#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553



ผู้แต่ง : ซุนวู c. 544 – 496 BC.
แปลและเรียบเรียง : เสถียร วีรกุล พ.ศ. ๒๔๙๕
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๕
พิมพ์ครั้งที่สองแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๒๙ 






  เพื่อกันความเข้าใจสับสน ในวงการแปลเกี่ยวกับตำราการทหารของจีน ข้าพเจ้าถือโอกาสนี้ ชี้แจงถึงปัญหาตำราพิชัยสงครามบางประการ ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตามสมควร
              ตำราพิชัยสงครามของจีน มีปรากฏหลักฐานแน่ชัดและมีหนังสือครบถ้วน อยู่ถึง ๗ ฉบับด้วยกัน ซึ่งทางจีนเขาเรียกว่า 'หวู่จิงชีซู' () หรือตำราพิชัยสงคราม ๗ ฉบับ ดังมีชื่อดังต่อไปนี้
              ก. ตำราพิชัยสงครามซุนวู () อีกชื่อหนึ่ง "ซุนจื๊อปิงฝ่า" () "วู" ที่ข้าพเจ้าแปลนั้นเป็นชื่อของปรมาจารย์ทหารผู้นั้นโดยตรง ซึ่งเป็นการออกเสียงตามภาษากลาง ถ้าออกเสียงเป็นเสียงแต้จิ๋วจะอ่านว่า "บู๊" (บุ๋นหรือบู๊ตามที่คนไทยเราเข้าใจกัน) ว่าที่จริงคำว่า บุ๋น (พลเรือน) บู๊ (ทหารหรือพลกำลัง) เป็นการออกเสียงตามสำเนียงชาวฮกเกี้ยนภาคเอ้หมึง ข้าพเจ้าใช้ว่าซุนวูเพื่อให้ต่างจาก 'ตำราพิสัยสงครามของซุนปิง' () (ซึ่งเป็นนิพนธ์ของหลานปู่ของซุนวูในสมัยจ้านกว๋อ) () มีเวลาห่างจากกันประมาณร้อยกว่าปี ภายหลังหนังสือฉบับนี้ได้สูญหายไป จนกระทั่งคนโบราณต่อ ๆ มาเข้าใจว่า ซุนวู หรือ ซุนปิง คือคนเดียวกัน แต่หนังสือเล่มนี้เพิ่งจะมาค้นพบในสุสานสมัยฮั่น () เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒) เดือนเมษายน ในตำบลอินเฉ่ซัน () อำเภอหลินฉี มณฑลซานตุง               ข. ตำราพิชัยสงครามของซุนปิง ทางการของประเทศสาธารณรัฐประชากรจีน ได้ให้ฝ่ายโบราณคดี และผู้เชี่ยวชาญทางอักษรโบราณชำระแล้ว แต่เนื่องจากเขียนด้วยหมึกไว้บนแผ่นซีกไม้ไผ่ และเวลาเนิ่นนานมาทำให้เกิดชำรุดเสียหายและกระจุยกระจายในสถานที่นั้น เมื่อชำระแล้วมีข้อความขาดตกบกพร่องกระท่อนกระแท่น ตัวอักษรขาดหายไปเป็นคำ ๆ และแม้กระทั่งเป็นวรรค ๆ ทั่วไป ซึ่งเขาได้จัดพิมพ์เป็นสำเนาขั้นต้นไว้แล้ว ในการชำระเบื้องต้นนี้เขาแบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคต้น มีข้อความ ๑๕ บรรพ นับตั้งแต่ 'จับผังเจวียน' () ถึง 'การสร้างแสนยานุภาพ' () ภาคปลายก็จัดไว้เป็น ๑๕ บรรพ ตั้งแต่ ปุจฉา ๑๐ประการ () ถึง 'รบซึ่งหน้า และรบพลิกแพลง' () ข้าพเจ้าได้หนังสือนี้มาเล่มหนึ่ง แต่ไม่สามารถแปลได้ เพราะข้อความกระท่อนกระแท่นจนไม่สามารถจับใจความให้เข้าใจได้โดยสิ้นเชิง
              ค. หนังสือพิชัยสงครามอีก ๖ ฉบับ คือ
ค. ๑ ตำราพิชัยสงครามหวูฉี่ () หรือ หวูจื่อ () ขอชี้แจงคำ 'จื่อ' นี้เป็นคำยกย่องว่า 'ปราชญ์' หรือ 'ผู้คงแก่เรียน' เช่น ขงจื๊อ ฯลฯ และหวูฉี่ อ่านตามสำเนียงแต้จิ๋ววา โง้วคี้, โง้ว คือแซ่ของชาวจีนดาษดื่นทั่วไปแม้ในประเทศไทย
ค. ๒ ตำราพิชัยสงคราม อุ้ยเหลี่ยวจื่อ ()
ค. ๓ ตำราพิชัยสงครามเคล็ดลับ ๖ ประการ () ว่ากันว่าเป็นนิพนธ์ของ จิวไท้กง () หลือหว้าง ()
ค. ๔ ตำราพิชัยสงคราม 'กโลบาย ๓ ประการ' ()(ซ่านเล่ห์)
ค. ๕ ตำราพิชัยสงคราม 'ซือหม่าฝ่า' ()
ค. ๖ คำปุจฉา-วิสัชนาของ 'หลี่อุ้ยกง' ()

ตำราพิชัยสงคราม เขียนบนซีกไม้ไผ่
              ตำราพิชัยสงคราม นอกจากซุนปิง ซึ่งไม่สมบูรณ์แล้ว นอกนั้นเป็นหนังสือที่มีข้อความครบถ้วนทั้งนั้น แต่เมื่อกล่าวถึงหลักของการทำสงครามตลอดจนการปกครองแล้ว ความรวบรัดเป็นหลักการมีน้ำหนักและรอบคอบรวมทั้งใซ้ภาษาที่รัดกุมประทับใจ ไม่มีฉบับใดจะเกิน 'ตำราพิชัยสงครามซุนวู' ซึ่งทั่วโลกยกย่องว่าเป็นแม่บทของการทหาร การทำสงคราม รวมทั้งหลักการปกครองด้วย จึงมีฉบับแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกหลายประเทศ ในเมืองไทยก็มีหลายสำนวนด้วยกัน เมื่อการณ์เป็นเช่นนี้ เพื่อความเข้าใจอันดีและถูกต้อง จึงขอถือโอกาสเรียนชี้แจงโดยย่อ ตามข้อความข้างต้นนี้


นายเสถียร วีรกุล
๘ กันยายน ๒๕๒๑
(หลังจากการพิมพ์ครั้งแรกมาแล้ว ๒๖ ปี)
 



อนึ่ง พึงสำเหนียกว่าตำรายุทธพิชัยนี้ 
ควรนำไปใช้ต่อสู้กับอริราชข้าศึกศัตรูเพื่อปกป้องประเทศชาติ 
หาใช่นำมาใช้ต่อสู้แก่งแย่งทำลายล้างคนในชาติด้วยกันเองไม่
ดังที่ีบางบุคคลและบางกลุ่มเคยใช้เป็นกลยุทธ์สร้างสถานการณ์
บีบคั้นให้บางองค์กรสถาบันต้องตกกระไดพลอยโจน
กระทำความผิดพลาดอันใหญ่หลวง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

ตำราพิชัยสงคราม

ผมจะติดตามงานเเปลของท่านอาจารย์ เสถียร วีรกุล เสมอครับ

ตำราพิชัยสงคราม การรุกถอยยืดหยุ่นต้องเปลี่ยนเเปลงให้เหมาะสมกับกาลสมัย