#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


เเนวทางที่กระผมเสนอครับ

         สมมุติว่าท่านเป็นที่ปรึกษาความมั่นคงของ จอมพล .พิบูลสงคราม และเมื่อท่านได้อ่าน THUCYDIDES และเอกสารของจอมพล  .แล้ว (เอกสารที่อาจารย์แจก) 
ข้อ 1 ท่านจะให้คำแนะนำจอมพล อย่างไรในกรณีที่ญี่ปุ่นเข้ามา 
        จาก  “  The  Melian  Dialogue “  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตาที่บันทึกโดย  ทูซีดิดิส  ทำให้ข้าพเจ้าได้แนวคิดทางรัฐศาสตร์ในแง่ของ ความยุติธรรมแห่งอำนาจที่เหนือกว่า  แนวคิดดังกล่าวข้าพเจ้าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นที่ปรึกาา จอมพล พิบูลสงครามดังนี้
           ญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอำนาจที่แข็งแกร่ง มีกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์เหนือกว่าประเทศไทย จอมพล พิบูลสงครามควรตระหนักว่าประเทศไทยในอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอกว่าประเทศญี่ปุ่นและญี่ปุ่นบุกมาประชิดทุกทางแล้วในเวลานั้น ฉะนั้นไม่ว่าจะทำการตั้งรับด้วยวิธีการใดก็ตามย่อมประสบต่อความปราชัยอย่างแน่นอน  อีกทั้งประเทศอังกฤษที่เป็นพันธมิตรก็ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือใดๆ      จากประวัติศาสตร์ของมีลอสแสดงให้เห็นว่า  การต่อสู้เพื่อเกียรติและศักดิ์ศรีมิได้ประโยชน์อันใดเลย นอกจากสูญเสียเลือดเนื้อของทหารและประชาชนแล้วก็ยังไม่สามารถรักษาอธิปไตยของชาติไว้ได้  การที่ญี่ปุ่นเปิดโอกาสให้มีการเจรจาต่อรองทั้งที่สามารถบุกจู่โจมประเทศไทยได้ทันที ย่อมแสดงว่า ญี่ปุ่นใช้หลักการทางรัฐศาสตร์คือความยุติธรรมแห่งอำนาจที่เหนือกว่าเป็นความยุติธรรมทางธรรมชาติเฉกเช่นเดียวกับ เอเธนส์กระทำต่อมีลอส ซึ่งประเทศไทยไม่ควรปฏิบัติเยี่ยงมีลอสเนื่องจากผลลัพธ์คือความเสียหายอย่างใหญ่หลวงดังกล่าวแล้ว
           ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงขอกล่าวโดยสรุป   ดังนี้
  1. จอมพล พิบูลสงคราม  ควรเปิดโอกาสให้ประเทศ ญี่ปุ่นและประเทศไทย เจรจาต่อรองกันโดยเร็ว เนื่องจากขณะนี้ฝ่ายไทยเริ่มมีการสูญเสียเพิ่มขึ้นทุกขณะ
  2. ถึงแม้ประเทศไทยตกเป็นผู้ที่อ่อนแอกว่าแต่ไม่จำเป็นต้องยอมรับสภาพหรือข้อเสนอของญี่ปุ่นทุกประการเนื่องจากไทยตั้งอยู่ในสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อกองทัพญี่ปุ่น และยังเป็นแหล่งของเสบียงอาหารที่อุดมสมบูรณ์  ฉะนั้นประเทศไทยจะยอมรับเป็นแค่ทางผ่านเท่านั้นโดยประเทศไทยจะยังต้องรักษาอธิปไตยและความเป็นกลางไว้ได้ ไม่เช่นนั้นประเทศไทยอาจทำลายแหล่งเสบียงอาหารนั้นเสียเอง
  3. การกระทำในลักษณะเช่นนี้มิใช่การสูญเสียเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นแต่พียงการยอมรับกฏแห่งความยุติธรรมทางธรรมชาติและกลับมีประโยชน์ในแง่ของการออมกำลังทหารในวันนี้เพื่อหาโอกาสที่เหมาะสมในวันข้างหน้าเพื่อที่จะขับไล่กองทัพญี่ปุ่นให้พ้นประเทศไทย


                 ข้อ 2   แล้วท่านจะอธิบายให้ ประชาชน คนในสังคมฟังอย่างไร(ในฐานะที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม) (เพราะท่านเป็นผู้ให้คำแนะนำตามข้อ 1 ต้องมีเหตุผลบอกประชาชนคือจะเปิดให้ญี่ปุ่นเข้ามาหรือจะสู้และจะอธิบายต่อนานาชาติอย่างไร 
           ข้าพเจ้าจะอธิบายประชาชนในแง่ของการที่จะรักษาเลือดเนื้อของทหาร  ประชาชน และ ปกป้องอธิปไตยของชาติ  เนื่องจากในขณะนี้ญี่ปุ่นบุกประชิดทุกด้านพร้อมด้วยกองทัพและยุทธโธปกรณ์ที่แข็งแกร่ง    อังกฤษและอเมริกาเพลี่ยงพล้ำต่อญี่ปุ่น   ประเทศไทยต้องต่อสู้เพียงผู้เดียว  ฉะนั้นในสถานการ์ณเช่นนี้ถ้าประเทศไทยสู้จะก่อให้เกิดความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องยอมรับให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านประเทศไทย โดยที่ประเทศไทยยังสามารถรักษาอธิปไตยซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดไว้ได้และไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อของทหารและประชาชน ประเทศไทยยังต้องมองไปข้างหน้าเพื่อเตรียมสะสมกำลังอาวุธและทหารไว้เมื่อถึงโอกาสอันเหมาะสมในการขับไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศไทย
         สำหรับนานาชาตินั้น ข้าพเจ้าจะอธิบายว่าประเทศไทยมีความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด  โดยให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านเท่านั้น ซึ่งญี่ปุ่นยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว    เนื่องจากสถานการณ์ขณะนั้น ประเทศไทยโดดเดี่ยว อีกทั้งยังเป็นประเทศเล็กการสู้กับประเทศญี่ปุ่นด้วยวิธีการเช่นไรก็ตามไม่สามารถเอาชนะได้และจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตยและกำลังทหาร   โดยหวังว่านานาชาติจะเข้าใจสถานการณ์ในลักษณะเช่นนี้ 
 
 
            ข้อ 3  ในฐานะที่เป็นนักศึกษา ให้ประเมิน สิ่งที่จอมพล ทำมาในอดีต โดยอธิบายเชื่อมโยงกับความยุติธรรม
          ความหมายของ ความ ยุติธรรมตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2542
                 คำนาม  หมายถึง ความเที่ยงธรรมความชอบธรรม,ความชอบด้วยเหตุผลเช่น ศาลย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม
                   คำวิเศษณ์  หมายถึง   เที่ยงธรรมไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่งชอบด้วยเหตุผลเช่น ราคายุติธรรม กรรมการตัดสินอย่างยุติธรรม
            ฉะนั้น สิ่งที่จอมพล .  พิบูลสงครามทำมาในอดีตถือได้ว่ามีความยุติธรรมต่อทหาร   ประชาชน และประเทศชาติเนื่องจากมีความชอบด้วยเหตุผลในการกระทำดังกล่าว  
              ความยุติธรรมหรือการกระทำโดยชอบด้วยเหตุผลของจอมพล พิบูลสงคราม มีกระบวนการตามลำดับดังนี้
  1. ท่านได้แสดงความเป็นผู้นำทางความคิดเนื่องจากท่านได้แถลงทางได้ทางเสียให้ที่ประชุมฟังและคิดทางร้ายตามหลักการสงครามเพื่อเลือกทางเดินที่ดี ก่อนวันที่  8 ธันวาคม  2484
  2. มีการเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรี ไม่ตัดสินใจโดยพลการทั้งๆที่ท่านมีอำนาจพิจารณาสั่งการในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งจากการแถลงของท่านตามข้อ 1  ส่งผลให้มีมติคณะรัฐมนตรีออกมาในรูปแบบที่ชอบด้วยเหตุผลดังกล่าว
 ข้อ 4   ความยุติธรรมคืออะไรในบริบทของ THUCYDIDES
             “ The  Melian  Dialogue “  เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตาที่บันทึกโดย  ทูซีดิดิส    บทสนทนาดังกล่าวสะท้อนประเด็นปรัชญาความคิดทางการเมืองในเรื่องความยุติธรรมทางการเมืองระหว่างรัฐ   ซึ่งความหมายของ ความยุติธรรมตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2542
                 คำนาม  หมายถึง ความเที่ยงธรรมความชอบธรรม,ความชอบด้วยเหตุผลเช่น ศาลย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม
                   คำวิเศษณ์  หมายถึง   เที่ยงธรรมไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่งชอบด้วยเหตุผลเช่น ราคายุติธรรม กรรมการตัดสินอย่างยุติธรรม
                  แต่ในบริบทของ  ทูซีดิดิส   ความยุติธรรมทางการเมืองระหว่างรัฐเป็นความยุติธรรมตามธรรมชาติเหมือนกฎความโน้มถ่วงของโลก  ไม่ใช่เรื่องถูกผิดหรือความชั่วช้าเลวทราม  หลักของความยุติธรรมในบริบทของ   ทูซีดิดิส  ขึ้นอยู่กับการมีอำนาจบังคับที่เท่าเทียมกัน ผู้ที่แข็งแรงย่อมทำอะไรก็ได้ตามอำนาจที่เขามี ส่วนผู้ที่อ่อนแอก็ต้องยอมรับทุกสิ่งตามที่เขาจำต้องยอมรับซึ่งเป็นกฎธรรมชาติมนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้นเองและเป็นหลักการแห่งอำนาจที่เกิดขึ้นจากการแผ่จักรวรรดิในสภาวะสงคราม  สะท้อนความเชื่อที่ว่าการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ    โดย เอเธนส์กระทำต่อมีลอส อย่างยุติธรรมแล้วเนื่องจากอย่างไรเสียมีลอสก็จะต้องตกเป็นของเอเธนส์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นการเปิดโอกาสให้มีการเจรจากันเพื่อเสนอทางเลือกให้มีลอสได้มีโอกาสรักษาชีวิตผู้คนเอาไว้ถือว่าเป็นความยุติธรรมแล้ว

                                                                                                                                                                   ชวนะ เกียรติชวนะเสวี
                                                                                                                                  นักศึกษาปริญญาเอก สาขา การเมืองรุ่น1 ม.รามคําเเหง
                                                       3 jan 2010