าใด แต่ทั้งนี้รัฐบาลยังไม่ละความพยายามที่จะแฝงเร้นโครงการ ซึ่งล่าสุดยังได้พยายามผลักดันโครงการอ่าวภูเก็ต ขึ้นมาสานต่อโครงการ โดยในหลายโครงการมีความคลายคลึง กับ เขตเศรษฐกิจพิเศษ อยู่ไม่น้อย ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า โครงการนี้จะยังไม่จบลง ซึ่งจะต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่องถึงความเป็นไปได้ ในการกลับมาคืนชีพอีกครั้งของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ในอนาคตอันใกล้

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันกฏหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ
เขตเศรษฐกิจพิเศษภูเก็ตแค่การค้าและลงทุน
จับตามองอนาคตล้นเขตเศรษฐกิจพิเศษภูเก็ต
สาระสำคัญ ร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ
ดันภูเก็ตเป็นมหานครรองหอฯแนะรัฐบาลโชว์ศักยภาพท่องเที่ยว
โอ้ละพ่อ ! สภาอุตฯลั่นไม่ได้เสนอเขตเศรษฐกิจ สภาพัฒฯมึน ! รองหอฯเห็นด้วยดันภูเก็ตเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอันดามัน


จับตามองอนาคตล้นเขตเศรษฐกิจพิเศษภูเก็ต
ติดประกาศ Sunday 16 Oct 05 @ 10:39 โดย siangtai

เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่หลายฝ่ายกำลังจับจ้องถึ
งความสำคัญในหลายประเด็น และความเป็นมาเป็นไป รวมไปถึงผลดีและผลเสียในการใช้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้
นายชวนะ เกียรติชวนะเสวี รองประธารหอการค้า จ.ภูเก็ต กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าในที่ประชุ
มของนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนกลุ่ม 3 จังหวัดอันดามัน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการเตรียมการกับภาคเอกชนทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่มาก่อนแล้ว 2 ครั้งคือเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2548 และ 5 กันยายน 2548 โดยมี สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศ และองค์กรเอกชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งในที่ประชุมในครั้งนั้นได้มีการนำเสนอหลายประเด็น รัฐบาลเตรียมการจัดงานระลึกครบรอบ 1ปี สึนามิ ในวันที่ 26 ธันวาคม 2548 การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงาในส่วนที่ได้รับความเสียหายจากภัย

พิบัติในครั้งนั้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่
งอำนวยความสะดวกในการสนับสนุนภาคบริการ และการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอันดามัน การส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก การขยายการผลิตสัตว์น้ำมูลค่าสูงเพื่อการส่งออกในจังหวัดพังงา การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแบบบูรณการที่จังหวัดภูเก็ต และการส่งเสริมให้กลุ่มจังหวัดอันดามันเป็นเมืองวิจัยเพื่อสร้างคุณค่า ซึ่งหลายประเด็นที่ได้นำเสนอล้วนเป็นประเด็นเก่าที่เคยมีการพูดคุยกันอยู่แล้วในกลุ่ม 3 จังหวัดอันดามัน แต่มีเพียงประเด็นเดียวที่ซึ่งเป็นประเด็นใหม่และมีความน่าสนใจคือการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแบบบูรณการ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต สำหรับการนำเสนอของ กลุ่มเอกชนนั้น มีส่วนที่น่าสนใจคือ ไม่มีเหตุผลรองรับในการนำเสนอว่าจะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด มีเพียงว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะที่จะเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งรองรับการดำเนินการบริการระดับโลก และรวมไปถึงรองรับการเป็น International Trading Company เหมือนประเทศสิงค์โป แต่กลับกันเป็นว่ารัฐบาลให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ และมีมติรับทราบทุกโครงการที่มีการนำเสนอในวันที่ 5 กันยายน 2548 ทันทีในวันถัดมา ในที่ประชุมครม.สัญจรที่ฐานทัพเรือพังงาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 พร้อมทั้งส่งเรื่องนี้ไปยังสศช.รับไปศึกษาความเหมาะสมและพิจารณาเปลี่ยนชื่อใหม่


จากจุดนั้นเป็นต้นเหตุแห่
งการถกเถียงถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะนำมาบังคับใช้ ซึ่งมีอยู่หลายมาตราที่มีส่วนละเมิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะหยิบยกออกมาพูดคุยกันในมาตราที่สำคัญๆ ประกอบด้วย หมวด 2 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนที่ 1 มาตราที่ 16 เขตเศรษฐกิจพิเศษมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติใดๆ ซึ่งมองว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษมีอำนาจล้นพ้น ส่วนที่ 2 การได้มาซึ่งที่ดิน มาตราที่ 23 ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษถ้ามีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งที่ดินอสังหาริมทรัพย์อื่น ให้ดำเนินการโดยวิธีจัดซื้อ เช่าซื้อ เช่าระยะยาว แลกเปลี่ยน ถมทะเลหรือโดยวิธีการเวนคืน มาตราที่ 26 การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือใช้ประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้เช่าเป็นระยะคราวหนึ่งไม่น้อยกว่าห้าสิบปีแต่ไม่เกินเก้าสิบปี โดยไม่นำ มาตรา 540 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้ ซึ่งในส่วนนี้จากเดิม

มาตรา 540 เรื่องการเช่าให้เช่าได้ไม่เกิน สามสิบปีเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเป็นการเอื้
อประโยชน์มากเกิน มาตราที่ 27 การเช่า ให้เช่าช่วงหรือการเช่าช่วงที่ดินเนื้อที่เกินหนึ่งร้อยไร่ให้กระทำโดยไม่ต้องผ่านหรือได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมที่ดิน มาตราที่ 29 ในกรณีจำเป็นและสมควร เมื่อได้มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วว่ามีความเหมาะสม เขตฯสามารถถมทะเลเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินในการดำเนินการของเขตฯและในมาตราที่ 30 ในกรณีที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเข้าไปอยู่ในพื้นที่สงวน เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า เขตอุทยาน หรืออื่นใด ให้อำนาจผู้ว่าการเขตเศรษฐกิจพิเศษกำหนดมีอำนาจเข้าไปครอบครอง ซึ่งในส่วนนี้มองว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่มีหลักเกณฑ์ในการให้อำนาจ และมอบอำนาจไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียว ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญในการปกครอง และให้อภิสิทธิ์แก่กลุ่มคนบางกลุ่มในการดำเนินการใดๆ อันเป็นการขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง รวมไปถึงมาตรา 31 ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสามารถเข้าไปใช้พื้นที่สาธารณสมบัติได้เมื่อได้ชำระที่ดินแก่กระทรวงการคลังตามราคาประเมิน และให้ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินตกเป็นที่ดินของเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการได้ทันที ส่วนที่ 5 อำนาจของเขตเศรษฐกิจพิเศษ มาตราที่ 54 เขตเศรษฐกิจพิเศษสามารถรับแจ้ง อนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ รับจดทะเบียน ได้นอกเหนือจะเป็นคำสั่งอย่างอื่น ซึ่งจากเดิมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้เท่ากับเป็นการลิดรอนอำนาจของท้องถิ่น และขาดการมีส่วนร่วมของพื้นที่


ส่วนที่ 6 สิทธิพิเศษ มาตรา 62 ผู้ได้รับใบอนุญาตให้
ประกอบการหรืออยู่อาศัยในเขตเศรษฐกิจพิเศษอาจได้รับสิทธิพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง คือ สิทธิในการถือสิทธิที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นของคนต่างด้าว สิทธิ ในการนำคนต่างด้าวเข้ามาอยู่อาศัยในราชอาณาจักร และสิทธิในการนำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งในส่วนนี้เท่ากับว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าคนที่อยู่นอกเขต และยังสามารถดำเนินการใดโดยไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง และยังรวมไปถึงการนำเข้ามาจ้างงานของแรงงานต่างด้าว ที่ให้สิทธิพิเศษซึ่งอาจจะเข้ามาแย่งงานคนไทย และคนในพื้นที่อีกด้วย ในมาตราที่ 71 ในกรณีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือนำวัตถุดิบในราชอาณาจักร ในการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการขอหรือมีใบอนุญาตการประทับตราหรืเครื่องหมายใดๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีที่เขตฯกำหนด ซึ่งในส่วนนี้อาจจะมีการนำเข้าพืช GMO ซึ่งจะเป็นช่องว่างในการนำเข้าวัตถุดิบต้องห้ามในหลายจำพวกด้วย และยังมอบอำนาจให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นผู้ควบคุมดูแลซึ่งเท่ากับลดบทบาทหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ราชการที่มีส่วนในการตรวจสอบดูแล สิ่งที่ยังคงต้องวิตกกังวลต่อไปคือการนำร่าง พ.ร.บ.นี้เข้ามาบังคับใช้ในพื้นที่เมื่อใดและใช่เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ในส่วนของประเด็นที่เสนอให้มีการเปลี่ยนชื่อและหาชื่อใหม่ที่เหมาะสมกว่านั้นมองว่า การเปลี่ยนชื่อนั้นไม่ได้หมายความว่าจะไม่ใช้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงมองว่าการเปลี่ยนชื่อหรือไหมนั้นไม่ใช้ส่วนสำคัญแต่ความสำคัญอยู่ร่างพ.ร.บ.ที่จะมาบังคับใช้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษมากกว่า 

ทําไมผมคัดค้าน กาสิโน

กาสิโน

แนวความคิด

ครั้งแรกผมรู้สึกตกใจหลังได้อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ที่มีการลงตีพิมพ์ ตอนหนึ่งว่า มีนักลงทุนต่างชาติเข้าพบผู้ว่าราชการฯจ.ภูเก็ต โดยเสนอแนะให้มีการจัดตั้งเอนเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์หรือกาสิโน ยังรวมไปถึงศุนย์ประชุมนานาชาติ ท่าเทียบเรือสำราญ ร้านค้าปลอดภาษีและบริการต่างๆอย่างครบครัน เพียงไม่นานจากนั้นผมยังได้เฝ้าติดตามความคืบหน้าต่างๆของประเด็นนี้ และยังทราบว่า ม.วิทยาลัยมีชื่อแห่งหนึ่งในพื้นที่ จ.ภูเก็ตได้นำร่องเปิดสอนหลักสูตรกาสิโนด้วย เพื่อรองรับและตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้โดยเฉพาะ

การเคลื่อนไหว

ผมจึงบอกกับตัวเองว่า ผมต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งแล้ว ! ผม ในฐานะปรานคณะกรรมการปกครอง ผมไม่รอช้า นำเรื่องนี้เข้าสู่สภา อบจ.ภูเก็ต ทันที เพียงไม่นานจากวันนั้น ประธานสภาฯได้มีคำสั่งแต่ตั้งคณะทำงาน เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวในเรื่อง กาสิโนนี้โดยเฉพาะ ผมมีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย แห่งนั้นถึงแนวความคิด และวิธีการสอนว่ามีความเหมาะสมเพียงได และยังได้สะท้อนความรู้สึกต่างๆที่ผมมีออกผ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหลายฉบับ ระยะเวลาแค่ 1 สัปดาห์เรื่องนี้ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนานาถึงความเหมาะ มีทั้งฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ส่วนตัวผมแล้ว ไม่อยากจะเห็นการทำลายวัฒนธรรมไม่อยากเห็นความชั่วร้ายของอบายมุขทำลายประชาชนคนภูเก็ต และยังทำลายภูเก็ต ผมลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของคนภูเก็ตที่จะโดนรัฐฯเอาเปรียบ โดยไม่ฟังเสียงจากคนในพื้นที่ไม่ได้ ผมไม่อยากเห็นการจุดไฟเผาบ้านตนเอง อย่างที่ว่าไฟไหม้ 10 ครั้งยังไม่เท่าเล่นการพนัน

หนังสือพิมพ์ที่ลงตีพิมพ์เกี่ยวกับข่าวนี้

•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2548 “ชวนะ” หวั่นอนาคตยช.หลักสูตร “คาสิโน”
•  น.ส.พ.ข่าวเศรษฐกิจธุรกิจ ฉบับที่ 868 ประจำวันที่ 23-29 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 ในคอลัมภ์ เรื่องของคน ชวนะสุดเซ็ง ! กาสิโน
•  น.ส.พ.ก้องฟ้า ฉบับที่ 12 วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2548
•  น.ส.พ.เสียงใต้รายวัน ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2548 ผุดกาสิโน ดาบสองคม ชี้รัฐฟังเสียงประชาชน

บทสรุป

หลังจากที่มีการเคลื่อนไหวอย่างกว้างขวาง รวมทั้งไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดและจุดดีของหลักสูตรนี้ได้ และยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการอย่างกว้างขวาง จึงได้มีการถอดถอนหลักสูตรนี้ออกจากมหาลัย และไม่มีการเปิดสอนหลักสูตรนี้อีก สำหรับโครงการนี้ ก็ได้ยุติไปด้วย เพราะการสำรวจความคิดเห็นเบื้องต้นของประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเปิดบ่อนเสรีในประเทศยังขัดแย้งต่อข้อกฎหมาย และศีลธรรมอันดี นับเป็นชัยชนะหนึ่งของชาวภูเก็ตทุกคนครั้งหนึ่งเลยทีเดียว

บทความที่เกี่ยข้อง

บทนำ
สจ ชวนะ ห่วงรากฐานความคิดเด็ก ต่อ หลักสูตร คาสิโนเเละเกมส์ การเล่น
หลักสูตร " กาสิโน " มอ . ภูเก็ต - ปูทางบ่อนถูกกฎหมายในไทย !?