#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขอเเสดงความยินดีกับคุณ มนู เขียวคราม ที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้ดํารงตําเหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตเขต 13 เเละ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตทุกท่านครับ
                                                                                      ด้วยความนับถือ
                                                                                  ชวนะ เกียรติชวนะเสวี น.บ.
                                                                              รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555


คำคมจากขงเบ้ง

ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555



                                                           ด.ช.  ชวนะ เกียรติชวนะเสวี

ผมจําได้สมัยผมเป็นเด็กยังชอบไปเดินลุยนํ้า ในสมัยนั้นนํ้าจะท่วมขังอยู่หลายวันต่างจากสมัยนี้ระบายนํ้าได้รวดเร็วเเละลงช่วยเหลือประชาชนได้ทันที ต้องขอขอบคุณเทศบาลนคร ครับ

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผมมองว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตน่าจะหาที่สร้างเตาเผาขยะเเห่งใหม่เพื่อเเก้ปัญหาภาพรวมทั้งจังหวัดซึ้งเป็นหน้าที่อยู่เเล้วในการที่จะเเก้ปัญหาในภาพรวมของจังหวัดภูเก็ตตามภารกิจ เพราะนับวันปัญหาขยะจะทวีความรุนเเรงมากขึ้นครับ
ผมมักจะได้ยินคําพูดนี้เสมอ เล็กๆไม่ใหญ่ๆทํา นั้นคือภารกิจของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด 
พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2546

มาตรา 45 องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังต่อไปนี้
     (1) ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
     (2) จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
     (3) สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่น
     (4) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสถาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
     (5) แบ่งสรรซึ่งตามกฏหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
     (6) อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 เฉพาะภายในเขตสภาตำบล
     (7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (7 ทวิ) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
     (8) จัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือ ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
     (9) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฏหมายอื่นกำหนดให้ เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริการส่วนจังหวัด บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็น ของราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคอาจมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 45/1 การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วน จังหวัด การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

มาตรา 46 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจจัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่อยู่นอกเขตจังหวัดได้ เมื่อได้รับความยินยอมจากราชการส่วนท้องถิ่นอื่นหรือองค์การบริหารส่วน จังหวัดอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฏกระทรวง
มาตรา 47 กิจการใดเป็นกิจการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพึงจัดทำตามอำนาจหน้าที่ ถ้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่จัดทำ รัฐมนตรีโดยความ เห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจมีคำสั่งให้ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาค จัดทำกิจการนั้นได้ ในกรณีที่ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจัดทำ กิจการตามวรรคหนึ่งให้คิดค่าใช้จ่ายและค่าภาระต่างๆ ตามความเป็นจริงได้ตามอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสม

มาตรา 48 องค์การ บริหารส่วนจังหวัดอาจมอบให้เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นโดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติ

มาตรา 49 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจ หน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการหรือค่า ตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อน
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้กระทำกิจการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
สิทธิในการกระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไปไม่ได้

มาตรา 50 การดำเนินกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีลักษณะเป็นการพาณิชย์ อาจทำได้โดยตราเป็นข้อบัญญัติ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 

มาตรา 17 ภายใต้บังคับมาตรา 16 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
          1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
          2. การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
          3. การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          4. การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายนจะต้องแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
          5. การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          6. การจัดการศึกษา
          7. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
          8. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
          9. การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
          10. การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม
          11. การกำจัดมูลฝอยและสิงปฏิกูลรวม
          12. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ
          13. การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ
          14. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
          15. การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่น
          16. การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
          17. การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง
          18. การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
          19. การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ
          20. การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ
          21. การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร
          22. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
          23. การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด
          24. จัดทำกิจการใดอันเป็นอำนาจและหน้าที่ขององคืกรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ อยู่ในเขต และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการ หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
          25. สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
          26. การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          27. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
          28. จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
          29. กิจการการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

ประกาศคณะ กรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2546

     ข้อ 1 ลักษณะของการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในการให้บริการสาธารณะในเขตจังหวัด
          (1) ดําเนินงานในโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่เกินศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตจังหวัด
          (2) เป็นการดําเนินงานที่ปรากฏถึงกิจกรรมที่เป็นภาพรวมขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นในจังหวัด ที่มุ่งต่อประโยชน์ของท้องถิ่นหรือประชาชนเป็นส่วนรวม และไม่เข้าไปดำเนินงานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดสามารถดํา เนินการได้เอง
          (3) เข้าไปดําเนินงานตามแผนงานหรือโครงการในลักษณะที่มีความคาบเกี่ยวต่อเนื่อง หรือมีผู้ที่ได้รับประโยชน์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่า 1 แห่งขึ้นไป
     ข้อ 2 ในการดําเนินการตามอํานาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามข้อ 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดควรจะดําเนินการเพื่อให้เป็นไปในลักษณะดังนี้ คือ
          (1) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและประสานการจัดทําแผนจังหวัด โดยการสร้างและพัฒนาระบบการประสานแผนการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดเพื่อนําไป สู่การใช้จ่ายงบประมาณในการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสม ดุลย์และคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
          (2) การก่อสร้างและบํารุงรักษาโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หรือมีการ เกี่ยวเนื่องกันหลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือในลักษณะที่เป็นเครือข่ายหลักในการเชื่อมโยงกับแผนงานโครงการที่ดําเนิน การโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด
          (3) การจัดการศึกษา สาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในระดับจังหวัด และไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายศักยภาพและมุ่งต่อผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาการศึกษา สาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด
          (4) การส่งเสริมจารีต ประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การส่งเสริมการลงทุน และพาณิชย กรรมของจังหวัด
          (5) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทําหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลรวม การดูแลระบบบําบัดน้ำเสียรวมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด
          (6) ให้บริการด้านเทคนิค วิชาการ เครื่องมือ เครื่องจักรกล บุคลากร แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตจังหวัด
          (7) ดําเนินการตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจตามที่กําหนดไว้ในแผนปฏิบัติ การกําหนดขั้นตอนการกระจาย อํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมถ่ายโอนที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด “มีหน้าที่ที่ต้องทํา”
     ข้อ 3 การสนับสนุนงบประมาณให้แก่ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค จะกระทําได้แต่เฉพาะกรณีที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่จะต้องดําเนินการเอง แต่ไม่สามารถดําเนินการเองได้ เนื่องจากเป็นงานปฏิบัติซึ่งจะต้องใช้เทคนิควิชาการสูง และหน่วยงานของรัฐนั้นมีความสามารถที่จะดําเนินการได้ดีกว่า และผลของการให้การสนับสนุนนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานตามอํานา จหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
การสนับสนุนให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด จะกระทําได้ในกรณีที่เร่งด่วนและจำเป็นหากไม่ดําเนินการจะก่อให้เกิดความ เสียหายอย่างร้ายแรงต่อประชาชน
การให้การสนับสนุนแก่ประชาคม องค์กรประชาชน ควรเป็นไปในลักษณะของการส่งเสริมความสามารถดำเนินการ โดยใช้ศักยภาพของตนเองในการบริหารจัดการในลักษณะของการร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมรับผลประโยชน์ โดยไม่ให้การสนับสนุนในลักษณะของการให้สิ่งของ หรือการเข้าไปดำเนินการแทน
     ข้อ 4 หากมีปัญหา ข้อขัดข้อง ในการดำเนินงานตามอำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามที่กำหนด ไว้ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ในการวินิจฉัยและดำเนินการตามประกาศนี้

ประกาศคณะกรรมการการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง หลักเกณฑ์ในการสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลในการให้บริการสาธารณะ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552

     ข้อ 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล อาจสนับสนุนงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในจังหวัดในภารกิจด้านการศึกษาหรือด้านการสาธารณสุข ได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ภารกิจ อื่นนอกจากภารกิจด้านการศึกษาหรือด้านการสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งจะสนับสนุนได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการอำนวยการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัดเป็นรายกรณีไป
     ข้อ 2 การสนับสนุนงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามข้อ 1 จะกระทำได้ต่อเมื่อ
          (1) ภารกิจที่จะสนับสนุนจะต้องเป็นภารกิจที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้สนับสนุน
          (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้สนับสนุน ต้องกำหนดโครงการอันเป็นภารกิจหลักของตนเองตามแผนพัฒนาท้องถิ่นที่กำหนดไว้ ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเสียก่อน แล้วจึงสนับสนุนงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
          (3) การให้การสนับสนุนงบประมาณแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ต้องคำนึงถึงสถานะทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้สนับสนุนด้วย
     ข้อ 3 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ขอรับการสนับสนุนเสนอโครงการที่จะขอรับการสนับ สนุนต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล ที่จะให้การสนับสนุนแล้วแต่กรณี พร้อมทั้งเหตุผลและรายละเอียดว่าโครงการมีงบประมาณไม่เพียงพอในการดำเนินการ และมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน
การเสนอขอรับการสนับ สนุนตามวรรคหนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ขอรับการสนับสนุนต้องแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมใน โครงการที่เสนอ โดยแบ่งส่วนที่ผู้รับการสนับสนุนมีงบประมาณของตนเองและส่วนที่จะขอรับการ สนับสนุนให้ชัดเจน
     ข้อ 4 เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้สนับสนุนเห็นสมควรสนับสนุนโครงการตามข้อ 3 ให้นำโครงการนั้นบรรจุไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินและมีความจำ เป็นต้องดำเนินการตามโครงการโดยด่วนจะไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่งก็ได้ แต่ให้รายงานการสนับสนุนดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการอำนวยการการกระจายอำนาจให้ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัดทราบด้วย
     ข้อ 5 การสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้สนับสนุนเป็นเงิน บุคลากร วัสดุครุภัณฑ์ และปรับปรุง ซ่อมแซม หรือก่อสร้างอาคาร ตลอดจนสิ่งก่อสร้างอื่น ได้ไม่เกินร้อยละสิบของรายได้ของปีงบประมาณที่ผ่านมาโดยไม่รวมเงินอุดหนุน จากรัฐ
การคำนวณวงเงินงบประมาณตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงงบประมาณที่สนับสนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ในเขตจังหวัดด้วย
การสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง จะสนับสนุนโดยใช้งบประมาณของตนและดำเนินการแทนก็ได้
     ข้อ 6 การสนับสนุนของเทศบาล
          (1) เทศบาลขนาดใหญ่อาจสนับสนุนเป็นเงินเพื่อให้ใช้จ่ายในด้านบุคลากร วัสดุ ครุภัณฑ์ และการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหรือสิ่งก่อสร้างอื่นได้มาเกินร้อยละสองของราย ได้ของปีงบประมาณที่ผ่านมาโดยไม่รวมเงินอุดหนุนจากรัฐ
          (2) เทศบาลขนาดกลางและเทศบาลขนาดเล็กอาจสนับสนุนเป็นเงินเพื่อให้ใช้จ่ายในด้าน บุคลากร วัสดุ ครุภัณฑ์และการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหรือสิ่งก่อสร้างอื่นได้ไม่เกินร้อยละ สามของรายได้ของปีงบประมาณที่ผ่านมาโดยไม่รวมเงิน    อุดหนุนจากรัฐ
ขนาดของเทศบาลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
     ข้อ 7 การสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนตำบลให้สนับสนุนเป็นเงินเพื่อให้ใช้จ่ายใน ด้านบุคลากร วัสดุ ครุภัณฑ์ และการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหรือสิ่งก่อสร้างอื่นได้ไม่เกินร้อยละห้าของราย ได้ของปีงบประมาณที่ผ่านมาโดยไม่รวมเงิน        อุดหนุนจากรัฐ
     ข้อ 8  กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด มีความจำเป็นต้องสนับสนุนงบประมาณในโครงการใดเกินอัตราหรือไม่อาจดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ให้เสนอต่อคณะอนุกรรมการอำนวยการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณีไป
                                                           ด้วยความนับถือ
                                                                           นาย  ชวนะ เกียรติชวนะเสวี นบ .

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฝ่ายสภาทําหน้าที่ตรวจสอบเเละสนับสนุนถ้าเห็นว่าฝ่ายบริหารทําถูกต้อง

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ท้องถิ่นคือผู้ให้บริการเเละประชาชนคือผู้รับบริการ 

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับ ระบบโรงเรียนมาตรฐานในมุมมองของประชาชน

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทบาทหน้าที่ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับการขยายตัวของห้างค้าปลีกข้ามชาติ

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รองศาสตร์วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
สถานการณ์ปัจจุบันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยเเละทิศทางการกระจายอํานาจ
โดย รองศาสตร์วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

ข้อมูล เอกสาร

                                          ด้วยความเคารพอย่างสูง
                                          ชวนะ เกียรติชวนะเสวี น.บ.
                                          รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การขยายตัวของห้างต่างชาตินับวันจะมากขึ้น กับการที่ทุนท้องถิ่นที่ขยายตัวเช่น  ซุปเปอร์ชิป ภูเก็ต ผมยังชื่นชมว่า  ทุนท้องถิ่นเช่น ซุปเปอร์ชิป ภูเก็ต  ยิ่งเข้มเเข็ง ประเทศก็จะมีความเช้มเเข็ง

ชวนะ เกียรติชวนะเสวี
รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต