#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

การที่อาจารย์เฉลยว่าทําไมถึงฉีก
ก็เหมือนการเฉลยข้อสอบที่นักศึกษาได้ใช้ในการดําเนินชึวิตต่อไปถ้าไม่เฉลย คงถามอาจารย์ฉีกทําไม๊ยิ่งอาจารย์ฉึกคนเดียวรู้คนเดียวเเต่มีผลทั่วประเทศผมจะถามคําตอบใครดีครับซึ้งตรงนี้ผมก็โดนสอบถามจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นจํานวนมากเพราะในสมัยนั้นผมได้มีโอกาศได้เรียนกับอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์รวมถึงผมได้ผ่านการสัมภาษณ์จากอาจารย์ก่อนที่จะได้เข้าเรียนที่ธรรมศาสตร์หลังจากผ่านข้อเขียนเเละสอนผมในช่วงที่เกิดเหตุการณ์พอดีเป็นช่วงที่ผมเองก็ต้องมาทําความเข้าใจเเละหาข้อมูลเเละพูดคุยกับอาจารย์จนเข้าใจถึงปัญหาว่าทําไมเเละเหตุผลที่อาจารย์ต้องฉีกบัตรเลือกตั้งถ้าเป็นข้อสอบ open book เช่น    ถามว่าการฉีกบัตรเลือกตั้ง ของ รองศาสตราจารย์ ดร. ไชยันต์ ไชยพร ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่า การฉีกบัตรนั้น ผิดกฎหมายเลือกตั้งเเล้วอาจารย์ไม่มีเหตุผลเเละคําตอบ จะให้คุลยพินิจย์ในการตรวจตอบข้อสอบ เเล้วพวกผมจะใช้เเนวทางใหนในการทํางานให้ประเทศดีครับซึ้งผมเข้าใจประชาชนเเต่วันนี้ผมตอบประชาชนด้วยความเข้าใจ


. May - ไชยันต์ ไชยพร : “เราไม่ควรเอาตัวของเราไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรับรองการกระทำความผิดทางการเมืองของผู้นำ”
คําพูดสั้นเเต่ได้ใจความครับ
ด้วยจิตคารวะ
ชวนะ เกียรติชวนะเสวี

 เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หลังจากที่มีการประกาศยุบสภาก่อนหน้านั้น (ในเดือนกุมภาพันธ์) ได้เกิดกรณีที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วประเทศ นั่นก็คือการฉีกบัตรเลือกตั้ง ของ รองศาสตราจารย์ ดร. ไชยันต์ ไชยพร 
ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่า การฉีกบัตรนั้น ผิดกฎหมายเลือกตั้ง (พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541) มาตรา 108 ซึ่งกำหนดโทษไว้ว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี
แต่อาจารย์ไชยันต์ให้เหตุผลว่า “...การยุบสภาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ไม่ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยตัวแทนแบบรัฐสภา เพราะรัฐบาลยังมิได้พยายามดำเนินการตามรัฐธรรมนูญให้ถึงที่สุดในการแก้ไข้ปัญหาที่เกิดขึ้น...”
โดยการกระทำครั้งนี้ อาจารย์ไชยันต์ ถือว่าเป็นอารยะขัดขืนอย่างหนึ่ง และได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญมาตรา 65 ซึ่งให้สิทธิต่อต้านไว้ (ส่วนกฎหมายเลือกตั้งนั้นเป็นกฎหมายลูก จะเหนือรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายแม่ไม่ได้)
บทสัมภาษณ์นี้เป็นการเปิดใจ หลังจากเกิดเหตุการณ์ฉีกบัตรเลือกตั้งไม่นาน

6. June - วาณิช จรุงกิจอนันต์ มิตรภาพ ความหลัง ชะตากรรม และผองเพื่อน







ถ้าถามว่าคุณวาณิช มีบทบาทอะไรในการต่อต้านทักษิณในครั้งนี้ ข้าพเจ้านึกอยู่นานก็นึกไม่ออก นอกจากจะบอกว่า นี่อาจจะเป็นตัวอย่างของเหยื่อที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร แล้วโดนลูกหลงจากกระแสความเกลียดชัง และ ไม่ไว้วางใจ "เครือข่าย" ของคุณทัก
ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 นั้น นอกจากมีข่าวการถอดถอนรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลแล้ว ก็ยังมีอีกข่าวหนึ่งที่โด่งดังไม่แพ้กัน นั่นก็คือข่าวการเข้าซื้อหุ้นมติชน (และ Bangkok Post) โดยไพบูลย์ ดำรงค์ชัยธรรม แห่งแกรมมี่ โดยกล่าวกันว่า นี่คือตัวอย่างของการเข้าครอบครองกิจการแบบ “ไม่เป็นมิตร”
เนื่องจากคุณวานิช เจ้าของรางวัลซีไรท์คนนี้ มีตำแหน่งทั้งในมติชน และ แกรมมี่ ชาวมติชนเห็นว่าคุณวานิชหักหลังมติชน ที่ไม่ยอมแจ้งข่าวให้รู้ก่อนว่า แกรมมี่จะมาเข้าครอบครองกิจการมติชน จนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 นั้นเอง ก็มีการเขียนข่าวโจมตีในหน้ามติชนในทำนองว่า คุณวานิชเป็นคน “กินบนเรือน ขี้บนหลังคา” และ “เป็นไส้ศึก หนอนบ่อนไส้”

คุณวานิชจึงได้ฟ้องร้อง มติชน ฐานหมิ่นประมาทเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2548 แต่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้อง

บทสัมภาษณ์นี้จึงเป็นชิ้นเดียวใน October 6 ที่บันทึกปากคำซึ่งแทบไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับบรรยากาศการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2549






Reforming Thailand เป็นความร่วมมือของทีมนักวิจัยโครงการ “การสร้างองค์ความรู้เพื่อการปฎิรูปการเมือง” (Preparing Knowledge for Political Reform) ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และทีมงานของwww.onopen.com
โครงการนี้มี ดร. อัมมาร สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา ทีมวิจัยมี ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) เป็นหัวหน้า สมาชิกประกอบด้วย รศ. ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ดร. กิติวัฒน์ อุชุปาละนันท์ ผศ. สิริพรรณ นกสวน (คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และ ปกป้อง จันวิทย์ (คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
สัมภาษณ์เมื่อ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งในบทสัมภาษณ์นี้ทางผู้วิจัยได้ถามในประเด็นต่าง ๆ ถึงแนวคิดการปฎิรูปการเมืองไทย และบางอย่างซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญแต่มิได้เขียนอยู่ในรัฐธรรมนูญ หรือ อาจจะเรียกว่า รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม
ซึ่งโดยที่สุดแล้ว การปฎิรูปนี้ที่แท้แล้ว อาจจะหมายถึงการปฎิรูป “คุณค่า” (value) ที่คนในสังคมจะยึดถือ เช่นอะไรเป็นสิ่งที่ถูก อะไรผิด อะไรเป็นสิ่งที่ยอมรับให้เกิดขึ้นได้ หรือ ไม่อาจจะยอมได้..
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

October No.6
Political Economy & International Relations
ปฎิวัติ 2549
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2550
ISBN 978-974-8233-06-2
บรรณาธิการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
ผู้ช่วยบรรณาธิการ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์
สำนักพิมพ์ openbooks
จัดจำหน่าย บริษัท เคล็ดไทย จำกัด
408 หน้า

วิชา ปรัชญาการเมือง  ที่ผมเรียน ม ราม
Homework 1

ใน5 ข้อหลักที่ผมทําส่งอาจารย์ ไชยยันต์ ไชยพ
สมมุติว่าท่านเป็นที่ปรึกษาความมั่นคงของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม และเมื่อท่านได้อ่าน THUCYDIDES และเอกสารของจอมพล  ป.แล้ว (เอกสารที่อาจารย์แจก)
ข้อ 1 ท่านจะให้คำแนะนำจอมพล ป. อย่างไรในกรณีที่ญี่ปุ่นเข้ามา
       จาก  “  The  Melian  Dialogue “  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตาที่บันทึกโดย  ทูซีดิดิส  ทำให้ข้าพเจ้าได้แนวคิดทางรัฐศาสตร์ในแง่ของ ความยุติธรรมแห่งอำนาจที่เหนือกว่า  แนวคิดดังกล่าวข้าพเจ้าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นที่ปรึกษาจอมพล ป. พิบูลสงครามดังนี้
          ญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอำนาจที่แข็งแกร่ง มีกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์เหนือกว่าประเทศไทย จอมพล ป. พิบูลสงครามควรตระหนักว่าประเทศไทยในอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอกว่าประเทศญี่ปุ่นและญี่ปุ่นบุกมาประชิดทุกทางแล้วในเวลานั้น ฉะนั้นไม่ว่าจะทำการตั้งรับด้วยวิธีการใดก็ตามย่อมประสบต่อความปราชัยอย่างแน่นอน  อีกทั้งประเทศอังกฤษที่เป็นพันธมิตรก็ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือใดๆ      จากประวัติศาสตร์ของมีลอสแสดงให้เห็นว่า  การต่อสู้เพื่อเกียรติและศักดิ์ศรีมิได้ประโยชน์อันใดเลย นอกจากสูญเสียเลือดเนื้อของทหารและประชาชนแล้วก็ยังไม่สามารถรักษาอธิปไตยของชาติไว้ได้  การที่ญี่ปุ่นเปิดโอกาสให้มีการเจรจาต่อรองทั้งที่สามารถบุกจู่โจมประเทศไทยได้ทันที ย่อมแสดงว่า ญี่ปุ่นใช้หลักการทางรัฐศาสตร์คือความยุติธรรมแห่งอำนาจที่เหนือกว่าเป็นความยุติธรรมทางธรรมชาติเฉกเช่นเดียวกับ เอเธนส์กระทำต่อมีลอส ซึ่งประเทศไทยไม่ควรปฏิบัติเยี่ยงมีลอสเนื่องจากผลลัพธ์คือความเสียหายอย่างใหญ่หลวงดังกล่าวแล้ว
          ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงขอกล่าวโดยสรุป   ดังนี้
1.จอมพล ป. พิบูลสงคราม  ควรเปิดโอกาสให้ประเทศ ญี่ปุ่นและประเทศไทย เจรจาต่อรองกันโดยเร็ว เนื่องจากขณะนี้ฝ่ายไทยเริ่มมีการสูญเสียเพิ่มขึ้นทุกขณะ
2.ถึงแม้ประเทศไทยตกเป็นผู้ที่อ่อนแอกว่าแต่ไม่จำเป็นต้องยอมรับสภาพหรือข้อเสนอของญี่ปุ่นทุกประการเนื่องจากไทยตั้งอยู่ในสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อกองทัพญี่ปุ่น และยังเป็นแหล่งของเสบียงอาหารที่อุดมสมบูรณ์  ฉะนั้นประเทศไทยจะยอมรับเป็นแค่ทางผ่านเท่านั้นโดยประเทศไทยจะยังต้องรักษาอธิปไตยและความเป็นกลางไว้ได้ ไม่เช่นนั้นประเทศไทยอาจทำลายแหล่งเสบียงอาหารนั้นเสียเอง
3.การกระทำในลักษณะเช่นนี้มิใช่การสูญเสียเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นแต่พียงการยอมรับกฏแห่งความยุติธรรมทางธรรมชาติและกลับมีประโยชน์ในแง่ของการออมกำลังทหารในวันนี้เพื่อหาโอกาสที่เหมาะสมในวันข้างหน้าเพื่อที่จะขับไล่กองทัพญี่ปุ่นให้พ้นประเทศไทย
 ข้อ 2   แล้วท่านจะอธิบายให้ ประชาชน คนในสังคมฟังอย่างไร(ในฐานะที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม) (เพราะท่านเป็นผู้ให้คำแนะนำตามข้อ 1 ต้องมีเหตุผลบอกประชาชน) คือจะเปิดให้ญี่ปุ่นเข้ามาหรือจะสู้และจะอธิบายต่อนานาชาติอย่างไร
          ข้าพเจ้าจะอธิบายประชาชนในแง่ของการที่จะรักษาเลือดเนื้อของทหาร  ประชาชน และ ปกป้องอธิปไตยของชาติ  เนื่องจากในขณะนี้ญี่ปุ่นบุกประชิดทุกด้านพร้อมด้วยกองทัพและยุทธโธปกรณ์ที่แข็งแกร่ง    อังกฤษและอเมริกาเพลี่ยงพล้ำต่อญี่ปุ่น   ประเทศไทยต้องต่อสู้เพียงผู้เดียว  ฉะนั้นในสถานการ์ณเช่นนี้ถ้าประเทศไทยสู้จะก่อให้เกิดความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องยอมรับให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านประเทศไทย โดยที่ประเทศไทยยังสามารถรักษาอธิปไตยซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดไว้ได้และไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อของทหารและประชาชน ประเทศไทยยังต้องมองไปข้างหน้าเพื่อเตรียมสะสมกำลังอาวุธและทหารไว้เมื่อถึงโอกาสอันเหมาะสมในการขับไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศไทย
        สำหรับนานาชาตินั้น ข้าพเจ้าจะอธิบายว่าประเทศไทยมีความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด  โดยให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านเท่านั้น ซึ่งญี่ปุ่นยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว    เนื่องจากสถานการณ์ขณะนั้น ประเทศไทยโดดเดี่ยว อีกทั้งยังเป็นประเทศเล็กการสู้กับประเทศญี่ปุ่นด้วยวิธีการเช่นไรก็ตามไม่สามารถเอาชนะได้และจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตยและกำลังทหาร   โดยหวังว่านานาชาติจะเข้าใจสถานการณ์ในลักษณะเช่นนี้
ข้อ 3  ในฐานะที่เป็นนักศึกษา ให้ประเมิน สิ่งที่จอมพล ป. ทำมาในอดีต โดยอธิบายเชื่อมโยงกับความยุติธรรม
         ความหมายของ ความ ยุติธรรมตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
                คำนาม  หมายถึง ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม,ความชอบด้วยเหตุผล, เช่น ศาลย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม
                  คำวิเศษณ์  หมายถึง   เที่ยงธรรม, ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, ชอบด้วยเหตุผล, เช่น ราคายุติธรรม กรรมการตัดสินอย่างยุติธรรม
           ฉะนั้น สิ่งที่จอมพล ป.  พิบูลสงครามทำมาในอดีตถือได้ว่ามีความยุติธรรมต่อทหาร   ประชาชน และประเทศชาติเนื่องจากมีความชอบด้วยเหตุผลในการกระทำดังกล่าว  
             ความยุติธรรมหรือการกระทำโดยชอบด้วยเหตุผลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีกระบวนการตามลำดับดังนี้
1.ท่านได้แสดงความเป็นผู้นำทางความคิดเนื่องจากท่านได้แถลงทางได้ทางเสียให้ที่ประชุมฟังและคิดทางร้ายตามหลักการสงครามเพื่อเลือกทางเดินที่ดี ก่อนวันที่  8 ธันวาคม  2484
2.มีการเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรี ไม่ตัดสินใจโดยพลการทั้งๆที่ท่านมีอำนาจพิจารณาสั่งการในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งจากการแถลงของท่านตามข้อ 1  ส่งผลให้มีมติคณะรัฐมนตรีออกมาในรูปแบบที่ชอบด้วยเหตุผลดังกล่าว
ข้อ 4   ความยุติธรรมคืออะไรในบริบทของ THUCYDIDES
        “ The  Melian  Dialogue “  เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตาที่บันทึกโดย  ทูซีดิดิส    บทสนทนาดังกล่าวสะท้อนประเด็นปรัชญาความคิดทางการเมืองในเรื่องความยุติธรรมทางการเมืองระหว่างรัฐ   ซึ่งความหมายของ ความยุติธรรมตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
                คำนาม  หมายถึง ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม,ความชอบด้วยเหตุผล, เช่น ศาลย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม
                  คำวิเศษณ์  หมายถึง   เที่ยงธรรม, ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, ชอบด้วยเหตุผล, เช่น ราคายุติธรรม กรรมการตัดสินอย่างยุติธรรม
                 แต่ในบริบทของ  ทูซีดิดิส   ความยุติธรรมทางการเมืองระหว่างรัฐเป็นความยุติธรรมตามธรรมชาติเหมือนกฎความโน้มถ่วงของโลก  ไม่ใช่เรื่องถูกผิดหรือความชั่วช้าเลวทราม  หลักของความยุติธรรมในบริบทของ   ทูซีดิดิส  ขึ้นอยู่กับการมีอำนาจบังคับที่เท่าเทียมกัน ผู้ที่แข็งแรงย่อมทำอะไรก็ได้ตามอำนาจที่เขามี ส่วนผู้ที่อ่อนแอก็ต้องยอมรับทุกสิ่งตามที่เขาจำต้องยอมรับซึ่งเป็นกฎธรรมชาติมนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้นเองและเป็นหลักการแห่งอำนาจที่เกิดขึ้นจากการแผ่จักรวรรดิในสภาวะสงคราม  สะท้อนความเชื่อที่ว่าการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ    โดย เอเธนส์กระทำต่อมีลอส อย่างยุติธรรมแล้วเนื่องจากอย่างไรเสียมีลอสก็จะต้องตกเป็นของเอเธนส์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นการเปิดโอกาสให้มีการเจรจากันเพื่อเสนอทางเลือกให้มีลอสได้มีโอกาสรักษาชีวิตผู้คนเอาไว้ถือว่าเป็นความยุติธรรมแล้ว

Homework2
รูปแบบการปกครองของรัฐแนวคิดของอริสโตเติล
         อริสโตเติล ได้จำแนกลักษณะการปกครองของรัฐต่างๆ โดยใช้ คุณภาพของการปกครองและจำนวนผู้ปกครองเป็นเกณฑ์  
แบ่งโดยเกณฑ์คุณภาพ
1. 
รูปแบบการปกครองที่ดี
2. รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี
แบ่งโดยเกณฑ์จำนวนผู้ปกครอง
เป็นการปกครองโดยคนเดียว ( The one  )
1.1  
ราชาธิปไตย  (Monarchy) 
ทรราชย์  (Tyranny) 
เป็นการปกครองโดยคนหลายคน  ( The  many )
             เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
        2.1  อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) 
คณาธิปไตย (Oligarchy) 
         เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
        2.3  โพลิตี้ (Polity)
        2.4 
ประชาธิปไตย (Democracy) 
สรุปได้เป็น 6 รูปแบบการปกครองของรัฐ ดังนี้
รูปแบบการปกครองที่ดี   เรียงตามลำดับจากดีมากไปยังดีน้อย
1.1. 
ราชาธิปไตย (Monarchy) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
1.2. 
อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
1.3. 
โพลิตี้ (Polity) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
2. 
รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี  เรียงตามลำดับจากเลวน้อยไปยังเลวมาก
2.1. 
ทรราชย์ (Tyranny) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
2.2. 
คณาธิปไตย (Oligarchy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
2.3. 
ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
              อริสโตเติลได้อธิบายว่า รูปแบบการปกครองใดก็ตาม ที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ถือเป็นรูปแบบที่ดี ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปกครองที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนวจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก นั้น เป็นรูปแบบที่ไม่ดี
               ระบบการปกครองที่ดีที่สุดตามทรรศนะของเขา คือ ระบบ โพลิตี้  เป็นการผสมผสานระหว่างระบบคณาธิปไตย และระบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแนวทางสายกลางระหว่างการปกครองโดยคนร่ำรวย(คณาธิปไตยกับการปกครองโดยคนจน(ประชาธิปไตยซึ่งจะให้โอกาสแก่ราษฎรทุกคนได้มีส่วนร่วม ในการปกครองโดยยุติธรรม โดยยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลัก   รัฐแบบ Polity ประกอบด้วยชนชั้นใหญ่ๆ 3 กลุ่มคือ คนร่ำรวย คนชั้นกลาง และ คนจน โดยเสถียรภาพของรัฐแปรตามชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่   อริสโตเติล เชื่อว่า ชนชั้นกลางจะรับฟังเหตุผลมากที่สุด เป็นกลุ่มที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีความอุตสาหะ และ เป็นผู้คอยเฝ้าดูการบริหารของรัฐ 
อริสโตเติลใช้ชนชั้นกลางเป็นกันชน ของโครงสร้างชนชั้นทางสังคมระหว่างคนร่ำรวยและคนจน    คนร่ำรวยมีความรู้ว่าจะปกครองอย่างไร แต่จะไม่ยอมรับในระเบียบข้อบังคับอีกทั้งยังมีความได้เปรียบกว่าชนชั้นอื่น และ ยังมีความละโมบในเรื่องทรัพย์สิน ในขณะที่คนจนมีความเข้าใจยอมรับและเชื่อฟังในระเบียบข้อบังคับ หากแต่ขาดน้ำใจ อิจฉาในทรัพย์สมบัติของคนรวย และยอมฟังการปลุกระดมที่สัญญาว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สิน คนชนชั้นนี้มักจะแตกแยกและขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
         ระบบการปกครองที่เลวที่สุดตามทรรศนะของเขา คือระบบ คณาธิปไตย อริสโตเติลอธิบายว่าเป็นการปกครองโดยคนกลุ่มน้อยที่ปกครองเพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้องตัวเองลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดของคณาธิปไตย  คือ การปกครองอยู่ในมือของกลุ่มคนที่มีอำนาจครอบงำทางเศรษฐกิจ เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย เขามีอคติต่อผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองรัฐ ซึ่งมาจากชนชั้นเศรษฐี
มุมมองของผู้เขียน
        รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดในมุมมองของผู้เขียนคือ ระบบการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ แบบ  โพลิตี้  โดยมีความเห็นสอดคล้องกับอริสโตเติล ในแง่ของระดับของชนชั้น ชึ่งข้าพเจ้ายอมรับและเชื่อมั่นในชนชั้นกลางมากที่สุด โดยเชื่อว่าชนชั้นกลางเป็นกลุ่มคนที่มีการศึกษา มีเหตุผล ฉะนั้นถ้าอำนาจหรือเสียงข้างมากส่วนใหญ่อยู่ในมือของชนชั้นกลาง ผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติจะ ได้รับการปกป้อง หรืออาจกล่าวในมุมมองของข้าพเจ้าได้ว่าเป็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยชนชั้นกลางนั่นเอง  แต่ในความเป็นจริง  ระบบการปกครองแบบ โพลิตี้เป็นระบบในอุดมคติเนื่องจากเป็นการยากที่จะมีสังคมใดมีคนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง  เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนส่วนใหญ่ในสังคมมักจะเป็นคนยากจน
        ปัจจุบันประเทศไทยปกครองโดยระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งไม่ใช่ระบบประชาธิปไตยในมุมมองของอริสโตเติล เนื่องจากเป็นระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนซึ่งต้องมีการเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่   ไม่ใช่ประชาธิปไตยทางตรงซึ่งใช้วิธีการจับฉลากให้พลเมืองเอเธนส์หมุนเวียนเข้าไปใช้สิทธิทางการเมืองอย่างเสมอหน้ากัน ซึ่งในมุมมองของข้าพเจ้าระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนนี้จะดีที่สุด ถ้าบุคคลที่เสนอตัวเพื่อรับเลือกตั้ง มีคุณธรรมและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ฉะนั้น ในรูปแบบนี้ จึงอาจเป็นการผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยกับระบบตัวแทน หรือถ้าบุคคลที่เสนอตัวเพื่อรับเลือกตั้ง ไม่มีคุณธรรมและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องก็อาจเป็นรูปแบบการผสมผสานระหว่าง คณาธิปไตยกับระบบตัวแทน
        ส่วนรูปแบบการปกครองที่เลวที่สุดในมุมมองของผู้เขียนคือ  ระบบการปกครองโดยคนเพียงคนเดียวโดยใช้อำนาจโดยไม่ชอบเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องและไม่มีศีลธรรมซึ่งก็คือระบบ ทรราชย์  นั่นเอง