#navbar { display:none; }

รักทักษิณ

รักทักษิณ

.

.
ผมไปร่วมสัมนาระดมสมอง

.

.
ทุ่นตรวจวัดภัยธรรมชาติ

แปลภาษา

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


อยากเห็นคนไทยรักกันได้อย่างเดิม










วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ใครไม่รักพ่อก็จงออกไปจากบ้านของพ่อซะ!!!




อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์ ตอนขึ้นไปรับรางวัลนาฏราช
เพราะที่นี่คือบ้านของ "พ่อ" เพราะที่นี่คือแผ่นดินของ "พ่อ" พวกเรารักในหลวง พวกเราสีเดียวกัน ศรีษะนี้มอบให้ "พระเจ้าแผ่นดิน"





วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

 วาระภูเก็ตด้านเศรษฐกิจ


  ผมผ่านการเป็นนักธุรกิจ มีบทบาทด้านเศรษฐกิจมากว่า 10 ในฐานะสมาชิกและคณะกรรมการบริหารหอการค้า จ.ภูเก็ต ผมพยายามทำความเข้าใจถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจในทุกระดับภาค ว่ามียุทธศาสตร์ใดบ้างที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในจังหวัดภูเก็ต อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่าเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้จังหวัดหนึ่ง เพราะมีการเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับจังหวัดต่างๆและนานาประเทศ แต่ทั้งนี้เศรษฐกิจในระดับฐานล่างยังมีความน่ากังวลอย่างเพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจยิ่งสูงขึ้นเท่าไร ยิ่งมีปัจจัยเกี่ยวเนื่องที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชนของเมืองมากขึ้นเท่านั้น
         ทั้งนี้เกิดขึ้นจากความไม่เท่าทันของประชาชน ที่มีต่อนโยบายของรัฐฯที่ถูกนำมาใช้อย่างผิดรูปแบบและยังเป็นการใช้นโยบายเศรษฐกิจ แบบประชานิยมและบริโภคนิยมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับอื่นๆ เพราะเศรษฐกิจฐานล่างเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับอื่นๆต่อไป ทั้งนี้ผมยังมองว่าภูเก็ตจำต้องมีการพัฒนาในรูปแบบเฉพาะ เช่นเขตการปกครองรูปแบบพิเศษ เพื่อใช้การบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของจังหวัดภูเก็ตว่ามีลักษณะเหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกรูปแบบ ผมเชื่อว่าจังหวัดภูเก็ตจะเป็นเมืองท่าเศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคต ต้องขึ้นอยู่กับพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ตเท่านั้นที่จะช่วยกันผลักดันและเป็นผู้ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตในอนาคต ผมพอจะจำแนกยุทธศาสตร์เศรษฐกิจในจังหวัดภูเก็ตที่มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาอย่างโดยด่วนออกได้ 3 ยุทธศาสตร์ใหญ่ ดังนี้
      1. ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว คงต้องมองย้อนกลับไปถึงเม็ดเงินในแต่ละปีที่มีมากกว่า 7.5 หมื่นล้านบาทก่อนเกิด สึนามิ และหลังเกิดสึนามิ ที่มีมากกว่า 1.5 แสนล้านบาท เราพยายามเรียกร้องถึงความช่วยเหลือและการสนับสนุนด้านต่างๆจากรัฐบาลไม่ว่าจะเป็น
การทำการประชาสัมพันธ์ แหล่งท่องเที่ยวในอันดามันอย่างต่อเนื่อง ระบบเตือนภัยที่มาตรฐานสากล เพื่อความมั่นใจของนักท่องเที่ยว รวมไปถึง เรายังร้องขอการขยายรันเวย์สนามบินเพื่อรองรับเที่ยวบินขนาดใหญ่ และสายบินตรงจากนานาประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวและเพิ่มศักยภาพทางการบิน ให้กับภูมิภาคและเชื่อมโยงการบินในลักษณะรูปแบบต่างๆ กับสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งการขนส่งทางอากาศ และธุรกิจการบิน ในการเรียกร้องนั้นเรายังมองว่า สิ่งที่เราเรียกร้องคือความจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต แต่สิ่งที่ได้ในขณะนี้คือ ความว่างเปล่า และยังไม่มีเสียงตอบรับใดที่จะได้มากกว่าคำว่าไม่มีงบประมาณ เกิดอะไรขึ้นกับจังหวัดภูเก็ต ที่ทำรายได้มากว่า 1.5 แสนล้านบาทให้กับรัฐฯให้กับประเทศในยามที่เราต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุน กลับไม่มีความช่วยเหลือใดที่เป็นรูปธรรม เพราะงบประมาณที่รัฐบาลส่งให้กับจังหวัดภูเก็ตในแต่ละปี 4,000 กว่าล้านบาท 2,000 กว่าล้านบาทเป็นเงินเดือนข้าราชการ เหลือประมาณ 2,000 ล้านบาทไม่มีความเพียงพอต่อการบริหารจัดการ สิ่งที่เราต้องการในวันนี้มากกว่านั้นคือความเข้าใจ และการวางกรอบยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ ให้เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ ทั้งนี้โดยทัศนะคติส่วนตัวมองว่าจังหวัดภูเก็ต มีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกรูปแบบ และต้องทำเดี่ยวนี้ พี่น้องประชาชนชาวภูเก็ตจะร่วมกับประกาศวาระภูเก็ตด้วยกัน

       2. ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจด้านการลงทุน จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่กลุ่มเป้าหมายต้นๆที่นักลงทุนทุกกลุ่มให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ธุรกิจนำเที่ยว และภาคธุรกิจบริการจะเห็นได้ว่าปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตมีห้างสรรพสินค้า ซูปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อเปิดให้บริการอยู่ทั่วเกาะภูเก็ต มีห้างขนาดใหญ่มากกว่า 7 แห่งปัญหาสำคัญคือในขณะนี้ ธุรกิจชุมชนไม่สามารถต่อสู่คัดคานกับกำลังทุนขนาดใหญ่ และทุนข้ามชาติได้ ซึ่งปัญหาต่างๆที่กำลังก่อตัวไม่ได้รับความสนใจจากภาครัฐเท่าที ่ควร แต่กลับเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุนมากเกินไป โดยไม่เหลียวแลและให้ความเป็นธรรมต่อชุมชนนั้นๆ ซึ่งนั้นหมายความว่าเศรษฐกิจ ในระดับล่างกำลังถูกทำลายอนาคตอาจจะไม่มีตลาดนัดชุมชน อาจะไม่มีร้านค้าชุมชน เพราะต่างจะทยอยปิดตัวลงเนื่องจากไม่สามารถที่จะต่อสู่ในเชิงธุรกิจกับทุนเหล่านั้น วันนี้ถึงเวลาแล้วที่เราชาวภูเก็ตทุกคนต้องร่วมมือกันเป็นผู้ร่วม กำหนดยุทธศาสตร์และเป็นผู้มีสิทธิอันชอบในการกำหนดอนาคตของเราเอง เราจะต้องร่วมรับผิดชอบและบรรเทาปัญหาเหล่านี้ด้วยกัน ทั้งนี้โดยส่วนตัวมองว่า การขยายตัวของห้างนั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนนั้นๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทั้งนี้ที่ผ่านมาชุมชนไม่มีบทบาทใดในการเข้าร่วมตัดสินใจ และรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเลย นี้จึงเป็นความปกพร่องของภาครัฐฯ วาระนี้จึงเป็นวาระสำคัญอีกบทหนึ่งที่เราชาวภูเก็ต ต้องร่วมกันกำหนดเพื่อเราทุกคน การลงทุนในอนาคตผมเชื่อว่า ภูเก็ตจะต้องเติบโตมากกว่าในปัจจุบันอย่างแน่นอน ทั้งนี้เรากำลังเปิดบ้านเพื่อต้นรับนักลงทุน

                ฉะนั้นแล้วเราต้องมียุทธศาสตร์ไว้รองรับการลงทุนด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมา และเราชาวภูเก็ตเองจำต้องรู้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงนั้น สิ่งหนึ่งที่ผมพยายามเรียกร้องมาโดยตลอดคือโครงการ MICE ศูนย์ประชุมนานาชาติ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์กลางเทคโนโลยีสารสนเทศโครงการต่างๆ เหล่านี้อนาคตจะต้องเกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต แต่สิ่งหนึ่งที่เราจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นคือ อบายมุข บ่อนกาสิโน จะเกิดขึ้นไม่ได้ การกำหนดพื้นที่การลงทุนเราอาจจะกำหนดพื้นไว้ 3 พื้นที่ใหญ่อธิเช่น อำเภอ ถลางเป็นพื้นที่มรดกทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมประเพณี สามารถที่ผลักดันให้มีการพัฒนาเป็นในลักษณะรูปแบบพิเศษอนุญาตให้มีการก่อสร้างโรงแรม มารีน่า สถานที่พักรับรองนักท่องเที่ยวได้ในบางพื้นที่ เพื่อคงไว้ซึ่งมรดกทางธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรมประเพณี และดึงชุมชนเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมกับการพัฒนานั้น อำเภอเมือง จะต้องพัฒนาเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีสารสนเทศและการเชื่อมโยงสื่อสาร ร่วมไปถึงศูนย์กลางทางการค้า และแหล่งช้อปปิ้งของนักท่องเที่ยว และการพัฒนาแหล่งที่อยู่อาศัย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ทั้งนี้เรายังคงต้องมองไปถึงการคมนาคมขนส่ง และการขนส่งมวลชน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมี การยกระดับการขนส่งมวลของเรา เราคงต้องมองไปถึงรถไฟรางคู่ ที่จะเชื่อมโยงทั้ง 3 อำเภอไม่ว่าจะเป็น AIRPORT LINK , CITY LINK , PATONG LINK หรือแม้แต่ระบบขนส่งมวลชนในระบบอ ื่น เช่นการทำอุโมงค์ลอดใต้สี่แยกสำคัญๆ หรือแม้แต่ความฝันในเรื่องรถไฟฟ้าใต้ดิน ตรงนี้ต้องยอมรับว่าการขนส่งและคมนาคม เป็นอีกหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะเกื้อหนุนต่อการพัฒนา และยังเป็นการจัดระบบโครงสร้างของเศรษฐกิจด้วย ทั้งนี้สิ่งที่เราคงต้องมองไปถึงอย่างหนึ่งคือ การขนส่งทางน้ำ เรามีท่าเทียบเรือน้ำลึก แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าทีควร ในอนาคตการขนส่งทางน้ำ จำต้องเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะต้องนำมาผลักดันพัฒนาให้อยู่ในระบบและอยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนา หากเราสามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม เราจะเป็นเมืองที่มีศักยภาพสูงอย่างมากเลยทีเดียว ส่วนในอำเภอกะทู้ เราคงต้องมองถึงแหล่งพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย เช่นป่าตอง กมลา เราคงต้องให้ความสำคัญกับพื้นที่ในส่วนให้มาก และต้องมีแผนงานในการกำหนดพื้นที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เป็นพื้นที่ที่จะต้องผลักดันและพัฒนาให้เป็นที่รับรองนักท่องเที่ยวของโลก เป็นหน้าต่างสู่จังหวัดภูเก็ต หากเราสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ให้เป็นรูปธรรม และชาวภูเก็ตทุกคนร่วมกันกำหนดเชื่อเถิดว่าเราจะไม่ใช่แค่ไขมุกแห่งอันดามันเท่านั้น แต่เราจะเป็นไขมุกของเอเชียได้อย่างแน่นอน

       3. ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระดับล่าง ต้องยอมรับเลยว่าเศรษฐกิจในระดับล่างเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจในทุกระดับ เพราะฉะนั้นความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพี่น้องประชาชนคือสิ่งสำคัญ รากฐานของชีวิตคือการศึกษาเรามีความจำเป็นที่จะต้องวางโครงสร้างการศึกษา ของลูกหลานของเราให้เป็นรูปธรรม และไม่เพียงเท่านั้นเรายังต้องเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ให ้ลูกหลานเรา ทั้งประสบการตรงจากคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง อนาคตภูเก็ตบ้านเราจะมีการพัฒนาในเกือบทุกด้าน เพราะฉะนั้นโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่สำคัญคือรากฐานชีวิตของคนภูเก็ต ต้องได้รับการเอาใจใส่ด้วย

ทั้งนี้ที่ผ่านมาโครงการต่างๆที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบของคนภูเก็ตอย่างมาก เพราะความไม่มีส่วนร่วมของคนภูเก็ต ถูกนักลงทุนเอาเปรียบ แต่ในอนาคตจะต้องกำหนดแนวทางร่วมกัน ชุมชนต้องมีส่วนร่วม ประชาชนต้องร่วมกันตัดสินใจ และร่วมรับผิดชอบต่อสังคมภูเก็ตด้วยกัน เพราะฉะนั้นแล้วการศึกษาคือโครงสร้างสำคัญในการวางฐานการพัฒนา มีความจำเป็นอย่างที่สุดที่จะต้องเปิดโอกาสให้มีการพบปะระหว่างเยาวชน นักเรียน นักศึกษา หรือสมาพันธ์ และนักวิชาการ หารือแลกเปลี่ยนทัศนะคติและความคิดร่วมกัน ชุมชนต้องมีความเข้มแข็ง สถาบันการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการเรียนการสอน ให้สอดคล้องต่อการพัฒนาในอนาคต ซึ่งจะสนับสนุนต่อนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา การกำหนดแผนยุทธศาสตร์จึงมีความสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันกำหนด คนว่างงานต้องได้รับการช่วยเหลือ และจัดหางานให้มีงานเยาวชนหรือนักเรียน นักศึกษา ที่ไม่มีทุนเรียนต่อ รัฐฯต้องให้ความเอาใจใส่ และเปิดช่องทางให้เยาวชนนักเรียนนักศึกษาเหล่านั้นมีช่องทางในการศึกษา หรือแม้แต่ตำแหน่งงานว่างเพื่อรองรับกับแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี หน่วยงานในท้องถิ่น อปท. รัฐฯต้องเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ เพิ่มอำนาจในการตัดสินใจ เพิ่มงบประมาณ และผู้บริหารที่พี่น้องประชาชนมอบความไว้วางใจต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์(vision) สามารถขับเคลื่อนนโยบายซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ ที่ชุมชนและชาวภูเก็ตคือผู้กำหนด เพราะนี้เป็นวาระภูเก็ต เป็นวาระของเราทุกคน

        เมื่อผมเสนอวาระภูเก็ต

         ผมตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นกับจังหวัดภูเก็ตในอนาคต ไม่ใช่แค่วันนี้ แต่หมายถึงวันพรุ่งนี้และวันต่อๆไป เราได้ล้มลุกคลุกคลานกันมาหลายยุคหลายสมัย ภูเก็ตในยุคทองของการทำเหมืองแร่ดีบุก เราเปิดตัวเองให้กับต่างชาติหลั่งไหลเข้าทำธุรกิจกับเรา เข้ามาลงทุน ซึ่งศักยภาพของเกาะเล็กที่มีประชากรไม่มากหนัก ได้ถูกจัดให้เป็นเมืองท่าเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

การผันแปรของยุคสมัยนำภูเก็ตสู่ม่านสายตาของชาวโลก เรายังมีดีมากกว่านั้น ไม่ใช่มีแค่ธุรกิจแร่ดีบุก เมื่อหมดยุคทองของการค้ากับต่างชาติ เราก็ยังยืนหยัดและยังสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล ให้กับประเทศในยุคทองของการท่องเที่ยว ภูเก็ตสามารถประกาศต่อคนทั้งโลกได้อย่างภาคภูมิว่าเราคือ ดินแดนแห่งไขมุกอันดามัน รายได้หลักจากการท่องเที่ยวมากกว่าปีละ 75,000 พันล้านบาท ที่ส่งเข้าประเทศเป็นอันดับ 1 ใน 4 รายได้หลักของประเทศ ก่อนเกิดพิบัติภัยทางธรรมชาติ สึนามิ นั้นถือเป็นบทเรียนราคาอันแสนแพง ของคนทั้งโลกเลยทีเดียว ผ่านไปแล้วกว่า 3 ปีกับความบอบซ้ำที่ถูกภัยธรรมชาติให้บทเรียน วันนี้เราได้อะไรจากบทเรียนนั้น

แล้วอนาคตอันใกล้จะเกิดอะไรขึ้นอีก ความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่กำลังจะเกิดขึ้น เราชาวภูเก็ตทุกคนจะได้อะไร เราต้องสูญเสียอะไรบ้าง ภูเก็ตแห่งทศวรรษใหม่จะเป็นอย่างไร ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของเราจะยังคงอยู่ต่อไป ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นตามมา วาระภูเก็ต ถือเป็นวาระอันสำคัญกับเราชาวภูเก็ตทุกคน ถือเป็นยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาที่เราชาวภูเก็ตทุกคนต้องร่วมกันคิดและร่วมกันผลักดัน ให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นแผนแห่งการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตสู่ความเปลี่ยนแปลงความใหม่ เพื่อเราทุกคน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น วันนี้ไม่ใช่แค่เพียงผมเท่านั้นที่กำลังจับจ้องถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แต่ผมกำลังจะบอกกับชาวภูเก็ตทุกคนว่า ความเปลี่ยนแปลงความใหม่ที่เราต้องเผชิญคือความท่าท้ายครั้งสำคัญ วันนี้ผมเพียงแค่ริเริ่มคิดและกำหนดทิศทางในเบื้องต้น ยุทธศาสตร์ทั้งหมดจะต้องผ่านความเห็นชอบจากชาวภูเก็ต และเราชาวภูเก็ตเท่านั้นคือผู้กำหนดอนาคตของเราเอง การมีส่วนร่วมของของชาวภูเก็ตทุกคนจะเป็นพลังสำคัญที่จะผลักดัน และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นี้ไปสู่ความสำเร็จด้วยกัน เราจะร่วมกันกำหนดทิศทางอนาคตของเราทุกคนด้วยกัน วาระภูเก็ตจึงเป็นวาระอันสำคัญอย่างยิ่งของเราชาวภูเก็ต เพราะนั้นคือยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาที่เราทุกคนร่วมกันกำหนดอนาคตของเราเอง “ วาระภูเก็ต วาระของเราทุกคน ” ด้วยสำนึกรักบ้านเกิด

                                                             ผมรักบ้านเกิด
                                                        ชวนะ เกียรติชวนะเสวี
                                                              ธันวาคม 2550


                                                

รูปแบบการปกครองของรัฐ: แนวคิดของอริสโตเติล


       อริสโตเติล ได้จำแนกลักษณะการปกครองของรัฐต่างๆ โดยใช้ คุณภาพของการปกครองและจำนวนผู้ปกครองเป็นเกณฑ์  
แบ่งโดยเกณฑ์คุณภาพ
1. 
รูปแบบการปกครองที่ดี
2. รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี
แบ่งโดยเกณฑ์จำนวนผู้ปกครอง
เป็นการปกครองโดยคนเดียว ( The one  )
1.1  
ราชาธิปไตย  (Monarchy) 
ทรราชย์  (Tyranny) 
เป็นการปกครองโดยคนหลายคน  ( The  many )
             เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
        2.1  อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) 
คณาธิปไตย (Oligarchy) 
         เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
        2.3  โพลิตี้ (Polity)
        2.4 
ประชาธิปไตย (Democracy) 
สรุปได้เป็น 6 รูปแบบการปกครองของรัฐ ดังนี้
รูปแบบการปกครองที่ดี   เรียงตามลำดับจากดีมากไปยังดีน้อย
1.1. 
ราชาธิปไตย (Monarchy) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
1.2. 
อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
1.3. 
โพลิตี้ (Polity) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
2. 
รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี  เรียงตามลำดับจากเลวน้อยไปยังเลวมาก
2.1. 
ทรราชย์ (Tyranny) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
2.2. 
คณาธิปไตย (Oligarchy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
2.3. 
ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
              อริสโตเติลได้อธิบายว่า รูปแบบการปกครองใดก็ตาม ที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ถือเป็นรูปแบบที่ดี ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปกครองที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนวจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก นั้น เป็นรูปแบบที่ไม่ดี
               ระบบการปกครองที่ดีที่สุดตามทรรศนะของเขา คือ ระบบ โพลิตี้  เป็นการผสมผสานระหว่างระบบคณาธิปไตย และระบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแนวทางสายกลางระหว่างการปกครองโดยคนร่ำรวย(คณาธิปไตยกับการปกครองโดยคนจน(ประชาธิปไตยซึ่งจะให้โอกาสแก่ราษฎรทุกคนได้มีส่วนร่วม ในการปกครองโดยยุติธรรม โดยยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลัก   รัฐแบบ Polity ประกอบด้วยชนชั้นใหญ่ๆ 3 กลุ่มคือ คนร่ำรวย คนชั้นกลาง และ คนจน โดยเสถียรภาพของรัฐแปรตามชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่   อริสโตเติล เชื่อว่า ชนชั้นกลางจะรับฟังเหตุผลมากที่สุด เป็นกลุ่มที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีความอุตสาหะ และ เป็นผู้คอยเฝ้าดูการบริหารของรัฐ 
อริสโตเติลใช้ชนชั้นกลางเป็นกันชน ของโครงสร้างชนชั้นทางสังคมระหว่างคนร่ำรวยและคนจน    คนร่ำรวยมีความรู้ว่าจะปกครองอย่างไร แต่จะไม่ยอมรับในระเบียบข้อบังคับอีกทั้งยังมีความได้เปรียบกว่าชนชั้นอื่น และ ยังมีความละโมบในเรื่องทรัพย์สิน ในขณะที่คนจนมีความเข้าใจยอมรับและเชื่อฟังในระเบียบข้อบังคับ หากแต่ขาดน้ำใจ อิจฉาในทรัพย์สมบัติของคนรวย และยอมฟังการปลุกระดมที่สัญญาว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สิน คนชนชั้นนี้มักจะแตกแยกและขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
         ระบบการปกครองที่เลวที่สุดตามทรรศนะของเขา คือระบบ คณาธิปไตย อริสโตเติลอธิบายว่าเป็นการปกครองโดยคนกลุ่มน้อยที่ปกครองเพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้องตัวเองลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดของคณาธิปไตย  คือ การปกครองอยู่ในมือของกลุ่มคนที่มีอำนาจครอบงำทางเศรษฐกิจ เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย เขามีอคติต่อผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองรัฐ ซึ่งมาจากชนชั้นเศรษฐี
มุมมองของผู้เขียน
        รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดในมุมมองของผู้เขียนคือ ระบบการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ แบบ  โพลิตี้  โดยมีความเห็นสอดคล้องกับอริสโตเติล ในแง่ของระดับของชนชั้น ชึ่งข้าพเจ้ายอมรับและเชื่อมั่นในชนชั้นกลางมากที่สุด โดยเชื่อว่าชนชั้นกลางเป็นกลุ่มคนที่มีการศึกษา มีเหตุผล ฉะนั้นถ้าอำนาจหรือเสียงข้างมากส่วนใหญ่อยู่ในมือของชนชั้นกลาง ผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติจะ ได้รับการปกป้อง หรืออาจกล่าวในมุมมองของข้าพเจ้าได้ว่าเป็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยชนชั้นกลางนั่นเอง  แต่ในความเป็นจริง  ระบบการปกครองแบบ โพลิตี้เป็นระบบในอุดมคติเนื่องจากเป็นการยากที่จะมีสังคมใดมีคนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง  เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนส่วนใหญ่ในสังคมมักจะเป็นคนยากจน
        ปัจจุบันประเทศไทยปกครองโดยระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งไม่ใช่ระบบประชาธิปไตยในมุมมองของอริสโตเติล เนื่องจากเป็นระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนซึ่งต้องมีการเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่   ไม่ใช่ประชาธิปไตยทางตรงซึ่งใช้วิธีการจับฉลากให้พลเมืองเอเธนส์หมุนเวียนเข้าไปใช้สิทธิทางการเมืองอย่างเสมอหน้ากัน ซึ่งในมุมมองของข้าพเจ้าระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนนี้จะดีที่สุด ถ้าบุคคลที่เสนอตัวเพื่อรับเลือกตั้ง มีคุณธรรมและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ฉะนั้น ในรูปแบบนี้ จึงอาจเป็นการผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยกับระบบตัวแทน หรือถ้าบุคคลที่เสนอตัวเพื่อรับเลือกตั้ง ไม่มีคุณธรรมและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องก็อาจเป็นรูปแบบการผสมผสานระหว่าง คณาธิปไตยกับระบบตัวแทน
        ส่วนรูปแบบการปกครองที่เลวที่สุดในมุมมองของผู้เขียนคือ  ระบบการปกครองโดยคนเพียงคนเดียวโดยใช้อำนาจโดยไม่ชอบเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องและไม่มีศีลธรรมซึ่งก็คือระบบ ทรราชย์  นั่นเอง