#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ผ่า...ผังเมืองรวมภูเก็ตฉบับใหม่คุมเข้มทั้งเมือง-36 เกาะบริวาร

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128 ตอนที่ 55 ได้ประกาศ  กฎหมายผังเมืองรวม
จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2554 มีระยะเวลาการบังคับใช้ 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 6 กรกฎาคม 2559

โดยให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่จังหวัดภูเก็ตและเกาะบริวารทั้งหมดประมาณ 36 เกาะ ครอบคลุม
พื้นที่ใน3 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอถลาง และอำเภอกระทู้ พื้นที่รวมทั้งสิ้น 714.8 ตารางกิโลเมตร จาก
เดิมครอบคลุมเฉพาะในท้องที่จังหวัดภูเก็ตเนื้อที่เพียง 543.5 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น

สำหรับผังเมืองรวมเกาะภูเก็ต พ.ศ.2548 กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ประกาศใช้บังคับ 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 25
มีนาคม 2548 ถึงวันที่ 24 มีนาคม 2553และได้มีการขยายเวลาการใช้บังคับออกไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่
25 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 24 มีนาคม2554 และครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2554 ถึงวันที่ 24 มีนาคม 2555

โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต วงศกร นุ่นชูคันธ์ ชี้แจงว่า ผังเมืองรวมฉบับนี้มีนโยบายและมาตรการ
เพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดินโครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถ
รองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและ
พัฒนาเศรษฐกิจภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางการบริหารและการปกครอง การท่องเที่ยวการค้าบริการ และพัฒนาจังหวัด
ภูเก็ตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ รวมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เพิ่มใช้ประโยชน์ที่ดิน 16 ประเภท

สาระสำคัญการเปลี่ยนแปลงระหว่างผังเมืองรวมเกาะภูเก็ต ปี 2548 กับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต ปี 2554
สรุปคือมีการเพิ่มประเภทสีการใช้ประโยชน์ของพื้นที่จากเดิม 13 ประเภทเป็น 16 ประเภท ประกอบด้วย

1) สีเหลือง ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย

2) สีส้ม ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง

3) สีแดง ประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก 4) สีม่วงประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า5)
สีม่วงอ่อน ประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ 6) สีเขียว ประเภทชนบทและเกษตรกรรม 7) สีเขียวอ่อน ประเภทที่
โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 8) สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว ประเภทอนุรักษ์ป่าไม้

9) สีเขียวมะกอก ประเภทสถาบันการศึกษา

10) สีน้ำตาลอ่อน ประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

11) สีเทาอ่อน ประเภทสถาบันศาสนา

12) สีน้ำเงิน ประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

13) สีชมพู ประเภทโครงการคมนาคมและขนส่ง

ส่วนที่เพิ่มใหม่มี 3 ประเภท คือ

14) สีฟ้า ประเภทที่โล่งเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวและการประมง

15) สีฟ้ามีเส้นทแยงสีขาว ประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการ และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล 16) สีฟ้ามี
กรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาลอ่อน ประเภทอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง
ทะเล เข้ม 7 กิจการใช้ที่ดินไม่เกิน 5%

นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางส่วน เช่น จากเดิมที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
หรือสีเหลือง ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย การท่องเที่ยว สถาบันราชการการสาธารณูปโภคและ
สาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการใช้ที่ดินเพื่อกิจการอื่น  ให้ใช้เพิ่มได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 ของที่ดินประเภทนี้ใน
แต่ละบริเวณ เดิมให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต

ที่ดินประเภทนี้ประกอบด้วย 1)โรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานที่ประกอบ
กิจการโดยไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข หรือไม่เป็นมลพิษต่อชุมชน หรือ
สิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

2) คลังน้ำมันเชื้อเพลิง และสถานที่ใช้ในการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ใช่ก๊าซปิโตรเลียมเหลวและก๊าซ
ธรรมชาติเพื่อจำหน่าย ที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง เว้นแต่เป็นสถานีบริการ
น้ำมันเชื้อเพลิง

3) สถานที่บรรจุก๊าซ สถานที่เก็บก๊าซ และห้องบรรจุก๊าซ สำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามกฎหมายว่าด้วย
การควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ไม่หมายความรวมถึงสถานีบริการ ร้านจำหน่ายก๊าซ สถานที่ใช้ก๊าซและสถานที่
จำหน่ายอาหารที่ใช้ก๊าซ

4) เลี้ยงม้า โค กระบือ สุกร แพะแกะ ห่าน เป็ด ไก่ งู จระเข้ หรือสัตว์ป่า ตามกฎหมายว่าด้วยการสงวน และ
คุ้มครองสัตว์ป่าเพื่อการค้า

5) โรงฆ่าสัตว์

6) ไซโลเก็บผลิตผลทางการเกษตร

7) กำจัด มูลฝอย

นอกจากนี้ กฎกระทรวงฉบับล่าสุดได้เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินประเภทนี้ว่าในเขตปฏิรูปที่ดินให้ใช้
ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ดินประเภทนี้ในเขตแนว
อุทยานแห่งชาติให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวน

และคุ้มครองดูแลรักษา หรือบำรุงป่าไม้

สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้
การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

หลังการประกาศใช้กฎกระทรวงดังกล่าว มีเสียงสะท้อนจากหลายฝ่ายเรื่องการเปลี่ยนแปลงการใช้
ประโยชน์ที่ดิน เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคเอกชนในการเข้ามาร่วม
วางแผนกำหนดทิศทางของเมืองภูเก็ต ทำให้ผังเมืองรวมฉบับใหม่นี้มีข้อจำกัดต่อการลงทุนและการเติบโตของ
เมือง เนื่องจากภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติที่เปิดรับการลงทุนเต็มที่

อีกทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์กำลังเฟื่องฟู ซึ่งเจ้าของที่ดินในบางพื้นที่ไม่สามารถที่จะลงทุนโครงการใหม่ได้
จึงมีเสียงท้วงติงเรียกร้องให้มีการทบทวนแก้ไขกฎกระทรวงฉบับนี้ เพราะใช้บังคับต่อเนื่องนานถึง 5 ปีผังเมือง
รวมฉบับใหม่มีข้อจำกัดต่อการลงทุนและการเติบโตของเมือง เนื่องจากภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติที่เปิดรับ
การลงทุนเต็มที่

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ [ 15-09-2011 ]