#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สภาวะการเปลี่ยนผ่านภูมิปัญญาในมหาวิทยาลัย




ผู้เขียน ดร.บวร ประพฤติดี และ รศ.ดร.ทิพาพร พิมพิสุทธิ์ ท่านทั้งสองเป็นอาจารย์ที่สอนปริญญาเอกผมที่มหาวิทยาลัยรามคําเเหงที่ผมเคารพเเละนับถืออย่างสูง
บทนํา
      มหาวิทยาลัยเป็นที่รวมของนักวิชาการและนักวิจัย ซึ่งสั่งสมความรู้ ประสบการณ์จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ เผยแพร่และจัดการความรู้เพื่อพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นผู้นำทางความคิดและจริยธรรม นำสังคมสู่การแก้ไขปัญหา เป็นตัวแบบของสังคมแห่งการปฏิบัติ และเป็นที่สนับสนุนพัฒนานักวิชาการและนักวิจัย มหาวิทยาลัยจึงเป็นสถาบันนำการเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยนักวิชาการที่มีความรู้และคุณธรรม เพื่อสร้างคนดีและสร้างสังคมชุมชนที่ดี ในกรอบของบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยคือ การเรียนการสอน การวิจัย การให้บริการชุมชน และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

      มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้เกิดการศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงและผลที่เกิดขึ้นเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่จะนำมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหา ทำให้เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เกิดองค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาวิจัย เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตของวิถีนักวิชาการในมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถนำศักยภาพและสติปัญญาสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้มหาวิทยาลัย สังคมชุมชน และนักวิชาการได้ตลอดเวลา บทบาทของมหาวิทยาลัยจึงไม่มีขอบเขตจำกัด เพราะองค์ความรู้ที่สั่งสมมากคณานับ และเป็นฐานรากที่สำคัญในทุกกิจกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าและมูลค่าให้แก่มหาวิทยาลัยและสังคม

    คำถามที่ตามมาคือ มหาวิทยาลัยควรมีบทบาทและหน้าที่อย่างไรในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อสภาวะการเปลี่ยนผ่านภูมิปัญญาในมหาวิทยาลัยอย่างไรทั้งในปัจจุบันและอนาคต การเปลี่ยนแปลงบทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน

      ในระยะเวลา 40 ปี ที่ผ่านมาบทบาทของมหาวิทยาลัยได้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยภายในประเทศและการเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัยภายนอกประเทศในระยะต่อมา บทบาทของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษามีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่พัฒนาการมาจากประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงบริบทของสังคมการเมืองในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน บทบาทมหาวิทยาลัยจึงมาจากการรังสรรค์ของผู้นำสังคมและนักวิชาการในขณะนั้น  เป็นการระเบิดออกมาจากภายในของผู้บริหาร และนักวิชาการของแต่ละสถาบันเพื่อสร้างคนดี และสังคมดี กระบวนทัศน์การพัฒนาการศึกษาแม้ว่ายังเป็นไปตามแนวคิดตะวันตก แต่ฐานคิดแบบตะวันออก บริบทของสังคม ประวัติศาสตร์และหลักจริยธรรม ยังคงเป็นรากแก้วที่ทำให้ผู้ศึกษาได้รู้รากเหง้าของสังคมไทยและสังคมตะวันออก ครู อาจารย์ผู้สอนเป็นแบบอย่างที่ดี ที่คิดดี ทำดี และสอนดีทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากครู อาจารย์อย่างประจักษ์ชัดตลอดเวลาที่ศึกษาถึงการเป็นคนดีของสังคม ครู อาจารย์จึงเป็นต้นแบบของคนดีแก่ผู้ศึกษา เป็นต้นแบบทางจริยธรรมที่ต้องใช้เวลาหล่อหลอมเพราะเป็นกระบวนการเรียนรู้ทั้งทางความคิด ปัญญา และจิตวิญญาณ ในระยะเริ่มแรกของการตั้งสถาบันการศึกษาจึงอยู่บนฐานของวัฒนธรรมตะวันออกที่ปรับใช้กับภูมิปัญญาตะวันตก

      ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ผู้นำประเทศไทยได้นำพาสังคมไทยสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม การสร้างความทันสมัย การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยสำคัญในการหล่อหลอมกระบวนทัศน์การพัฒนาของนักวิชาการไทย บทบาทนักวิชาการจึงเป็นไปตามวาทกรรมการพัฒนาแบบตะวันตกไร้ภูมิปัญญาไทยและตะวันออก นักสังคมศาสตร์จึงเป็นผลผลิตจากการศึกษาในกรอบตะวันตก ซึ่งให้ความสำคัญต่อแนวคิดทฤษฎี การค้นคว้าหาข้อมูลตัวเลข แปลงคุณค่าและชีวิตเป็นมูลค่าและไม่มีชีวิต พิสูจน์ ทดลอง ศึกษาแบบแยกส่วน เน้นการผลิตวัตถุและการบริโภค เงินสำคัญกว่าชีวิตผู้คน การพัฒนาประเทศเป็นไปตามกรอบวิชาการทฤษฎีตะวันตก ทิ้งภูมิปัญญาตะวันออกที่ให้ความสำคัญต่อมนุษย์และธรรมชาติ ทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ไม่แยกส่วน มีภูมิปัญญาแบบบูรณาการ เห็นคุณค่าธรรมชาติ มุ่งสังคมสงบ และสันติสุข

      ในสังคมตะวันตกปัญญาชนเห็นผลกระทบจากการปฏิวัติระบบทุนโลกทำให้เกิดวิกฤติทางสังคม และสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา อารยธรรมอุตสาหกรรมโลกทุนนิยมเป็นรากของวิกฤติที่เกิดขึ้นตามมา และนำไปสู่การแก้ปัญหาของกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบเดิมคือ การพัฒนาแบบยั่งยืนโดยปัญญาชนในประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนเป็นการปฏิวัติทางสังคมและชุมชนแบบใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ทำให้เกิดขบวนการรากหญ้า การเมืองสีเขียว และชุมชนยั่งยืน และทำให้เกิดชุมชนและองค์กรชุมชนมากมายทั่วโลก เช่น องค์กรชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านภูมิปัญญา ด้านการศึกษานอกระบบ เป็นต้น

      วิกฤติที่รวมศูนย์หลายด้าน เป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาใหม่ตามมา เช่น การศึกษานอกระบบ และตามอัธยาศัย วิทยาลัยชุมชน มหาวิทยาลัยชุมชน แหล่งเรียนรู้หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชน มีโรงเรียนแบบบูรณาการ ภูมิปัญญาแบบบูรณาการ และหลักสูตรบูรณาการเป็นสหวิทยาการ ที่สำคัญพลังชุมชนมีบทบาทและความสำคัญในการพัฒนา ขณะที่องค์กรภาครัฐมีบทบาทและอำนาจลดลง จะเห็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและชุมชนมีเพิ่มขึ้นในมิติของการพัฒนา เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษามีแนวโน้มลงสู่ชุมชนมากขึ้น ดังจะเห็นจากบทบาทของมหาวิทยาลัยเริ่มเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาสังคมชุมชนมากขึ้น เมื่อรัฐบาลไทยกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนำไปสู่การสร้างความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมระหว่างเมืองและชนบท ปัญหาจากการพัฒนาเศรษฐกิจมิติเดียวทำให้ขาดสมดุลในการพัฒนาสังคมไทย และเพิ่มความสลับซับซ้อนของปัญหา หลายมหาวิทยาลัยจึงต้องการศึกษาวิจัยและแสวงหาต้นแบบของการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนและสมดุลมากกว่าการพัฒนาที่เน้นมิติใด มิติหนึ่งเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากโครงการความร่วมมือของสามมหาวิทยาลัยคือ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับชุมชนลุ่มน้ำแม่กลอง ในการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการหาต้นแบบการพัฒนาชุมชน โดยอาจารย์ป๋วย  อึ้งภากรณ์ เป็นผู้อำนวยการโครงการร่วมกับนักวิชาการของสามมหาวิทยาลัยลงไปศึกษาวิจัยร่วมกัน เมื่อปี พ.ศ. 2516 ที่อำเภอแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม

      แนวคิดของนักวิชาการดังกล่าวอยู่บนฐานคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน คำนึงถึงวิถีชีวิตชุมชน ทุนทางสังคม สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา และวิธีการบริหารจัดการจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน โดยกระบวนการมีส่วนร่วม แม้จะพบปัญหาอุปสรรค และบางกิจกรรมไม่ประสบผลสำเร็จแต่เป็นบทเรียนสำหรับการเรียนรู้ของนักวิชาการในการพัฒนาชุมชนต่อไป แนวคิดดังกล่าวนำไปสู่การสร้างชุมชนที่พึ่งตนเองได้ สามารถผลิตและบริโภคสินค้าที่เป็นของท้องถิ่นที่มีคุณภาพและเป็นธรรมชาติ หลายชุมชนที่เป็นชุมชนแห่งการปฏิบัติ บนฐานคิดเดียวกันนี้จะเห็นว่า เงินตราลดความสำคัญลง ระบบเงินตราชุมชนมีอำนาจเหนือเงินตราของรัฐและของนายทุน เช่นกรณีชาวตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ได้รวมตัวจัดตั้งกลุ่มเบี้ยกุดชุมและผลิตเงินตราชุมชนในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการภายในชุมชน แต่ใช้ได้ไม่นานก็ถูกทางภาครัฐเข้ามาตรวจสอบและอ้างว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติ เพราะผลิตเงินตราขึ้นใช้เอง ผิด พ.ร.บ. เงินตรา 2501 และห้ามใช้คำว่าเบี้ยกุดชุมต่อไป การกระทำของแบงก์ชาตินั้นได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการทำลายความเข้มแข็งของชุมชน นวัตกรรมของชุมชนดังกล่าวเป็นแนวคิดที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายของชาวบ้านจากการเปลี่ยนเป็นสังคมแห่งการบริโภค และต้องการให้สมาชิกชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เป็นการปฏิวัติด้านภูมิปัญญาของชุมชนตำบลนาโส่ บทเรียนจากกรณีการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลองของสามสถาบันเป็นเช่นเดียวกันกับตำบลนาโส่คือ ภาครัฐไม่สนับสนุนแนวคิดการพัฒนาที่มาจากภาคประชาชน ช่องว่างทางความคิดของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยกับข้าราชการท้องถิ่นเป็นปัญหาในการทำงานในพื้นที่และการพัฒนาที่ทำให้ประชาชนคิดเป็นทำเป็น พึ่งพาตนเองได้ เป็นการท้าทายความคิดของข้าราชการที่เป็นแนวดิ่ง จึงทำให้โครงการหยุดการดำเนินการศึกษาวิจัยและปฏิบัติการในพื้นที่ เมื่อปี พ.ศ. 2519

      ดังนั้นแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาของไทยในมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นมานานกว่า 36 ปีโดยนักวิชาการในมหาวิทยาลัย และผู้นำทางความคิดในการนำมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน เช่นอาจารย์ป๋วย  อึ้งภากรณ์ และอาจารย์เสน่  จามริก เป็นต้น เป็นกระบวนทัศน์การพัฒนาที่เริ่มจากปัญหาของชุมชนในพื้นที่เป็นตัวตั้ง โครงการวิจัยจะรองรับปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยนักวิชาการได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา เป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการมีส่วนร่วมดังกล่าว ทำให้เกิดกิจกรรมในทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์และแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างแท้จริง การทำงานของนักวิชาการทั้งสามมหาวิทยาลัย เป็นการบูรณาการทางความคิดและปัญญาในการแก้ปัญหาทั้งด้านสุขภาวะโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ด้านสังคมโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และด้านการเกษตรโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้นแบบที่นำมหาวิทยาลัยสู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  แต่ข้อจำกัดคือ ข้าราชการและนักพัฒนาในภาครัฐไม่สามารถบูรณาการทางความคิด และการทำงานร่วมกันกับนักวิชาการ ไม่สามารถเปลี่ยนกระบวนทัศน์เดิม โดยเอาปัญหาเป็นตัวตั้ง เน้นที่กระบวนการพัฒนาคนและเชื่อมโยงกิจกรรมหลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน อาศัยการเรียนรู้ของชุมชนเป็นเครื่องนำทาง เป็นกระบวนการวิจัยแบบเน้นการเชื่อมโยง ถักทอ ระหว่างงานวิจัย งานพัฒนา และการจัดการความรู้และภูมิปัญญาของท้องถิ่นไปพร้อมกันแบบบูรณาการ เป็นกระบวนทัศน์เชิงบูรณาการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ถึงแม้ว่ามีปัญหาและอุปสรรคในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลองดังกล่าว แต่เป็นองค์ความรู้ที่นักวิชาการได้เรียนรู้และเป็นต้นแบบของการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยลงสู่ชุมชน เมื่อ 36 ปีที่ผ่านมา

      บทเรียนดังกล่าวทำให้เกิดการเรียนรู้ถึงงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมรากฐานเดิมของชุมชนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น เป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เป็นการสืบทอดวัฒนธรรม และความเชื่อของท้องถิ่นให้เกื้อกูลและยั่งยืน ช่วยเสริมการจัดการฐานทรัพยากรของชุมชนให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของเครือข่ายชุมชนที่มีอยู่แล้วให้สามารถจัดการกับปัญหาของตนเองได้ดีขึ้น เป็นการสะท้อนภาพคุณค่าแห่งการพัฒนาท้องถิ่นที่แท้จริง เป็นการเปลี่ยนผ่านบทบาทของมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2516 – 2519 เป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของมหาวิทยาลัยที่มองเห็นการณ์ไกล รองรับการเปลี่ยนแลงของโครงสร้างระบบโลกที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้นอีก 10 ปี หากโครงการประสบความสำเร็จจะเป็นต้นแบบสำหรับการสร้างชุมชนเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ให้เต็มพื้นที่สังคมไทย เป็นการสร้างความเข้มแข็งของฐานราก เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีต่อวิกฤติซ้อนวิกฤติที่เกิดขึ้น

สภาวะการเปลี่ยนผ่านภูมิปัญญาและวิถีวัฒนธรรมชุมชนโลก

      การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เห็นความสำคัญของกลุ่มพลังประชาชนจากหลากหลายประเทศทั่วโลกกว่า 50,000 คน มีทั้งกลุ่มกรรมกร ชาวนา NGO กลุ่มศาสนา และชาวบ้านเข้าร่วมต่อต้าน WTO ที่เมือง Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2542 จนทำให้การประชุมต้องยุติลง และองค์กรชาวบ้านได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วระหว่างปี พ.ศ. 2534 – 2543 แพร่กระจายไปทั่วโลกนับเป็นล้านๆ องค์กร ทุกปีจะมีการประชุมเวทีระดับโลก เรียกว่า World Social Forum เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา เป็นเวทีสากลเชื่อมประสานพลังประชาชนทั่วโลกเรียกร้องให้มีการปกป้องสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาหนี้ในโลกที่สาม ประณาม World Bank และIMF ต่อต้านกระแสครอบโลกแบบโลกาภิวัตน์ และการก่อสงครามรุกรานของสหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นการปฏิวัติทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ และที่สำคัญคือ การปฏิวัติด้านภูมิปัญญา เปลี่ยนวิถีคิด การเรียนรู้จากวิกฤติระบบโลก นำไปสู่การเกิดของระบบโครงสร้างที่กระจายตัวไปทั่วโลก เป็นการเกิดใหม่ของชุมชนเล็กๆ องค์กรนอกระบบในประเทศพัฒนาแล้วหันกลับไปศึกษาวิถีวัฒนธรรมชุมชน และความรู้สมัยโบราณ เรียนรู้วิถีชุมชน สร้างชุมชนอย่างยั่งยืนบนวิถีธรรมชาติ เป็นความไร้พรมแดนทางวัฒนธรรมที่อยู่บนฐานคิดสำคัญคือ เมตตาธรรม และธรรมชาตินิยม (ยุค  ศรีอาริยะ, 2548: 74) และพลังประชาชนเหล่านี้เป็นพลังที่จะเผชิญกับวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้น จะสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ขึ้นกับความรู้ ปัญญาที่เป็นรากฐานสำคัญจึงต้องสร้างฐานความรู้ให้เข้มแข็ง เป็นชุมชนแห่งความรู้และปัญญา (Knowledge Based Community) เป็นชุมชนที่รู้ปัญหา มีความรู้แก้ปัญหา มีภูมิปัญญาแบบบูรณาการเข้าใจสภาวธรรมพื้นฐานได้ ซึ่งเป็นคุณค่าแนวคิดตะวันออกและพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่ง

      เมื่อการเปลี่ยนแปลงของระบบโครงสร้างดังกล่าวเกิดขึ้น มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาดังได้กล่าวข้างต้นที่ให้ความสำคัญต่อชุมชนมากขึ้น เกิดการปฏิรูปการศึกษาใหม่ ทั้งการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์เรียนรู้ชุมชน วิทยาลัยชุมชน และมหาวิทยาลัยชุมชน เป็นต้น ประกอบกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาอีเล็คทรอนิค ทำให้สามารถขยายการศึกษาสู่ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยที่เห็นการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างดังกล่าวจะปรับยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ให้ทันการเปลี่ยนแปลง นอกจากจะแสวงหาผู้เรียนกลุ่มใหม่ในชุมชนท้องถิ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของกลยุทธ์น่านน้ำสีครามแล้ว ยังสามารถพัฒนาให้เป็นกลยุทธ์น่านน้ำสีขาวที่มุ่งพัฒนาสู่ความยั่งยืนของสังคมเป็นสำคัญ อันจะนำไปสู่การสร้างฐานความรู้ของชุมชนให้เข้มแข็งเป็นชุมชนที่รู้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาและพึ่งตนเองได้ มีปัญญาแบบบูรณาการ สร้างสังคมที่สงบสันติสุขและยั่งยืนได้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นการท้าทายบทบาทมหาวิทยาลัยที่จะช่วยชุมชน สังคม และประเทศชาติให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืนได้อย่างไร

      แนวคิดที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งให้ความสนใจคือ การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยมุ่งไปที่วัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูปเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชุมชนของระบบโลกในปัจจุบัน เพื่อนำวัฒนธรรมมาบูรณาการกับความรู้เพื่อสร้างสรรค์ผลผลิตที่เพิ่มคุณค่าและมูลค่าเชิงวัฒนธรรมเรียกว่า Culture Industry นักวิชาการจะช่วยต่อยอดเป็นสังคมแห่งวัฒนธรรม สังคมชนบทไทยมีมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ามาก นักวิชาการสามารถต่อยอดความรู้ ความคิด ปัญญากับวัฒนธรรมให้เข้ากับตลาดท่องเที่ยว จะทำให้เกิดกิจกรรมและธุรกิจบนความคิดสร้างสรรค์ ดังจะเห็นจากกรณีเมืองเชียงรายได้ต่อยอดเชิงวัฒนธรรมเป็นเมืองแห่งแกลลอรี่ (ณรงค์ชัย  อัครเศรณี, 2552) หลายสิ่งหลายอย่างจะแปรเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาและสร้างรายได้ให้ประเทศในอนาคต

      แหล่งวัฒนธรรมที่น่าสนใจเพื่อเป็นกลยุทธ์น่านน้ำสีขาวคือ ปรัชญาและวัฒนธรรมเชิงพุทธ ที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดนครพนม สกลนคร อุดรธานี ชัยภูมิ หนองบัวลำภู เป็นพุทธภูมิที่มีพระอาริยะสงฆ์ผู้สืบสานและมีมรรคปฏิบัติที่เป็นรากฐานของความรู้ และปัญญาทางพุทธธรรมที่สำคัญยิ่งในปัจจุบัน ประกอบกับศิลปวัฒนธรรมเชิงศาสนาที่เป็นทุนทางสังคมที่มีอยู่มากมายในจังหวัดนครราชสีมา ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ และสุรินทร์ จะนำมาบูรณาการความรู้ที่มีอยู่ให้พัฒนาเป็นการศึกษาแบบสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าและตามมาด้วยการต่อยอดทางกิจกรรมอื่นๆ ที่เกิดคุณค่าและมูลค่า เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ต่อไป นอกจากนี้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี ปราจีนบุรี ลพบุรี สุโขทัย และนครศรีธรรมราช ล้วนแต่เป็นอู่อารยธรรมของประเทศ มหาวิทยาลัยจะบูรณาการทุนทางสังคมที่มีคุณค่ามหาศาลนี้กับความรู้และภูมิปัญญาของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ได้อย่างสร้างสรรค์อย่างไร เป็นความท้าทายที่สถาบันการศึกษาในจังหวัดและภูมิภาคเหล่านั้นสามารถนำมาใช้ต่อยอดกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย ความสำเร็จในการบูรณาการความรู้ ปัญญากับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นเหล่านี้ เป็นยุทธ์ศาสตร์น่านน้ำสีขาวที่จะช่วยอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ คุณธรรม และจริยธรรมของสังคมไทยให้ยั่งยืนสืบไป

      การบูรณาการความรู้ในเชิงสร้างสรรค์ ในบางกิจกรรมต้องใช้ความรู้และปัญญามาเป็นทุนทำการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มากขึ้น เพราะฐานที่สำคัญคือ เศรษฐกิจชุมชนที่สามารถทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ ทำให้เกิดเศรษฐกิจผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Economy) และการขยายเครือข่ายความรู้ของชุมชนท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำให้เกิดการกระจายองค์กรชุมชนที่มีความรู้มากมายในสังคม เป็นการสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันที่มหาวิทยาลัยจะช่วยพัฒนาสังคมชุมชนร่วมกันได้ การเปลี่ยนผ่านเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของระบบโลกท้าทายต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยที่จะปรับบทบาทและสร้างสภาวะการเปลี่ยนผ่านภูมิปัญญาในมหาวิทยาลัยให้ทันกับการท้าทายดังกล่าว

สรุป

      นักวิชาการที่มีความรู้ และปัญญาในมหาวิทยาลัยเป็นทุนทางสังคมที่ควรค่าแก่การสนับสนุนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นความกล้าหาญทางความคิด ซึ่งจะเกิดขึ้นในสังคมที่ช่วยกันเพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ให้กับสมาชิกในองค์กรมากกว่าการสร้างความกลัวด้วยการใช้อำนาจ ความกลัวเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่เหนี่ยวรั้งไม่ให้กล้าที่จะคิด ข้อผิดพลาดหรือปัญหาขององค์การอาจจะนำไปสู่ความคิดใหม่ที่ดีได้เช่นกัน หรือทำให้เกิดการเรียนรู้จากความล้มเหลวได้เสมอ การทำลายการสร้างสรรค์ของสมาชิกในองค์การทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่สร้างบุคคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ต้องใช้เวลาตลอดชีวิต ดังนั้นมหาวิทยาลัยจะเป็นศูนย์กลางสร้างสรรค์ ต้องสร้างสรรค์บุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความกล้าในการคิดสร้างสรรค์ จึงจะสามารถพัฒนาสังคมชุมชนสร้างสรรค์ (Creative Community) ที่นำไปสู่การพัฒนาและการสร้างความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) อย่างยั่งยืน

      การเปลี่ยนแปลงในองค์การจะเกิดขึ้นได้ขึ้นกับวัฒนธรรมองค์การที่เป็นระบบเปิด ทำให้มีการสื่อสารสองทาง เกิดวัฒนธรรมคิดสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมเกิดขึ้น ถ้าเป็นองค์การที่มีวัฒนธรรมระบบปิดองค์การจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก โครงสร้างองค์การไม่เปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีโอกาสสื่อสารปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร ดังนั้นพันธกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยคือการสร้างการเปลี่ยนแปลง และมีการสื่อสารการเปลี่ยนแปลงให้กับกลุ่มที่เกี่ยวข้องในองค์การได้รับรู้ และผู้นำให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง สื่อสารปัญหาที่เกิดขึ้นและลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงลงให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด ดังนั้นผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงต้องขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงจากภายในองค์การเริ่มต้นที่ตัวตนของผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ พันธกิจ วิสัยทัศน์ การจัดสรรงบประมาณเพื่อรองรับกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต(Blanchard, 2008)

          มหาวิทยาลัยเป็นองค์การทางปัญญาที่สภาวะการเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยากโดยใช้ความรู้ กระบวนการวิจัยและภูมิปัญญาจากบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย  บทบาทการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยจะมีความสำคัญยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในการเป็นองค์การนำการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม ใช้ภูมิปัญญาและความรู้ที่สั่งสม การสร้างกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การสร้างความรู้ใหม่จากการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติเพื่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงของสังคมและการพัฒนาแบบบูรณาการทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จิตใจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม การศึกษาและประชาธิปไตยเพื่อสร้างสังคมแห่งสันติสุข บนความร่วมมือที่เกิดขึ้นจากภาคส่วนต่างๆในสังคมโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ร่วมทำงานโดยการรวมตัวกันเชิงประเด็นในการพัฒนาที่สำคัญๆ เช่นการสร้างจิตสำนึกใหม่ การสร้างความเข้มแข็งในชุมชนท้องถิ่น การสร้างระบบการศึกษาที่นำพาชาติพ้นวิกฤติ การสร้างระบบสวัสดิการทางสังคมที่ก้าวหน้า การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลในระบบการเมืองการปกครอง การขับเคลื่อนระบบความยุติธรรมและสันติธรรม การปฏิรูประบบสุขภาพ การสร้างความสมดุลในการพัฒนา มีระบบการสื่อสารที่ทำให้เกิดการพัฒนาร่วมกันทั้งหมดเป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นสภาวะการเปลี่ยนผ่านภูมิปัญญาในมหาวิทยาลัยที่จะนำพาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้พ้นวิกฤติที่เกิดขึ้นได้

บรรณานุกรม

ภาษาไทย         

      ณรงค์ชัย  อัครเศรณี (2552). “มรดกทางวัฒนธรรมเชียงราย เมืองแห่งแกลลอรี่”.กรุงเทพธุรกิจ   17 กรกฎาคม  2552.

      ยุค  ศรีอาริยะ (2548). คลื่นปฏิวัติโลกใหม่สู่อารยธรรมไร้พรมแดน. กรุงเทพ.บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

      สินธุ์  สโรบล (2548). “กระบวนทัศน์วิจัยเพื่อท้องถิ่น”. เอกสารการสัมมนา กองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ภาษาอังกฤษ   

           Blanchard, Ken and et.al. (2008). Who Killed Change ?  Solving the Mystery of Leading People through Change. Harper Collins Publishers. U.S.A.


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://policyandethics.com/blog2/?p=32

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สวัสดีครับ



    ผมได้มีโอกาศสนทนากับท่านสวนางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดภูเก็ต และประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา มีหลายเรื่องที่ผมได้รับฟังทั้งเรื่อง เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ท่านมีวัตถุประสงค์เรื่องงบประมาณที่จังหวัดภูเก็ตควรได้รับไม่ใช้นับจากจํานวนประชากรเป็นหลักทําให้ภูเก็ตเสียโอกาสในการนํางบประมาณมาพัฒนาเกาะภูเก็ต ซึ้งต่างจาก เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่เคยมีการพูดถึงในสมัยหนึ่งจะเน้นในเรื่องการสร้างโรงงานซึ้งสวนทางกับการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตเเละเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันเเละยกเลิกไป เเละในสมัยนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. (Office of the National Economics and Social Development Board)ก็ยกเลิกเรื่องนี้ไป เละ ผมยังได้รับฟังอีกหลายเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อชาวจังหวัดภูเก็ตผมจะนํามาเล่าในโอกาศต่อไปครับ โอกาศหน้าผมจะนําเรื่องการร้องเรียนผ่านประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภาครับ ถ้าได้ฟังการทํางานของท่านเเล้วจะสังเกตุได้ว่าพูดเเบบไม่ต้องมีกระดาษย่อเลยครับเพราะท่านทําจริงครับ


                                                              ด้วยความเคารพเเละนับถือ
                                                              ชวนะ เกียรติชวนะเสวี  น.บ.
                                                              รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผมพร้อมครับ




  เป็นความภาคภูมิใจที่ผมได้รับครับ ชีวิตผมๆก็มีทั้งทุกข์เเละสุข ผมจะยึดคําพูดที่ว่า สติมา ปัญญาเกิด ผมยังทํางานต่ออีกครับวาระละ2ปีผมยังเชื่อเสมอครับว่า คิดดี ทําดี พูดดี บนความถูกต้อง ไม่มีสิ่งใหนจะมาทําลายความดีเเละความสามัคคี  โดยพี้นฐานที่มาจากความดีที่เรามีเจตจํานง ทุกเหตุการณ์ การจะมองเเต่ละปัญหาเเต่ละบุคคลต้องศึกษาประวัติเเละปัญหาในเรื่องความดีเเละความไม่ดีจะต้องศึกษาให้ถึงคําพูดที่ว่า
เราเข้าใจถูกหรือผิด ศึกษาปัญหาว่าเป็นเรื่องเดียวกันรึเปล่า ช่วงนั่นเป็นปัญหาที่เราเข้ามาในเหตุการณ์รึยังการเสนอปัญหาเเต่ละปัญหาเป็นปัญหาโดยรวมเเละพี่น้องประชาชนที่ร้องเรียนเข้ามาผมจะทยอยถามผู้ตรวจเเต่ละกระทรวงผมสัญญาว่าทุกปํญหามีทางออกก็ขอบคุณทุกกําลังใจที่ส่งมาผมจะเเยกปัญหาเป็นเเต่ละประเภท
1เศรษฐกิจ2 สิ่งเเวดล้อม 3 ที่ดิน 4การท่องเที่ยว 5 ปัญหาข้อกฎหมายของหน่วยงานราชการ6 ความปลอดภัยเเละอื่นๆเรี่องที่ถึงมือผมๆไม่ใช้ผมละทิ้งเอกสารผมจะเก็บไว้เเต่ผมขอเวลาศึกษาข้อกฎหมายเพราะละเอียดอ่อนครับทางทีมงานร่วมอุดมการณ์กับผมจะมีทุกวัยก็อุทิศเวลาเพื่อบ้านเกิด ต้องการเห็นภูเก็ตพัฒนาเเบบยังยืน ทุกปัญหายึดหลักความยุติธรรม เเละความถูกต้อง ลดความขัดเเย้งใช้การประสานงานเป็นหลักครับ เเละ สิ่งที่ผมยึดมั่นเสมอคือ ผู้ใหญ่ที่ผมเคารพเพราะผมพูดมาจากเจตจํานงในใจของผม มีหลายคนจะสอบถามผมเข้ามามากทั้งemail ,fax ,โทรศัพท์ เเละญาติพี่น้องเพื่อนๆว่า
ผมสนใจที่จะเล่นการเมืองหรือไม่
ผมอายุ 45 ผมดํารงตําเหน่งสมาชิกสภาจังหวัด 1 สมัย
กรรมการหอการค้า 17 ปี ปัจุบันดํารงตําเหน่งรองประธานหอการค้า 4 สมัย
จบกฎหมาย
พัฒนาสังคม
รัฐศาสตร์
การจัดการท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
ผู้นําการเมืองยุคใหม่สถาบันพระปกเกล้า
ปัจุบันผมเรียนปริญญาเอกอยู่ที่รามคําเเหงจึงทําหน้าที่รองประธานหอการค้า
ผมขอตอบเลยครับ ผมคือลูกหลานชาวภูเก็ตเเละผมพร้อมที่จะใช้ความรู้เเละประสบประการณ์ที่มีมาตลอดชีวิตผมขอโอกาศให้ผมได้มีโอกาศทํางานเพื่อบ้านเกิดครับผมพร้อมครับ


                                                                            ด้วยจิตสํานึกรักบ้านเกิด


                                                                                          นาย  ชวนะ เกียรติชวนะเสวี น.บ.
                                                                                          รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553



ผู้แต่ง : ซุนวู c. 544 – 496 BC.
แปลและเรียบเรียง : เสถียร วีรกุล พ.ศ. ๒๔๙๕
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๕
พิมพ์ครั้งที่สองแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๒๙ 






  เพื่อกันความเข้าใจสับสน ในวงการแปลเกี่ยวกับตำราการทหารของจีน ข้าพเจ้าถือโอกาสนี้ ชี้แจงถึงปัญหาตำราพิชัยสงครามบางประการ ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตามสมควร
              ตำราพิชัยสงครามของจีน มีปรากฏหลักฐานแน่ชัดและมีหนังสือครบถ้วน อยู่ถึง ๗ ฉบับด้วยกัน ซึ่งทางจีนเขาเรียกว่า 'หวู่จิงชีซู' () หรือตำราพิชัยสงคราม ๗ ฉบับ ดังมีชื่อดังต่อไปนี้
              ก. ตำราพิชัยสงครามซุนวู () อีกชื่อหนึ่ง "ซุนจื๊อปิงฝ่า" () "วู" ที่ข้าพเจ้าแปลนั้นเป็นชื่อของปรมาจารย์ทหารผู้นั้นโดยตรง ซึ่งเป็นการออกเสียงตามภาษากลาง ถ้าออกเสียงเป็นเสียงแต้จิ๋วจะอ่านว่า "บู๊" (บุ๋นหรือบู๊ตามที่คนไทยเราเข้าใจกัน) ว่าที่จริงคำว่า บุ๋น (พลเรือน) บู๊ (ทหารหรือพลกำลัง) เป็นการออกเสียงตามสำเนียงชาวฮกเกี้ยนภาคเอ้หมึง ข้าพเจ้าใช้ว่าซุนวูเพื่อให้ต่างจาก 'ตำราพิสัยสงครามของซุนปิง' () (ซึ่งเป็นนิพนธ์ของหลานปู่ของซุนวูในสมัยจ้านกว๋อ) () มีเวลาห่างจากกันประมาณร้อยกว่าปี ภายหลังหนังสือฉบับนี้ได้สูญหายไป จนกระทั่งคนโบราณต่อ ๆ มาเข้าใจว่า ซุนวู หรือ ซุนปิง คือคนเดียวกัน แต่หนังสือเล่มนี้เพิ่งจะมาค้นพบในสุสานสมัยฮั่น () เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒) เดือนเมษายน ในตำบลอินเฉ่ซัน () อำเภอหลินฉี มณฑลซานตุง               ข. ตำราพิชัยสงครามของซุนปิง ทางการของประเทศสาธารณรัฐประชากรจีน ได้ให้ฝ่ายโบราณคดี และผู้เชี่ยวชาญทางอักษรโบราณชำระแล้ว แต่เนื่องจากเขียนด้วยหมึกไว้บนแผ่นซีกไม้ไผ่ และเวลาเนิ่นนานมาทำให้เกิดชำรุดเสียหายและกระจุยกระจายในสถานที่นั้น เมื่อชำระแล้วมีข้อความขาดตกบกพร่องกระท่อนกระแท่น ตัวอักษรขาดหายไปเป็นคำ ๆ และแม้กระทั่งเป็นวรรค ๆ ทั่วไป ซึ่งเขาได้จัดพิมพ์เป็นสำเนาขั้นต้นไว้แล้ว ในการชำระเบื้องต้นนี้เขาแบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคต้น มีข้อความ ๑๕ บรรพ นับตั้งแต่ 'จับผังเจวียน' () ถึง 'การสร้างแสนยานุภาพ' () ภาคปลายก็จัดไว้เป็น ๑๕ บรรพ ตั้งแต่ ปุจฉา ๑๐ประการ () ถึง 'รบซึ่งหน้า และรบพลิกแพลง' () ข้าพเจ้าได้หนังสือนี้มาเล่มหนึ่ง แต่ไม่สามารถแปลได้ เพราะข้อความกระท่อนกระแท่นจนไม่สามารถจับใจความให้เข้าใจได้โดยสิ้นเชิง
              ค. หนังสือพิชัยสงครามอีก ๖ ฉบับ คือ
ค. ๑ ตำราพิชัยสงครามหวูฉี่ () หรือ หวูจื่อ () ขอชี้แจงคำ 'จื่อ' นี้เป็นคำยกย่องว่า 'ปราชญ์' หรือ 'ผู้คงแก่เรียน' เช่น ขงจื๊อ ฯลฯ และหวูฉี่ อ่านตามสำเนียงแต้จิ๋ววา โง้วคี้, โง้ว คือแซ่ของชาวจีนดาษดื่นทั่วไปแม้ในประเทศไทย
ค. ๒ ตำราพิชัยสงคราม อุ้ยเหลี่ยวจื่อ ()
ค. ๓ ตำราพิชัยสงครามเคล็ดลับ ๖ ประการ () ว่ากันว่าเป็นนิพนธ์ของ จิวไท้กง () หลือหว้าง ()
ค. ๔ ตำราพิชัยสงคราม 'กโลบาย ๓ ประการ' ()(ซ่านเล่ห์)
ค. ๕ ตำราพิชัยสงคราม 'ซือหม่าฝ่า' ()
ค. ๖ คำปุจฉา-วิสัชนาของ 'หลี่อุ้ยกง' ()

ตำราพิชัยสงคราม เขียนบนซีกไม้ไผ่
              ตำราพิชัยสงคราม นอกจากซุนปิง ซึ่งไม่สมบูรณ์แล้ว นอกนั้นเป็นหนังสือที่มีข้อความครบถ้วนทั้งนั้น แต่เมื่อกล่าวถึงหลักของการทำสงครามตลอดจนการปกครองแล้ว ความรวบรัดเป็นหลักการมีน้ำหนักและรอบคอบรวมทั้งใซ้ภาษาที่รัดกุมประทับใจ ไม่มีฉบับใดจะเกิน 'ตำราพิชัยสงครามซุนวู' ซึ่งทั่วโลกยกย่องว่าเป็นแม่บทของการทหาร การทำสงคราม รวมทั้งหลักการปกครองด้วย จึงมีฉบับแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกหลายประเทศ ในเมืองไทยก็มีหลายสำนวนด้วยกัน เมื่อการณ์เป็นเช่นนี้ เพื่อความเข้าใจอันดีและถูกต้อง จึงขอถือโอกาสเรียนชี้แจงโดยย่อ ตามข้อความข้างต้นนี้


นายเสถียร วีรกุล
๘ กันยายน ๒๕๒๑
(หลังจากการพิมพ์ครั้งแรกมาแล้ว ๒๖ ปี)
 



อนึ่ง พึงสำเหนียกว่าตำรายุทธพิชัยนี้ 
ควรนำไปใช้ต่อสู้กับอริราชข้าศึกศัตรูเพื่อปกป้องประเทศชาติ 
หาใช่นำมาใช้ต่อสู้แก่งแย่งทำลายล้างคนในชาติด้วยกันเองไม่
ดังที่ีบางบุคคลและบางกลุ่มเคยใช้เป็นกลยุทธ์สร้างสถานการณ์
บีบคั้นให้บางองค์กรสถาบันต้องตกกระไดพลอยโจน
กระทำความผิดพลาดอันใหญ่หลวง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

ตำราพิชัยสงคราม

ผมจะติดตามงานเเปลของท่านอาจารย์ เสถียร วีรกุล เสมอครับ

ตำราพิชัยสงคราม การรุกถอยยืดหยุ่นต้องเปลี่ยนเเปลงให้เหมาะสมกับกาลสมัย

วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ว่าอิทธิบาท4




1. วิมังสา คือ การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ทำมา โดยใช้วิจารณญาณอย่างรอบรู้ว่าเกิดผลดีและผลเสียอย่างไร เพื่อ

ปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น แทนที่จะมุทะลุทำโดยไม่พิจารณาว่ามันเป็นเส้นทาง หรือ วิธีการที่ถูกต้องหรือดีที่สุดแล้วหรือไม่ เพราะการกระทำเช่นนั้น อาจพาเราเข้ารกเข้าพงไปได้ ยิ่งที่วิริยะมาก ก็ยิ่งผิดทางไปไกล

พระพุทธเจ้า

สิ่งนี้พระพุทธเจ้าสอนมาหลายพันปีแล้ว ในขณะที่วิทยาการสมัยใหม่เพิ่งสอนให้มีการตรวจสอบ วัดผล เพื่อการปรับปรุงในกระบวนการควบคุมการผลิต และ การบริหารทุกกระบวนการ


2.    พระนิสิตจากมหาจุฬาฯ รูปหนึ่งไปสัมภาษณ์ ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ปูชนียบุคคลมหัศจรรย์ในวัยเฉียดร้อยปี

คำพูดของท่านแต่ละประโยค เปรียบเสมือนแก้วแหวนให้ผู้เขียนได้เก็บสะสมเป็นแรงบันดาลใจที่มีค่ายิ่ง

ท่านผู้หญิงเป็นผู้ก่อตั้งคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแยกออกมาจากคณะอักษรศาสตร์ใน
ขณะนั้น ซึ่งแน่นอนการเปลี่ยนแปลงระดับนี้ ย่อมหนีไม่พ้นแรงเสียดทานและอุปสรรคต่าง ๆ อย่างแน่นอน

พระผู้สัมภาษณ์ได้ถามท่านผู้หญิงว่า ท่านจัดการอย่างไรเมื่อประสบกับอุปสรรคต่างๆ

ท่านผู้หญิงให้คำตอบที่ชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอนว่า 


       “ก่อนอื่น เราต้องแน่ใจว่า สิ่งที่เราทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี  ที่ถูกต้อง ที่เป็นประโยชน์ เมื่อแน่ใจแล้ว เราต้องต่อสู้ไปให้ถึงความสำเร็จโดยไม่ท้อถอย”





อ.ประมวล เพ็งจันทร์3 .ถ้าคุณเป็นนักอ่าน คุณก็คงรู้จัก อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เขียนหนังสือชื่อ “เดินสู่อิสรภาพ”

จากประสบการณ์ของท่านที่เดินด้วยเท้าโดยไม่พกเงินติดตัว ไม่ขอเงิน ไม่ขออาหารจากใคร ไม่ไปหาคนรู้จัก โดยเริ่มต้นจากเชียงใหม่จนถึงปลายทางที่เกาะสมุย ซึ่งใช้เวลานานถึง 66 วัน

หลายคนบอกว่าอาจารย์ “บ้า”

แต่มันคือความฝันที่อาจารย์ทำให้เป็นจริง เพื่อค้นหาสัจธรรมของชีวิต มันเป็นการเดินทางทั้งภายในและภายนอก ภายในคือการเดินทาง ข้ามพ้นความเสียดาย ความโกรธเกลียด และความกลัวที่อยู่ในใจของตัวเอง

สิ่งที่อาจารย์พบจากการเดินทางคือคุณค่าของการมีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่น ของความเป็นมิตรไมตรี และ ความมีเมตตาของคนในสังคมที่ยังมีอยู่จริง







ผมพอจะอ่านหนังสืออยู่บ้างผมจะศึกษาการดําเนินชีวิตของบุคคลที่ประสบความสําเร็จในชีวิตอาจจะเเตกต่างกันเเต่สิ่งที่เหมือนกันคือเเนวทางถ้า พยายามผิดเเนวทาง  ถึง พยายามไปก็เหนื่อยเปล่า
  
 ค๋าถาม   คนบ้าเเละคนไม่บ้า คืออะไร









                                                            


วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ท่าน ว.วชิรเมธีกับการทำบุญ



ผมติดตามท่าน ว.วชิรเมธีเสมอครับ
        กราบเรียนมายังพระคุณเจ้าที่เคารพที่เคารพอย่างสูง
                      ชวนะ เกียรติชวนะเสวี
เวลามีค่าที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เอาชนะใจผู้อื่นได้ ลองนำกลยุทธ์ 9 ข้อต่อไปนี้ไปปฏิบัติ

ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ต้องพบเจอผู้คนมากหน้าหลายตา หลากหลายพฤติกรรมและความคิด ทั้งที่ทำงานและในกิจกรรมต่างๆ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยดี เพราะได้รับความร่วมมือจากคนเหล่านั้น
      
       ฉะนั้น น่าจะเป็นเรื่องดี ถ้าเราสามารถผูกมิตร หรือเอาชนะใจผู้อื่นได้ ลองนำกลยุทธ์ 9 ข้อต่อไปนี้ไปปฏิบัติ แล้วจะค้นพบด้วยตัวเองว่า คุณมีมิตรที่พร้อมจะช่วยเหลือคุณเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
      
       1. มีทัศนคติที่ดี
      
       การมีทัศนคติที่ดี ถือเป็นอาวุธสำคัญในการเอาชนะใจคน เพราะทัศนคติคือทุกสิ่งทุกอย่าง นิสัยส่วนตัวที่ดี จะเสริมสร้างให้คนคนนั้นมีทัศนคติในการมองโลกที่ดีไปด้วย และคุณจะได้รับสิ่งดีที่สุดจากคนอื่นๆ ก็ต่อเมื่อคุณเป็นผู้ให้สิ่งดีที่สุดของคุณออกไปก่อน มีงานวิจัยหลายแห่งที่ระบุว่า คนทั่วไปต่างอยากกำจัดนิสัยส่วนตัวที่ไม่ดี ซึ่งคุณก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยเริ่มจากการมีทัศนคติที่ดีและตั้งใจจริง แล้วคุณจะพบว่าความสัมพันธ์ กับบุคคลอื่นๆก็จะดีตามไปด้วย
      
        2. ยึดกฎ 30 วินาที
      
       จงยึดหลักที่ว่า เมื่อต้องพูดคุยสนทนากับผู้อื่น ใน 30 วินาทีแรก คุณควรพูดแต่สิ่งดีๆที่ช่วยส่งเสริมคนคนนั้น เช่น กล่าวชมการแต่งกาย หน้าที่การงาน ฯลฯ โดยปกติ เมื่อคนส่วนใหญ่พบปะกัน พวกเขามักหาหนทางที่จะทำให้ตัวเองดูดีต่อหน้าผู้อื่นเสมอ แต่กุญแจสำคัญที่จะนำ ไปสู่ความสำเร็จก็คือ ต้องทำตรงกันข้าม!! เพราะคนทั่วไปจะเกิดความรู้สึกดีและมีปฏิกิริยาโต้ตอบในทางบวก เมื่อคุณแสดงความสนใจ สนับสนุน และชื่นชมในตัวเขา
      
       มีคำกล่าวว่า “คนขี้นินทา คือคนที่พูดคุยกับคุณในเรื่องคนอื่น คนน่าเบื่อ คือคนที่พูดคุยกับคุณในเรื่องของเขาเอง และนักสนทนาที่ดี คือคนที่พูดคุยกับคุณในเรื่องที่เกี่ยวกับตัวคุณเอง”
      
       คำพูดอาจมีพลังมหาศาลที่คุณคาดไม่ถึง เมื่อมีใครสักคนชื่นชมคุณ พลังในกายคุณจะเพิ่มมากขึ้น มีชีวิต ชีวา และในทางกลับกัน ถ้าคุณถูกตำหนิติเตียน มันจะทำให้คุณห่อเหี่ยว หมดเรี่ยวแรง หนึ่งในข้อดีที่สุดของกฎ 30 วินาที คือ มันจะช่วยให้คุณรู้สึกดีด้วย เพราะคุณไม่อาจช่วยคนอื่นได้ ถ้าคุณไม่ช่วยตัวเองเสียก่อน
      
        3. เขาคือคนสำคัญ
      
       ผู้นำที่ดีต้องทำให้คนในองค์กรรู้สึกว่า พวกเขาเป็นหัวใจหลักสำคัญขององค์กร ความรู้สึกเช่นนี้ จะทำให้พนักงานเห็นคุณค่าและความสำคัญของงานที่รับผิดชอบอยู่
      
        4. สร้างความทรงจำดีๆ
      
       มีบางสิ่งบางอย่างที่สามารถเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันได้ อาทิ ความทรงจำดีๆร่วมกัน คนส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ โดยไม่มีเป้าหมาย ยอมรับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น และรอคอยให้ประสบการณ์ดีๆที่น่าจดจำเกิดขึ้นเอง
      
       แต่จะบอกให้ว่า จงอย่าเลิกล้มความคิดที่จะสร้างเรื่องราวอันน่าประทับใจให้เกิดขึ้นจริง และเมื่อมันเกิดขึ้น ต้องแน่ใจว่า คุณทำให้คนที่มีส่วนร่วม จดจำเรื่องราวได้เช่นกัน ข้อสำคัญที่สุดในการสร้างความทรงจำ ก็คือ การย้อนรอยเหตุการณ์นั้นอีก ซึ่งนับว่าคุ้มค่า เชื่อแน่ว่า ไม่มีใครในโลกนี้หรอก ที่ไม่เข้าใจคุณค่าของความทรงจำดีๆ
      
        5. ชมเชยต่อหน้าคนอื่น
      
       หลักเบื้องต้นที่สำคัญที่สุดและตรงเป้าในการเอาชนะใจคน นั่นคือ คำชมเชยที่จริงใจ ด้วยถ้อยคำอันมีความหมายตามนั้น คุณควรเรียนรู้ที่จะยกย่องชมเชยบุคคลใด บุคคลหนึ่งต่อหน้าคนอื่นๆ หรือเมื่ออยู่กันเพียงลำพังสองคน แต่มันจะดูมีค่ามากยิ่งขึ้น เมื่อคุณทำต่อหน้าสาธารณชน
      
       เมื่อคุณกล่าวชื่นชม เท่ากับช่วยให้ความฝันของพวกเขาใกล้ความจริงมากขึ้น จากที่เคยสงสัยว่าจะทำไม่สำเร็จ และเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ว่าจะยากดีมีจน ทุกคนล้วนแสวงหาการยอมรับ และเสียงปรบมือจากผู้อื่นเสมอ ดังคำกล่าวที่ว่า “การให้กำลังใจ เป็นการเติมออกซิเจนให้แก่จิตวิญญาณนั่นเอง”
      
        6. ชี้ให้เห็นศักยภาพ
      
       หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการจูงใจคนและทำให้เขารู้สึกดีๆกับตัวเอง คือแสดงให้เขาเห็นถึงศักยภาพของตัวเองว่าจะทำอะไรได้บ้าง เรื่องนี้ทำไมจึงสำคัญน่ะหรือ คำตอบ คือ เพราะมนุษย์เรานั้นจะไปได้ไกลกว่าที่ตัวเองคาดคิด ก็ต่อเมื่อมีคนที่เคารพนับถือคอยให้กำลังใจ และย้ำเตือนว่าเขาสามารถทำได้ ไม่ว่าจะแสดงออกด้วยท่าทาง หรือคำพูดก็ตาม จะส่งผลให้ความเคลือบแคลงใจในตนเองค่อยๆเลือนหายไป
      
        7. กล่าวชื่นชมเป็นลายลักษณ์อักษร
      
       ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดเพื่อเอาชนะใจคน เมื่อคุณเขียนชมเชยบุคคลอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร คนคนนั้นจะรู้สึกได้ว่า คุณชื่นชมในตัวเขาไปตลอดกาล เพราะคนทั่วไปมักยึดมั่นและให้ความสำคัญกับโล่เกียรติคุณ จดหมาย และอีกหลากหลายรูปแบบที่แสดงการยกย่อง ยอมรับในตัวเขา และจะเก็บสิ่งของเหล่านี้เสมือนของมีค่าไว้ตลอดชีวิต
      
       วัฒนธรรมในบ้านเรา อย่าว่าแต่เป็นลายลักษณ์อักษรเลย แม้แค่คำพูด ก็ไม่ค่อยนิยมกล่าวยกย่องชมเชยผู้อื่น เพราะเกรงว่าคนคนนั้นจะหลงระเริง ซึ่งควรเปลี่ยนความคิดเช่นนี้เสียใหม่
      
        8. อย่ามัวแต่ส่องกระจก
      
       เมื่อคุณใส่ใจเรื่องของคนอื่นๆ คอยให้ความช่วยเหลือ เมื่อพวกเขาต้องการ นั่นคือคุณละวางสายตาจากการมอง ตัวเองในกระจกเงา จริงๆแล้วการประสบความสำเร็จในชีวิตนั้น ไม่ได้วัดจากทรัพย์สมบัติที่คุณหามาได้ หรือทำสิ่งต่างๆได้บรรลุผล แต่เป็นสิ่งที่คุณทำให้คนอื่นต่างหาก
      
        9. ให้ความสำคัญกับการจดจำชื่อ
      
       จงให้ความสำคัญในเรื่องชื่อเสียงเรียงนามของบุคคล ลองนึกดูว่า คุณจะรู้สึกอย่างไร ถ้ามีคนเรียกชื่อคุณผิด หรือรู้สึกอย่างไรถ้ายังมีคนจำชื่อคุณได้แม้เวลาจะล่วงเลยมานาน หากยังมีคนใส่ใจพอที่จะจดจำชื่อของคุณได้แม้วันเวลาผ่านไปนานแล้ว มันจะทำให้คุณรู้สึกดีกับคนคนนั้น และความรู้สึกดีๆ นี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน
      
       ต่อไปนี้เป็นวิธีง่ายๆที่ใช้จำชื่อคนที่คุณได้พบปะ
      
       - เอ่ยชื่อของคนนั้น 3 ครั้งในการสนทนา
       - ถามคำถามเกี่ยวกับชื่อ เช่น สะกดอย่างไร
       - จำจุดเด่นของร่างกายหรือบุคลิกลักษณะของเขา เช่น มีลักยิ้ม หรือจมูกโด่งเป็นสัน
       - จบการสนทนาด้วยการเอ่ยชื่อของเขา

      ข้อมูลจาก manager.co.th       (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 120 พฤศจิกายน 2553 โดย ประกายรุ้ง)
ศูนย์ข่าวภูเก็ต -เทศบาลนครภูเก็ตร่วมฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมหาดใหญ่ ส่งรถทำความสะอาดเข้าช่วยเหลือ ขณะที่สิ่งของช่วยเหลือจำนวนมากทยอยส่งไปช่วยผู้เดือดร้อนในพื้นที่ภาคใต้
      
       วันนี้ (4 พ.ย.) ที่หน้าสำนักงานเทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต นายนิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธาน ปล่อยขบวนรถทำความสะอาดจำนวน 11 คันประกอบด้วย รถยนต์บรรทุกน้ำ รถยนต์ดูดโคลนเลน รถยนต์บรรทุกดัมป์ รถยนต์ตักหน้า-ขุดหลัง รถยนต์บรรทุกเทรลเลอร์ รถยนต์บรรทุกหางเหยี่ยว รถยนต์กระบะ พร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากร ไปช่วยเหลือในการทำความสะอาดฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยในพื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา
      
       เทศบาลนครภูเก็ตได้จัดขบวนรถดังกล่าว เพื่อไปช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูให้สภาพเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยมีนายชัยพฤกษ์ พันพฤกษ์ นายถาวร จิรพัฒนโสภณ รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต นายวีรพงษ์ ไวยทยะวงศ์สกุล ประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต นายธวัชชัย ทองมั่ง ปลัดเทศบาลและพนักงานเทศบาล
      
       นายชัยพฤกษ์ พันธุ์พฤกษ์ รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวว่าเทศบาลนครภูเก็ตเป็นหน่วยงานหนึ่ง ที่ให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
      
       นอกจากนี้ ยังได้จัดบุคลากร เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ เข้าไปดำเนินการและช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ หลังจากเกิดเหตุการณ์พายุดีเปรสชั่นพัดถล่มในพื้นที่อ่าวไทย ทำให้จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างได้แก่ จังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา พัทลุง และนครศรีธรรมราชได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติทำให้เกิดวิกฤตน้ำท่วมอย่างหนัก
      
       โดยเฉพาะในเขตพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แม้ว่าในขณะนี้ปริมาณน้ำได้ลดลงเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว แต่บริเวณพื้นที่ดังกล่าวมีดินโคลนและขยะทับถมกันอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีพได้อย่างเป็นปกติสุขต่อไป ดังนั้น ในวันนี้เทศบาลนครภูเก็ต จึงได้สนับสนุนเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ และยานพาหนะ จำนวน 11 คัน พร้อมบุคลากรไปช่วยเหลือในการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยในพื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่
      
       เทศบาลนครภูเก็ตได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย และศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมไป เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 เพื่อรับบริจาคเงินและสิ่งของที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพให้แก่พี่น้องประชาชนผู้ประสบภัย พร้อมรวบรวมและขนส่งไปยังผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ
      
       นอกจากนั้น ในวันนี้ จังหวัดภูเก็ต ศูนย์การค้าจังซีลอน, สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต, สมาคมโรงแรมไทยภาคใต้, กลุ่มถลางสัมพันธ์ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทยอยส่งสิ่งของเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 4 คันรถแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งของที่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตร่วมกันบริจาค เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ขณะนี้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์4 พฤศจิกายน 2553 16:23 น.

คําคมความคิด



การเเสดงความอ่อนน้อม
เป็นสง่าเเก่ผู้อี่น
เเต่เป็นเกียรติเเก่ตนเอง

คนรอดพันอัตรายด้วยความคิด
ความคิดจึงเป็นสิ่งสําคัญมาก
คนควรบํารุงความคิด
หากยิ่งเฉียบเเหลมยิ่งปลอดภัย


จะใช้คนต้องดูงาน
จะสร้างงานต้องดูคน




เวลารื่นเริงไม่ควรคิดเรื่องหนัก
การอันหนักหนาต้องจริงจังมิใช้ทําเล่นๆ

เมื่อรุ้กลศึกของคู่ต่อสู้
ชัยชนะอยู่เเค่เอื่อม

เมื่อพูดจาพาทีด้วยสัตย์ชื่อ
เรื่องราวทั้งปวงก็ลุล่วง
ที่ยังไม่เสร็จสิ้นเสียที่เพราะเลห์กล

ขอขอบคุณ
รูปภาพ ข้อมูล จาก thaisamkok

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เสธ.หนั่น"จับมือ"สนธิ"แถลงเห็นพ้อง 4 ข้อเสนอ"ปรองดอง"

ที่บ้านพระอาทิตย์ เขตพระนคร กทม. พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) เข้าหารือกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อทราบแนวทางปรองดองให้แก่ทุกฝ่ายเป็นครั้งที่ 2 หลังจากก่อนหน้านี้พล.ต.สนั่นได้พบกับแกนนำกลุ่มนปช.มาแล้ว โดยการหารือดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 30 นาที


ที่มา มติชนออนไลน์